หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

การจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 


-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้





 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 176/2560
การประชุมชี้แจงเตรียมการจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานในการประชุมชี้แจงเตรียมการจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2560 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาธิการภาค รองศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกว่า 500 คน

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการเตรียมดำเนินการตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มาตรา 44 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการด้านการศึกษาระดับภูมิภาค จึงต้องชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของกรอบแนวทางการดำเนินงาน การปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ การมอบอำนาจและการแบ่งงาน ตลอดจนโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานและการขับเคลื่อนนโยบายตามยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี ของรัฐบาล และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ที่จะส่งผลให้การปฏิรูปการศึกษาในยุคนี้เกิดผลโดยตรงต่อครูและผู้เรียนอย่างชัดเจน เพราะเป็นการดำเนินงานลงไปสู่ระดับปฏิบัติในพื้นที่ ที่จะส่งผลตรงไปถึงตัวเด็กจริง ๆ ภายใต้การบริหารจัดการการทำงานระดับพื้นที่ตามโครงสร้าง ตามหลักกฎหมาย และคำนึงถึงความเป็นมนุษย์เป็นหลัก
ทั้งนี้ ขอย้ำให้มีการแบ่งงานระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการยกระดับภาษาอังกฤษ โครงการพัฒนาครู ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นจุดเน้นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการและมีความก้าวหน้าการดำเนินงานไปมากแล้ว อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจก่อให้เกิดความไม่พอใจของคนบางกลุ่มที่เสียประโยชน์ เสียกำลังคนพร้อม ๆ กับงบประมาณที่จะตามคนไปด้วย
ดังนั้น จึงขอให้หารือร่วมกันดี ๆ พูดคุยกันแบบกัลยาณมิตร เสนอความเห็นแบบตรงไปตรงมา เพื่อให้มีการบูรณาการการทำงาน ไม่ใช่การแย่งงานกัน ตลอดจนการบริหารงานบุคคลที่จะเกิดตำแหน่งขึ้นใหม่ โดยส่วนตัวจะให้โอกาสผู้ที่มีความอาวุโสก่อน เรื่องนี้แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ถือว่ามีความสำคัญมากในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลง จึงต้องคิดร่วมกันว่าจะอยู่อย่างไร ใครจะบังคับบัญชาใคร ใครจะต้องลาใคร เมื่อได้ข้อสรุปร่วมกันอย่างชัดเจนในการดำเนินงานช่วงแรก ก็จะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง สิ่งสำคัญคือขอให้ทุกคนนึกถึงครูและเด็กให้มาก ๆ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการเดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมปรับแก้กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยและเอื้อต่อการทำงานมากขึ้นในหลายส่วน อาทิ
1) (ร่าง) กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. .... เพื่อให้กลไกวิธีการประเมินมีความกระชับ ชัดเจน และไม่เป็นภาระด้านเอกสาร พร้อมจะจัดทำมาตรฐานการศึกษาร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทุกภาคส่วน และอ้างอิงมาตรฐานสากล สิ่งสำคัญคือให้โรงเรียนรับผิดชอบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของตัวเอง โดยกระทรวงศึกษาธิการ "ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แนะนำ และส่งเสริมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในให้สำเร็จตามเป้าหมายของสถานศึกษา"  ส่วนสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทำหน้าที่เป็น Coaching ช่วยเหลือ แนะนำ เพื่อให้การประเมินนำไปสู่การพัฒนา
2) การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพัฒนาการปฐมวัยกว่า 30 หน่วยงาน เพื่อวางกรอบแนวทางบูรณาการความเข้าใจแนวทางการดำเนินการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำสู่การปฏิบัติได้ ซึ่งเป็นการดำเนินการรองรับการศึกษาภาคบังคับ ที่มีผลบังคับเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 54 ที่ระบุให้ “รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาฯ” ซึ่งในเบื้องต้นมีการเสนอให้จัดทำฐานข้อมูลเด็กเล็กทั้งระบบ พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาในพื้นที่โดยคำนึงถึงความพร้อมของท้องถิ่น ส่วน สพฐ.ทำหน้าที่เสริมในพื้นที่ขาดแคลน และกระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนองค์ความรู้และสวัสดิการต่าง ๆ ทั้งนี้จะสรุปแนวทางการบูรณาการเพื่อจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กปฐมวัยของชาติให้แล้วเสร็จ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายดูแลพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อไป
นอกจากนี้ ขออย่าได้หลงเชื่อข่าวลือหรือกระแสข่าวที่ออกมาไม่เป็นความจริงเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งในการประชุมวงเล็ก ก็ยังมีข้อมูลหลุดออกไปภายนอกได้ ดังนั้นในระยะนี้จะพยายามพูดให้น้อย เพราะแม้จะพูดมากไปสักเพียงใด คนที่ไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจเสียที ต่างกับคนที่เข้าใจอยู่แล้วไม่ต้องพูดมากก็เข้าใจ แต่ไม่ว่าจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้แบบตรงไปตรงมาด้วยความเป็นสุภาพบุรุษ เพราะทุกอย่างมีระบบอยู่แล้ว และที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการก็พร้อมจะรับฟังและปรับปรุงให้ถูกต้องตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของประเทศ
ทั้งนี้ ในช่วงที่เกิดวิกฤตในระยะหลัง มีความรู้สึกดีใจที่ชาวกระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะผู้บริหาร มีการรวมตัวกันเพื่อช่วยกันสื่อสารชี้แจงให้สาธารณชนเข้าใจกับสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ เช่น เรื่องหลักเกณฑ์การสอบครูผู้ช่วย เป็นต้น ซึ่งเมื่อสามารถจัดระบบการสอบครูให้เป็นมาตรฐาน เพื่อให้มีครูครบในสาขาที่ขาดแคลนหรือไม่เพียงพอกับความต้องการ ตลอดจนมีคนเก่งเข้ามาเป็นครูมากขึ้น ทำให้ทุกคนสามารถเข้าระบบได้โดยไม่ต้องใช้เส้นใช้สาย ไม่ต้องขวนขวาย ก็จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ประเทศเจริญก้าวหน้าต่อไปได้
โอกาสนี้ ได้ฝากข้อคิด 8 องค์ประกอบสามัญของระบบการศึกษาที่ดี จากหนังสือ “A World-Class Education” เขียนโดย Vivien Stewart ที่จะช่วยขับเคลื่อนการศึกษาไปสู่การเป็นประเทศชั้นนำของโลก ดังนี้
1) การมีวิสัยทัศน์และภาวะความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง (Vision and Leadership) คือ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล กล้าคิดกล้าตัดสินใจเพื่อก้าวเดินไปข้างหน้า เป็นผู้นำในการก้าวเดินของประเทศว่าจะไปทิศทางใด ซึ่งผู้นำของประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา มักจะมี High Expectation คือต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามเป้าหมายและบริบทของประเทศให้ได้มากที่สุด ทั้งในเรื่องของครู หลักสูตร กระบวนการ เป็นต้น
2) การตั้งมาตรฐานระดับสูง (Ambitious Standards) ด้วยการกำหนดมาตรฐานหรือเป้าหมายสูงในทุกเรื่อง เช่น นักเรียน ครู สถานศึกษา หรือแม้แต่หลักสูตร โดยมีความเชื่อมั่นว่าทุกฝ่ายสามารถทำได้
3) ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (Commitment to Equity) ต้องมีความมุ่งมั่นในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนในต่างจังหวัดและโรงเรียนในเมืองให้ได้ หากจะเรียนรู้จากประเทศชั้นนำด้านการศึกษา เช่น สิงคโปร์ หรือ ฟินแลนด์ จะต้องไม่มองแค่ผลลัพธ์ในปัจจุบัน แต่ให้มองย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ว่าแต่ละประเทศเริ่มปฏิรูปการศึกษาจากอะไร และทำอย่างไร เพราะการจะปฏิรูปการศึกษาได้สำเร็จอาจต้องใช้เวลามากถึง 10 ปี
4) การได้มาและการคงไว้ซึ่งครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพ (High-Quality Teachers and Leaders)
5) ความร่วมมือในการทำงานของทุกภาคส่วนที่สอดคล้องกัน (Alignment and Coherence) การดำเนินงานของทุกภาคส่วนจะต้องมีความสอดคล้องกัน ทั้งผู้ที่รับผิดชอบเรื่องการประเมิน การจัดทำหลักสูตร และการจัดการ และเป็นเรื่องน่ายินดีที่ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติฯ (สทศ.) จะประสานความร่วมมือกันในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดย สสวท.จะร่วมกับ สพฐ.ในการร่างหลักสูตร เพื่อให้ สพฐ.นำหลักสูตรไปใช้ และ สทศ.จะรับผิดชอบในการออกข้อสอบ
6) การบริหารจัดการที่ดีและการมีความรับผิดชอบ (Management Accountability)
7) การสร้างแรงจูงใจแก่เด็กนักเรียน (Student Motivation) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก แต่เมื่อพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่หน่วยงาน และบุคลากร
8) การมุ่งเน้นพัฒนาเพื่ออนาคตในระดับโลก (Global and Future Orientation) ประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมองโลกในอนาคต มองไปข้างหน้า เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น หลักสูตรการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปด้วย

ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล กล่าวว่า ทิศทางการขับเคลื่อนงานของสำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนั้น ขอให้คำนึงถึง 6 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การบริหารจัดการศึกษาระดับภาคและจังหวัด เป็นการวางแนวทางการบริหารจัดการศึกษา โดยยึดพื้นที่เป็นหลัก เพื่อกระจายอำนาจและลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษา และขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) รวมทั้งยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ 20 ปีอีกด้วย
2) การจัดโครงสร้างของสำนักงานศึกษาธิการภาคและจังหวัด จะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ  ซึ่งต้องทำหน้าที่ในนามราชการส่วนกลางลงไปในพื้นที่ให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี พร้อมทั้งฝากเรื่องนโยบายสำคัญ เช่น โรงเรียนคุณธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในใจของคนไทยทุกคน เพราะถือเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ต้องการให้โรงเรียนคุณธรรมเกิดขึ้นทั่วประเทศ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
3) บทบาทของสำนักงานศึกษาธิการภาค จะทำหน้าที่สำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์และการพัฒนาการศึกษาของภาค ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด
4) การบริหารจัดการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด มีลักษณะของการบริหารราชการที่ผสมผสานระหว่างราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค มุ่งหวังเพื่อให้การจัดการศึกษาของชาติในระดับจังหวัดมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น โดยจะต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ ทั้งในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ในการสนับสนุนการจัดการศึกษา
5) การมีสำนักงานศึกษาธิการภาคและจังหวัดจะเกิดประโยชน์ ดังนี้
     - มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในภูมิภาคอย่างใกล้ชิดมากขึ้น  จึงขอให้ความสำคัญในการทำงานประสาน และให้เกียรติในการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่แวดวงการศึกษา
     - กระทรวงศึกษาธิการ จะไม่จัดการศึกษาอย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป แต่จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
     - กระทรวงศึกษาธิการ จะกระจายอำนาจจากองค์กรหลัก มายังศึกษาธิการภาคและศึกษาธิการจังหวัดมากขึ้น คือ กระจายงาน งบประมาณ และบุคลากร ซึ่งจะส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการในส่วนกลางมีขนาดเล็กลง และเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันการศึกษา อาชีวศึกษาที่ตั้งอยู่ในแต่ละจังหวัด จะมีความคล่องตัวในการบริหารงานเพิ่มมากขึ้น
6) สิ่งที่ข้าราชการของกระทรวงศึกษาธิการจะพึงปฏิบัติในระดับภาคและจังหวัด
     - จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติราชการแผ่นดิน คือ ราชการส่วนกลาง ซึ่งมี 1 สำนักนายกรัฐมนตรี และ 19 กระทรวง รวมทั้งหน่วยงานและองค์กรอิสระต่าง ๆ, ราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งมี 76 จังหวัด และ 878 อำเภอ, ราชการส่วนท้องถิ่น คือองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล (รวมทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน) เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร
     - มีความเข้าใจในระบบการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด
     - การทำงานร่วมกับส่วนราชการอื่น ๆ ในจังหวัด
     - ความเป็นผู้มีธรรมาภิบาลและยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งนี้ ในฐานะที่เราทุกคนเป็นเจ้าของกระทรวง จึงต้องช่วยกันทำให้กระทรวงเป็นปึกแผ่น มุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในกรอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ หากพบเห็นความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน ขอให้แจ้งผู้บังคับบัญชาหรือปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้รับทราบ และฝากให้ช่วยกันสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 2 ด้าน คือ 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง 2) การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง อาทิ การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม (Character Education) เช่น ความมีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงประเด็นที่จะมีการหารือเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษากระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ตลอดจนมอบหมายภารกิจผู้เข้าร่วมประชุมไปดำเนินการ ใน 4 เรื่องหลัก คือ
  •  ที่ตั้งของ ศธภ.-ศธจ. ซึ่งที่ผ่านมามีที่ตั้งอยู่แล้ว แต่เป็นการชั่วคราว จึงต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ที่ตั้งของ ศธภ.ทั้ง 18 แห่ง ตลอดจน ศธจ. และ ศธ.กทม. ทั้ง 77 แห่ง
  •  การสรรหาหัวหน้าส่วนราชการ ทั้ง 2 ระดับ คือ ศึกษาธิการภาค/รองศึกษาธิการภาค และศึกษาธิการจังหวัด/รองศึกษาธิการจังหวัด เพื่อได้ข้อสรุปโดยเร็ว ที่จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนงานได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
  •  การมอบอำนาจ ซึ่งหมายถึงการโอนงาน โอนภารกิจ ตลอดจนโอนบุคลากร ที่จะต้องรู้อย่างชัดเจนว่าจะต้องโอนงานใดบ้าง เกลี่ยบุคลากรจำนวนเท่าใด ในช่วงเวลาใด คาดว่าจะเป็นการทยอยทำ แบ่งเป็น 5 ช่วง ไม่ได้เปลี่ยนแปลงครั้งเดียวทั้งหมด
  •  การสื่อสารสร้างความเข้าใจ มอบให้ทุกฝ่ายร่วมกันสื่อสารให้คนภายในองค์กรของเราเองมีความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งบุคลากรในสำนักงาน ภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ตลอดจนทำความเข้าใจกับนักเรียนนักศึกษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้ได้รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งประโยชน์ที่จะเกิดต่อตัวผู้เรียนด้วย

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรยายในที่ประชุมเกี่ยวกับแนวทางปฏิรูปการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะ และสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนเพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง
โดยมีวิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” โดยมี 6 ยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญ ประกอบด้วย
   - ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
   - ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
   - ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
   - ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา
   - ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
   - ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
ทั้งนี้ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายใน 5 ด้าน คือ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา (Access), ความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity), คุณภาพการศึกษา (Quality), ประสิทธิภาพ (Efficiency) และการตอบโจทย์บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง (Relevancy)

ในส่วนของการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ จะมีการเตรียมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง, การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 กับแผนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาการศึกษาระยะ 5 ปี แผนปฏิบัติราชการระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน องค์กร, การปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกฎหมาย ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาในระดับต่าง ๆ ตลอดจนสร้างช่องทางให้ประชาสังคมมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวางทั้งระดับนโยบายและพื้นที่

ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น 

เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560

เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม