หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ” 18 พ.ย.2559

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2559 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันนี้ผมอยากให้พวกเราทุกคน ได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดไม่ได้ แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยศาสตร์พระราชาของพระองค์นั้น อันประกอบด้วยตำราแม่ฟ้าหลวงด้วยแห่งองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี “สมเด็จย่า” ของปวงชนชาวไทย ได้สร้างความสำเร็จภายใต้ “โครงการพัฒนาดอยตุง” อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ใช้เวลากว่า 30 ปี ในการพลิกฟื้น “ดอยตุง” จากพื้นที่ทุรกันดาร ให้เป็นพื้นที่ทำกินของชาวไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อย 6 เผ่า ซึ่งในอดีตนั้นมีสภาพความเป็นอยู่แร้นแค้น ไม่มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ไม่มีถนน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีประปา ทำให้คนในพื้นที่ต้องหาทางรอด โดยการทำไร่หมุนเวียน – ไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่น ค้ายาเสพติด แล้วกลายเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในขณะนั้น ทั้งนี้ ด้วยการพัฒนา อย่างมีระบบ แบบแผน และมียุทธศาสตร์ ทำให้ “ภูเขาหัวโล้น” กลายเป็นพื้นที่ป่า การทำไร่หมุนเวียนหมดไป มีป่าอนุรักษ์ ป่าใช้สอย และป่าเศรษฐกิจมาแทนที่ทุกคนได้รับสัญชาติไทย ได้เข้าถึงระบบการศึกษา ซึ่งเป็นการ “สร้างคนด้วยความรู้และการศึกษา” ในด้านวิชาการและวิชาชีพให้มีรายได้ เลี้ยงดูตัวเองได้ เข้มแข็งและยืนบนลำแข้งของตนเองได้ในที่สุด ครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน ไม่ต้องเข้าไปหางานทำในเมือง ปัจจุบันนั้นชาวไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อย มีอาชีพหลักเป็น “เกษตรกรรับจ้าง” และ “พนักงานของโครงการ” สามารถเพิ่มรายได้จากในอดีต เฉลี่ยไม่ถึง  4,000 เป็น 12,000 บาท/คน/ปี เห็นว่าเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า หลายคนที่มาทำงานกับโครงการฯ จนเก่ง เชี่ยวชาญ ก็สามารถกู้เงินไปทำกิจการของตัวเองได้
การขยายผลแห่งความสำเร็จดังกล่าวนั้น รัฐบาลร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้น้อมนำองค์ความรู้ของ “ศาสตร์พระราชา” และ “ตำราแม่ฟ้าหลวง” เรื่องการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ดิน และน้ำ ไปปรับใช้ ในโครงการปลูกป่าสร้างคนบนวิถีพอเพียง เพื่อรักษาต้นน้ำและบรรเทาอุทกภัย ในพื้นที่ 250,000 ไร่ ใน 3 อำเภอของจังหวัดน่าน ทั้งนี้ เพื่อจะอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ รวมทั้ง ให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และส่งเสริมให้ชุมชนอยู่ร่วมกันกับป่าได้อย่างยั่งยืน ผลการดำเนินการในขณะนี้สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ขึ้น จาก 40% เป็น 60% และเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวโพดบนพื้นที่สูง ให้เป็นป่าเศรษฐกิจได้ และมีผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวโพด รวมทั้ง ช่วยลดการเกิดไฟป่าจาก 76,000 กว่าไร่ เหลือเพียง 89 ไร่ในปี 2558
นอกจากนั้น รัฐบาล โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้นำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ตาม “ดอยตุงโมเดล”ไปดำเนินการตามยุทธศาสตร์บูรณาการ สำหรับการจัดการป่าที่เสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน ที่เรียกว่า ภูเขาหัวโล้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าใน 13 จังหวัดภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ในปีนี้นั้นรัฐบาลได้น้อมนำแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ ไปใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยการบูรณาการหน่วยงานของรัฐ อย่างมียุทธศาสตร์ เสริมด้วยกลไก “ประชารัฐ” ในพื้นที่ อีกด้วย
ปัจจุบันนั้น “ศาสตร์พระราชา” ภายใต้ “ดอยตุง โมเดล” ได้รับการยกย่องและยอมรับจากประชาคมโลกให้เป็นแบบอย่างของแนวทางการพัฒนาที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน หลายประเทศได้นำไปขยายผล เช่น โครงการส่งเสริมปศุสัตว์และพัฒนาวิสาหกิจชุมชน (ธนาคารแกะ) ครอบคลุม 500 ครัวเรือนใน 15 หมู่บ้านจังหวัดบัลห์ สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน และโครงการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนจังหวัดอาเจะห์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของชาวอาเจะห์ และเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัด หลังประสบความขัดแย้งภายในประเทศมานานกว่า 30 ปี และเผชิญภัยพิบัติ “สึนามิ” เมื่อปี 2547 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ให้การรับรอง “ศาสตร์พระราชา” นี้ ให้เป็น “หลักปฏิบัติสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาทางเลือก” อีกด้วย
เราจะเห็นได้ว่าความสำเร็จของโครงการพัฒนาดอยตุง หรือโครงการพัฒนาใดๆ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีอยู่กว่า 4,000 โครงการนั้น ล้วนแต่เป็นการดำเนินงานที่มียุทธศาสตร์ อาศัยระยะเวลา ค่อยเป็นค่อยไป อาจใช้เวลานานนับถึง 10 20 30 ปีก็ได้ องค์ประกอบที่สำคัญสู่ความสำเร็จ 3 ประการ คือ (1) ความจริงใจของรัฐบาลและผู้ปฏิบัติ (2) ความร่วมมือจากประชาชนผู้ที่รับการพัฒนา และ (3) การดำเนินการอย่างมียุทธศาสตร์ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ทั้งนี้ รัฐบาลได้น้อมนำศาสตร์พระราชาที่สำคัญ คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาประยุกต์ใช้ ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ ให้เหมาะสมกับบริบทของประชาชน ท้องถิ่น สถานการณ์ และสภาพของปัญหา ด้วยการ “ระเบิดจากข้างใน” จากตัวประชาชนเอง เกษตรกรเอง ไม่ยัดเยียด เน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นโดยให้ทุกกระทรวงจัดทำยุทธศาสตร์ เป็นแผนที่นำทางระยะเวลา 20 ปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายความมั่นคงของชาติ
สำหรับการทำงานร่วมกันของรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ให้มีการทำงานอย่างประสานสอดคล้องกัน รวมถึงการจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศ ทั้งในการลงทุน, การวางรากฐาน และการพัฒนาประเทศ ในด้านต่างๆ อย่างบูรณาการ เราจะต้องยึดหลัก “ธรรมาภิบาล” 6 ประการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่าเป็นสำคัญ ปัจจุบันนั้นรัฐบาล อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะเวลา 20 ปี โดยมีกระบวนการที่เน้นความสอดคล้องและการบูรณาการ ทั้งแผนงานโครงการและแผนงานงบประมาณ ดังนี้
1. ในระดับรัฐบาล มีการกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ย่อย จัดทำแผนแม่บท ที่ระบุทุกกิจกรรมหลักๆ ในช่วง 20 ปีข้างหน้าที่จะเกิดขึ้น ทยอยเกิดขึ้น เราได้แบ่งออกเป็นห้วงเวลาในการปฏิบัติ ตาม Road map หรือพื้นที่นำทางของเรานั้นคือ 5 ปี แรก คือ “1+4” คือ 1 ในปีนี้ 59-60 แล้วบวกอีก 4 ปีข้างหน้า จากนั้นก็เป็นไปตามแผนสภาพัฒน์ อีก 3 แผน 5 5 5 คือ แผนที่ 13 14 15 วันนี้เราอยู่ในแผน 12 ช่วง 5 ปีแรก คือ 1+4 หมายถึง ปีงบประมาณนี้ 2560 นี้ บวกกับ 4 ปีที่เหลือในวันข้างหน้านะครับ และต่อไปทุกช่วง ๆ ละ 5 ปี สามารถปรับเปลี่ยนได้ เรามีแผนแม่บทวางไว้ให้เห็นอนาคตไว้ แต่ทั้งนี้ถ้าทำดีขึ้นก็เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลก ปัจจุบันอย่างที่เรียนไปแล้วว่า เรามีแผน 12 อยู่ เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการให้มีเกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้อย่างแท้จริง เราต้องวางแผนระยะยาว 12 ต่อไป 13 ไป 14 ไป 15 คือคำว่า 20 ปี เราต้องแสดงให้เห็นว่า เราจะเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการปฏิรูปในทุกๆ กิจกรรมได้อย่างไร โดยเฉพาะทาง อย่างยิ่งทางกายภาพ อะไรบ้าง อย่างไรบ้าง ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกระดับ ทุกอาชีพจะดีขึ้นได้อย่างไร รวมทั้งผลประโยชน์ของชาติโดยรวมจะดีขึ้น มากขึ้นได้อย่างไร เช่น รายได้ ชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งนี้ จะเป็นการกำหนดผลประโยชน์ของประเทศไว้ล่วงหน้า ทุก 5 ปี เราสามารถจะประมาณการล่วงหน้า ให้เป็นเป้าหมายไว้ได้ เพื่อจะเดินตามนั้นว่า รายได้ประชาชน รายได้ประเทศ คุณภาพชีวิต “แต่ละกลุ่ม” จะดีขึ้นอย่างไร โดยจะต้องกำหนดตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพที่ประเมินค่าได้จริง
2. ในระดับกระทรวง รัฐวิสาหกิจ ก็ต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ แผนแม่บท เป็นของตนเอง ในระยะ 20 ปี เช่นกัน ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ และตอบโจทย์แผนแม่บทของชาติ ซึ่งแผนแม่บทระดับกระทรวง รัฐวิสาหกิจนี้ ต้องมีรายละเอียดรายกิจกรรม จัดทำเป็นแผนงานโครงการที่มีแผนการใช้จ่ายงบประมาณประกอบ พร้อมทั้งวาง Road map ระยะ 20 ปี แยกเป็น 4 ช่วง ๆ ละ 5 ปี โดยทำพร้อมกันในช่วงการ “เริ่มต้น” นี้ ให้สามารถติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน ได้ว่าอะไรที่ทำเสร็จแล้ว อะไรจะเริ่มใหม่ อะไรที่ยังไม่เสร็จ อะไรต้องทำต่อ ให้สามารถจับต้องได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม “แผนก็คือแผน” ย่อมมีการปรับปรุงได้ตามความเหมาะสม เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยน ปัจจัยภายใน ภายนอก ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับแผนที่วางไว้ ก็สามารถแก้ไขได้นะครับ อาจจะต้องมีการทบทวนในรายปี ราย 5 ปี โดยการประเมินจากปัจจัยต่าง ๆ ตลอดเวลา จะทำให้การตัดสินใจในวันข้างหน้านั้นได้ดีขึ้น ทำในสิ่งที่ดีกว่าแผนในปัจจุบัน ให้ทันต่อสถานการณ์ทั้งในประเทศและสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การทำ “แผนปฏิบัติการ” ของทุกหน่วยงานนั้น ต้องมีรายละเอียด แยกงานตามกลุ่มกิจกรรม 1) งานฟังก์ชั่น ภาษาไทย คือ งานตามหน้าที่พันธกิจ ภารกิจที่มีอยู่แล้วเดิมของทุกกระทรวง ทุกหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจด้วย 2) งานบูรณาการที่เรียกว่างานนโยบายภาษาอังกฤษ เรียกว่า Agenda
และ 3) เป็นงานอื่น ๆ งานเกี่ยวกับเรื่องหนี้สาธารณะ เรื่องการบริหารการเงินการคลัง ทำนองนี้ มีแผนงานย่อยอีก ผมให้ความสำคัญกับ 2 แผนงานนี้กับแผนงานหนี้สาธารณะที่จะต้องปรับให้สอดคล้องกันทั้งหมด สำหรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้ง 2 งบงาน ทั้งงานฟังก์ชั่น งานบูรณาการฯ ต้องมีความชัดเจน และให้ความสำคัญกับ “ช่วง 5 ปีแรก” คือ “1+4” 59 60 และ + 4 ปีนี้ข้างหน้านี้ก่อน ผมก็เน้นย้ำเสมอ ถึงจะต้องมีการพิจารณาอย่างระมัดระวัง ไม่ให้เกิดผลกระทบจากการใช้จ่ายงบประมาณประเทศ ต้องอยู่ภายใต้กรอบของวินัยการเงินการคลัง ในภาพรวมของประเทศนั้น ต้องมีรายรับเพิ่มเติมให้กับทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย รายได้ประเทศจะต้องสามารถชี้แจงได้ว่า จะหามาได้มาจากไหน อย่างไร หรือผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ จะมีอะไรบ้าง ใครจะได้รับผลประโยชน์เหล่านั้นบ้าง อันนี้เพื่อให้ประชาชนทุกคนรู้ถึงอนาคต
นอกจากนั้น สิ่งสำคัญที่ผมต้องการเน้นย้ำคือ (1) ความสอดคล้องกัน ในระดับชาติ กระทรวง รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานข้างล่างที่เกี่ยวข้อง (2) การบูรณาการ ทั้งแผนงานโครงการและแผนงบประมาณ ในกิจกรรมเดียวกัน เกี่ยวข้องกัน ที่อาจจะส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ต้องมีการวางแผนร่วม ลดความซ้ำซ้อน ให้ใช้งบประมาณอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ สมเหตุสมผล (3) ความสมบูรณ์ของแผนปฏิบัติการ ต้องด้วยเหตุด้วยผล ด้วยหลักการและก็มีการจัดทำแผนที่นำทางคือ Road map อย่างชัดเจน แจกแจงการใช้งบประมาณได้ ทั้งงบฟังก์ชั่นและงบในการบูรณาการฯ และ (4) แผนจะต้องมีความอ่อนตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ กรณีเกิดปัญหา ก็ต้องเตรียมมาตรการแก้ไขรองรับได้ ทั้งนี้ ปัญหาที่ผ่านมา คือ เราไม่เคยทำงานอย่างมียุทธศาสตร์ ถ้าเราไม่เริ่มทำกันวันนี้ ก็จะไม่สามารถตอบโจทย์ แก้ปัญหาชาติไม่ได้ “แบบเบ็ดเสร็จ” แก้ปัญหาหนึ่ง ติดอย่างหนึ่ง สร้างปัญหาใหม่ ก็เดินไปไม่ได้ เหมือนติดกับดักตัวเองอยู่ หากเราไม่บูรณาการกัน “แยกคิด แยกทำ” กันเหมือนเดิม ก็ไม่มีผลดีเกิดขึ้น ทำไม่ได้เช่นเดิม เพราะฉะนั้นสิ่งที่รัฐบาลนี้เริ่มต้นทำให้ เป็นกระบวนการที่มีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป รัฐบาลต่อไปก็ทำหน้าที่มาสานต่อ เพื่อให้ประเทศเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เราก็ไม่สามารถจะบังคับใครได้ทั้งหมดอยู่แล้ว อำนาจฝ่ายบริหารเราจะไม่ก้าวล่วงตรงโน้น แต่เรามียุทธศาสตร์ชาติที่เป็นกรอบงาน  แต่วิธีทำนั้นก็เป็นเรื่องของแต่ละรัฐบาลไปหาวิธีการ ดำเนินการต่อไป แต่ผลสัมฤทธิ์จะกำหนดไว้ล่วงหน้า ประชาชนต้องรับรู้ไว้ก่อน ว่าพอใจหรือไม่พอใจอย่างไรในผลงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยทั้งนี้ประชาชน ข้าราชการ จะต้องเป็นผู้ติดตาม กำกับดูแล ตรวจสอบ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงด้วยหลักการและเหตุผลที่สมเหตุสมผลด้วยเช่นกัน
พี่น้องประชาชน และเพื่อนๆ ข้าราชการครับ สำหรับหลักการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ ในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนี้ ตั้งแต่ปี 57 58 59 60 และในอนาคต อีก 20 ปีข้างหน้านั้น ก็เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศนำไปสู่ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ด้วยการน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อจะนำพาประเทศชาติและประชาชน ให้มีความอยู่ดี กินดีอย่างแท้จริง ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเราได้แบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านการปฏิรูป และ การพัฒนาประเทศ คือ การเดินหน้าสู่อนาคตของประเทศ โดยมี “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” เป็นผู้กำหนดความต้องการภายใต้อัตลักษณ์ของความเป็นไทย วัฒนธรรม ประเพณี อันงดงาม ด้วยความรัก ความสามัคคี ความมีศรัทธาอย่างแรงกล้า เป็นการสร้างความฝันสู่อนาคตร่วมกัน และการทำตามความฝัน ให้เป็นความจริง ด้วยการขับเคลื่อนกลไก “ประชารัฐ” มีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ ทั้งใน “แกนตั้งและแกนนอน” เป็นการสื่อสาร “2 ทาง” รับฟังความความคิดเห็น ความห่วงใย และความเป็นจริงจากทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดความร่วมมือ นำไปสู่การปฏิบัติ ผลักดันให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ทั้งนี้ ทุกคน ทุกฝ่าย และ “ประชาชน” ต้องยอมรับในความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น อันจะนำพาไปสู่การปฏิรูปประเทศได้ เพื่อให้ทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแนวทางหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งจากพระบรมราโชบาย และการปฏิบัติที่ได้ทรงทดลองทำเป็นแบบอย่างไว้ให้แล้ว เราจะต้องนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยภายนอกของประชาคมโลก และปัจจัยภายในประเทศของพวกเรากันเอง ที่จะทำให้เราและต่างประเทศเข้าใจซึ่งกันและกัน ปัจจุบันยังมองต่างกันอยู่ ทั้งในแง่ความคิด อัตลักษณ์ พื้นฐาน และการปฏิบัติหลายอย่าง อาจจะทำได้ในหลายประเทศไทยในโลกสำหรับประเทศไทยนั้นก็มีความละเอียดอ่อน อาจจะทำไม่ได้ก็ต้องทำให้ได้ เราต้องทำให้เกิดความชัดเจน เข้าใจให้ตรงกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ การปฏิรูปเราต้องครอบคลุม ทั้งงานด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และการต่างประเทศ และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นระดับชาติ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ภายในระยะเวลา 5 ปี ผมจะเริ่มต้นไว้ก่อน 1 ปีแรก ก็ช่วยกันทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน และต่อ ๆ ไปในทุกรัฐบาล ในอนาคต
ด้านเศรษฐกิจ ในการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น เรามีทั้งระดับประเทศและระดับฐานราก แล้วก็รวมความไปถึงการคบค้าสมาคม คู่ค้า คู่ลงทุนกับต่างประเทศทั้งทวิภาคีและพหุภาคีด้วยนั้น เราจำเป็นต้องคิดใหม่ให้ครบวงจร ทำใหม่อย่างบูรณาการ ขณะเดียวกันต้องปรับเปลี่ยนพัฒนาสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ทันสมัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล หมายรวมถึง การสนับสนุนและส่งเสริม ทั้ง S-Curve เดิม และ New S-Curve ไปพร้อม ๆ กัน ในการที่จะนำพาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 เราจะต้องไม่ทอดทิ้ง 3.0 ลงไป คือ ประชาชนหลายระดับที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งเราต้องเร่งกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการปฏิรูปการศึกษา ให้ได้โดยเร็ว มีผลจับต้องได้ เช่น เราจะต้องสามารถผลิตแรงงานในประเทศได้เท่าไหร่ ที่ตรงความต้องการ กี่ประเภทบ้าง เพียงพอหรือไม่ เราต้องมีการว่าจ้างบุคลากรภายนอกเพิ่มเติมในระยะแรกหรือไม่ เท่าไหร่เหล่านี้ ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงแรงงาน ไปบูรณาการในวิธีต่างๆมาร่วมมือกับทางสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ส่วนกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ นั้น เราจะเร่งด้วยการวิจัย พัฒนาให้ทันต่อเทคโนโลยีของโลกในศตวรรษที่ 21 เราต้องจัดให้มีการศึกษา การจัดกลุ่มงาน การขับเคลื่อน ให้เดินหน้าไปพร้อม ๆ กัน บนหลักการ “พึ่งตนเอง” ให้ได้ในอนาคตนำมาใช้ให้ได้ คิดแล้วทำผลิตแล้วใช้ ให้มีการปฏิรูปครบวงจรในด้านเกษตรกรรมเราต้องทำให้ครบวงจรอย่างยั่งยืนด้วย เราต้องดำเนินการให้สอดคล้องไปกับการปฏิรูปอุตสาหกรรมอย่างสมดุล อุตสาหกรรมสีเขียว โดยต้องดำเนินการ “คู่ขนาน” กันไป ทั้งเกษตรกรรม และ อุตสาหกรรม จะต้องทำให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และสถานการณ์โลก การค้าขายในโลกปัจจุบันนี้ด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในแต่ละพื้นที่ จังหวัด กลุ่มจังหวัด ภูมิภาค เป็นหน้าที่ทุกคนต้องไปคิดมาด้วย ตามนโยบายที่ผมกล่าวไปแล้ว ด้วยการสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และการใช้ทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดในแต่ละพื้นที่ ให้เกิดความสมดุล กับการใช้ประโยชน์ เรามีทรัพยากรธรรมชาติไม่มากนักแต่เราต้องใช้ให้ยั่งยืนนะครับ ให้สมดุลกันระหว่างการพัฒนาและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะต้องไปด้วยกันให้ได้ โดยทั้งนี้ประชาชนต้องเป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เราต้องลดการแข่งขันกันเอง แย่งตลาดกันเอง จะทำให้ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เช่น อย่างที่ผ่านมาหลายอย่างเราต้องลดราคาแข่งกันอะไรต่าง ๆ โดยที่ไม่ได้ดูเรื่องคุณภาพ เลยทำให้ทุกอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด เราต้องสร้างแบรนด์ของคนไทยให้ได้หรือ แบรนด์ด้านการเกษตร แบรนด์ของข้าว ข้าวหอมมะลิที่มีความแตกต่างกับข้าวหอมอื่น ๆ ในโลกใบนี้เราต้องเชื่อมโยงกันในทุกห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ให้ได้ ผมพูดหลายครั้งแล้ว
ด้านสังคม ได้แก่ การส่งเสริม ขับเคลื่อน ผลักดัน ให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ หลุดพ้นกับดักจากความยากจน และได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมให้ได้โดยเร็ว เรามีมาตรการหลายมาตรการ ที่จะต้องลดความเหลื่อมล้ำลงให้ได้ ในการเข้าถึงบริการภาครัฐและสวัสดิการ ของประชาชนทุกช่วงวัย ทุกคนต้องร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก วัยรุ่น ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ เราจะทำให้ประชาชนทุกคน ทุกช่วงวัย ได้มีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา แต่ต้องขึ้นอยู่กับตัวเองด้วย คือบอกไป ทำไป ถ้าไม่ร่วมมือ ก็ไม่เกิดขึ้นทุกอย่าง เพราะเราต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา อ่านหนังสือ มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างหลักประกันทางสังคม ด้วยการสร้างสังคมที่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สังคมมีความสงบสุข มีสันติ เช่น ไม่มีเด็กแว๊นอีกต่อไป ไม่มีการตีกัน ไม่ทำให้สังคมเป็นสังคมแห่งความรุนแรง เราจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างพอเพียง สมแก่ฐานะ สามารถดูแลครอบครัวได้ อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ทุกคนมีศักดิ์ศรี มีเกียรติที่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็น อาชีพใด รายได้ใด ในทุกระดับ รวมทั้ง รัฐบาลนี้ให้มีการพัฒนาที่อยู่อาศัย พัฒนาอาชีพ พัฒนารายได้ และหลักประกันอื่นๆ อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ต้องใช้เวลาทั้งหมด เราต้องสร้างสังคมที่สันติสุขประชาชนมีแต่ความสุข ไม่ใช่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่พอกินไม่พอใช้ เราจะต้องมีการศึกษาเรียนรู้ที่ดี ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศ ในเรื่องของการศึกษาทำให้เราอยู่ร่วมกันได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เข้าอกเข้าใจกัน มีความคิดพื้นฐานที่มันใกล้เคียงกัน เราจะต้องสร้างห่วงโซ่ ความเชื่อมโยงกัน ในทุก ๆ มิติ เราแยกกันทำงานอิสระไม่ได้ แยกกันคิดไม่ได้ ต้องแยกกันคิดแล้วมารวมกันสรุปให้ได้แล้วไปหาวิธีการทำด้วยกัน เราจะต้องจัดระเบียบบ้านเมืองทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมืองให้เกิดเป็น “ห่วงโซ่” ของความมั่นคงและปลอดภัย มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งไปพร้อมๆ กัน ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรของประเทศ  สำหรับเพื่อใช้ประโยชน์ สร้างเพิ่มมูลค่า ให้กับส่วนรวม ได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การอยู่ร่วมกันในสังคม อาจจะต้องเน้นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ให้เกิดความเป็นมิตร มีความสัมพันธ์ต่อกัน มันเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด เราจะเริ่มในระดับประชาชนให้มากที่สุด อันจะเกิดความผาสุกท่ามกลางความแตกต่าง เป็นการสร้างสีสันทางวัฒนธรรม ต่างประเทศก็สนใจของเรานะครับมากมาย เราก็แลกเปลี่ยนกับเขาได้แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและที่สำคัญ อีกประการ คือ การสร้างแรงกระตุ้นในการขับเคลื่อนประเทศ ด้วยการพัฒนาสร้างศักยภาพของประชาชนทุกคน– ทุกกลุ่ม ด้วยความเข้าใจถึง “แก่นแท้” ของประชาธิปไตยไทย คือ เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชนอย่างยั่งยืน อันถือว่าเป็น “หลักชัย” ร่วมกันของคนไทยทั้งชาติ
ด้านความมั่นคง ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความมีเสถียรภาพของประเทศ เป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศเสมอ เราจะต้องสนับสนุน ส่งเสริม ให้ประชาชนทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในงานด้านความมั่นคง ทั้งนี้ เพื่อจะลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การช่วยกันเฝ้าระวัง มีการตรวจตรา และการสร้างกลไก “ประชารัฐ” สร้างเครือข่ายในงานด้านความมั่นคง เราคงไม่เน้นว่าให้ประชาชนต้องไปปราบปราม ไปจับกุม คงไม่ใช่อย่างนั้น เพียงแค่ใช้ตา ใช้ปาก ในการที่จะสังเกต ในการที่แจ้งเจ้าหน้าที่ มันก็ทำให้ทุกพื้นที่นั้นปลอดภัยได้เพราะมีประชาชนอยู่ทุกพื้นที่นะครับ ตำรวจ ทหารก็อยู่เฉพาะในพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เราไม่สามารถจะวางกำลังทหาร ตำรวจไว้ทุกพื้นที่ทุกตารางนิ้วได้ ทั้งนี้ จะเกิดขึ้นได้ด้วยการปลูกฝังอุดมการณ์ ความเสียสละ ความรักชาติ รักสถาบัน เพื่อจะรวมพลังให้เข้มแข็งเป็นพลังที่เข้มแข็งของประชาชน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมีเสถียรภาพ เพื่อประเทศชาติอย่างยั่งยืนตลอดไป
ในส่วนของความเชื่อมโยงนั้น เราต้องมีความเชื่อมโยงให้ได้ เราต้องไม่แบ่งแยกซึ่งกันและกัน ระหว่างประชาชนต่อประชาชน กลุ่มอาชีพต่อกลุ่มอาชีพ และพื้นที่ต่อพื้นที่ นับว่าเป็นอีกปัจจัยสำคัญ ในการที่จะเสริมสร้าง “พลังอำนาจของชาติ” ทั้งที่มีตัวตน “จับต้องได้” และไม่มีตัวตน “จับต้องไม่ได้” แต่ล้วนมีพลัง มีศักยภาพเสริมซึ่งกันและกัน นอกจากนั้น เราต้องไม่ลืม ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับกระทรวงกลาโหม กองทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มีความทันสมัย มีความพร้อม ทั้งอำนาจกำลังรบ ที่มีตัวตน และไม่มีตัวตนที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ในทุกโอกาส บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน รวมทั้ง พัฒนาระบบเครือข่ายภาคประชาชนในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัย เพื่อลดภาระงานเสริมศักยภาพของเจ้าหน้าที่ โดยหน่วยงานต้องจัดคนให้ตรงกับหน้าที่ มีการจัดลำดับความเร่งด่วน ความสำคัญของงาน และปฏิรูปกระบวนการสอบสวนกระบวนยุติธรรมด้วย ให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นต้น
ด้านยุติธรรม การสร้างประเทศไทยให้เข้มแข็งมีวัฒนธรรม เป็นระบบนิติรัฐ เราพูดกันมานานแล้ว จะเป็นที่มาของความภูมิใจ และมีความเป็นหนึ่งเดียว เราจะต้องช่วยกันสร้างกระบวนการยุติธรรม ที่เชื่อถือไว้วางใจได้ ทั้งระบบอย่างครบวงจร ต้องขจัดขบวนการทุจริต ผู้มีอิทธิพล เอารัดเอาเปรียบ ให้ได้โดยเร็วที่สุด ขจัดการทุจริต คอร์รัปชั่นทั้งสองฝ่ายทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนที่อะลุ้มอล่วยซึ่งกันและกัน ด้วยผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน ต้องช่วยกันแก้ทั้งคู่ เรามีการดำเนินการทั้งมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางสังคม คนที่ไม่ดี ไม่มีคุณธรรม ทำผิดกฎหมาย ต้องไม่มีที่ยืนในสังคมอีกต่อไป ช่วยกันสังคมช่วยกันดูแล ใช้กฎหมายอย่างเดียวอาจจะไม่ทันการไม่เพียงพอ แต่จะต้องไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน นำเข้สู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้ เว้นแต่หากว่าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ได้รับการปรับปรุงตัวเองแก้ไข กระบวนการยุติธรรมตัดสินจนได้ข้อยุติ รับโทษทัณฑ์มาแล้ว มันก็จบนะครับ ทุกคนก็สมควรจะได้รับโอกาส ตามหลักการสากลของโลก คือ โอกาสการกลับคืนสู่สังคม อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติวิธี สังคมเขาให้อภัยหมด
สำหรับด้านการต่างประเทศนั้น สถานการณ์ในปัจจุบันจะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากมายรวดเร็ว เราจำเป็นต้องวางบทบาทของประเทศไทยทั้งในทวิภาคี และเวทีประชาคมโลกให้เหมาะสม เราเน้นในเรื่องของ CLMVT ประเทศรอบบ้านเราและอาเซียน เราต้องรวมกันให้ได้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ความแตกต่างกันให้ได้ เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์มากกว่าเป็นคู่แข่งขัน เราต้องมีการเชื่อมโยงในทุกมิติ อันจะเป็นแรงผลักดันส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ ตามมาโดยลำดับ
ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวทางเหนือ ใต้ ออก ตก ไปสู่การเป็นระเบียงเศรษฐกิจโลก และให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลกและอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) วันนี้เราขับเคลื่อนกันอย่างเต็มที่ เพื่อจะยกระดับ S-Curve สู่ New S-Curve ด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล และในส่วนของ S-Curve เดิมก็ต้องพัฒนาไปสู่การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ซึ่งรัฐบาลจะต้องดูแลอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ นโยบายด้านต่างประเทศจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ ลดความหวาดระแวง และมีผลประโยชน์ที่เท่าเทียม รัฐบาลไม่มุ่งหวังผลประโยชน์จากใครเลย ประชาชนจะต้องคาดหวังจากรัฐบาลได้ แต่ทั้งนี้ก็จะเป็นไปตามขั้นตอนเป็นไปตามแผนงานด้วยความเข้าใจ ด้วยความอดทนอย่าไปเชื่อฟังความบิดเบือนจากใครก็ตามที่ไม่ได้ทำ วันนี้รัฐบาลทำเต็มที่ เราจะต้องเน้นการดำเนินนโยบายทางการทูตในเชิงรุก คือทำให้วันนี้ทูตนอกจากเรื่องความสัมพันธ์ก็เป็นทูตเศรษฐกิจไปด้วย เพื่อจะให้เกิดประโยชน์ร่วมกันของประเทศไทยและประเทศคู่ค้า– คู่เจรจาเดิมเรามีกงสุลดูเรื่องการค้า เอกอัครราชทูตดูเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันนี้ต้องทำหน้าที่ทั้งสองอย่าง ทั้งสองส่วนด้วยกัน ไปด้วยกันบูรณาการระหว่างเอกอัครราชทูตกับกงสุล
ในส่วนของการสร้างหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์นั้น เราจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือพัฒนาตนเอง อันนั้นจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศ ในส่วนที่ร่วมมือกันได้ก็ร่วมมือกัน เขาเรียกว่า หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เราจะต้องเพิ่มให้มากยิ่งขึ้น จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า เพื่ออนาคตร่วมกัน ประเทศไทยต้องแสดงถึงความจริงใจ เปิดใจให้กว้าง อาจจะต้องยอมสละส่วนน้อยให้ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่บ้าง ถ้าเรารับอย่างเดียวไม่ให้ใครเลย ก็ไม่ได้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเราต้องเปิดใจให้กว้าง เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและโดยรวม เราจะต้องกระชับความสัมพันธ์ โดยจะต้องเริ่มกิจกรรมที่แต่ละประเทศมีศักยภาพหากันให้เจอ Matching ลงทุนในสิ่งที่แต่ละฝ่ายต้องการ แล้วต้องแก้ไขขจัดปัญหาอุปสรรคระหว่างกัน ที่ผ่านมานั้นก็พูดแต่ว่าจะร่วมมือกัน แต่อุปสรรคและปัญหามากมายนั้น วันนี้รัฐบาลนี้ก็แก้ไปได้ระดับหนึ่งแล้ว เพราะฉะนั้นเราจะต้องร่วมมือกันให้ได้โดยเร็วระหว่างเราและประเทศเพื่อนบ้าน และประชาคมโลกอื่น ๆ เราะต้องผลักดันความร่วมมือ ทั้งในบริบทของทวิภาคี พหุภาคี อย่างแข็งขัน ในทุกเวที ทุกกิจกรรม ให้มีการเชื่อมโยงกัน ให้ได้โดยเร็ว ทั้งเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว การลงทุน การค้าอุตสาหกรรม ที่ผมเคยกล่าวไว้แล้วว่าเป็น Thailand +1 ในอาเซียน หรือประเทศใดๆ ในอาเซียน + 1 แล้วมาที่ไทย มันจะสามารถเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ ตรงความต้องการของแต่ละประเทศ มันจะเกิดความรัก ความสามัคคี ความแน่นแฟ้นในประชาคมอาเซียนให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด
สุดท้ายนี้ ประชาชนทุกคน ทุกกลุ่มอาชีพ เรามีเกือบ 70 ล้านคน เราต้องรวมพลังกันด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวดในการที่จะร่วมกันปฏิรูปประเทศ เราต้องทำด้วยความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ด้วยวิสัยทัศน์ ศึกษายุทธศาสตร์ชาติ สร้างทัศนคติที่ดีต่อกัน ทำความเข้าใจร่วมกัน ทั้งกิจกรรม วิธีการ ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ และความร่วมมือ สำคัญอยู่ที่ความร่วมมือ จะต้องทำอย่างครบวงจร จะเป็นความต่อเนื่อง เชื่อมโยง เป็นห่วงโซ่เดียวกันจากการที่เรามีประชาชนเป็นศูนย์กลาง หากเราไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ไม่ว่าจะคิด ไม่ว่าจะทำ มีการศึกษาที่ไม่เพียงพอ มีการสื่อสารที่ไม่ดีพอ การปฏิรูปประเทศ ไม่มีวันจะสำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นจากตนเอง ครอบครัว สังคม ชุมชน ตำบล หมู่บ้านซึ่งเล็กที่สุด และไปสู่จังหวัด กลุ่มจังหวัดและภูมิภาคในอนาคต ก็ขอให้ทำวันนี้เปรียบเสมือนเรากำลังสร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างรากแก้วให้เข้มแข็ง อะไรที่อ่อนแอถ้าหากว่าอยู่เป็นเล็ก ๆ เป็นครอบครัว เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ก็ไม่แข็งแรง เปรียบเสมือนเรานำกิ่งไม้เล็ก ๆ อ่อนแอมามัดรวมกลุ่มกัน ด้วยเชือกแห่งความรัก ความสามัคคีความเชื่อมั่นและศรัทธา ทุกอย่างความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินฝันของคนไทยทุกคน รัฐบาลและ คสช. จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มสติกำลังและความสามารถ ทั้งนี้ เพื่อนำพาประเทศชาติและประชาชนฟันฝ่าอุปสรรคไปให้ได้
พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน ในวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายนนี้ เวลา 08.00 น. หลังเคารพธงชาติ รัฐบาลขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมแสดงความอาลัยถวายและรวมพลังแห่งความภักดี ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์อย่างพร้อมเพรียงกันด้วยการร่วมกันถวายสัตย์ปฏิญาณ และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ณ ศาลาว่าการจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือ ณ สถานที่บริเวณหน้าสำนักงานที่ตนสังกัด รวมทั้ง สถานประกอบการธุรกิจเอกชนและอื่น ๆ สำหรับต่างประเทศพร้อมกัน ณ สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานที่ที่เหมาะสม ในวันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน 2559 โดยให้มีการเคลื่อนย้ายน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ชาวโลกรับรู้ว่า คนไทย ประเทศไทย มีความจงรักภักดี แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

ที่มา ; เว็บ  รัฐบาลไทย

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

-คลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม