หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

นโยบายปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่

-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559

            -คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 452/2559
รมว.ศึกษาธิการ พบผู้บริหารและครู กทม.
เพื่อ
สื่อสารถึงนโยบายปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ

กรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดประชุมมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ให้แก่ผู้บริหาร ข้าราชการ และครู กทม. โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.ต.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมชี้แจงนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2559 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยมีนางวรรณวิไล พรหมลักขโณ รองผู้ว่าราชการ กทม. รวมทั้งคณะผู้บริหาร คณะที่ปรึกษาผู้ว่าราชการ กทม. ตลอดจนข้าราชการครูสังกัด กทม. เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ต้องยอมรับความจริงว่าเมื่อเริ่มเข้ามาทำงานรัฐมนตรี พบปัญหาด้านการศึกษาจำนวนมากและหลากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นครูไม่ครบชั้น, โรงเรียนไม่ผ่านการประเมินคุณภาพสถานศึกษา, บัณฑิตตกงาน, ทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำ, นักเรียนใช้เวลาเรียนสูงที่สุดในโลก (ข้อมูลจาก UNESCO) เป็นต้น ซึ่งแต่ละปัญหาก็มีความพัวพันและเชื่อมโยงกัน จึงได้นำหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เข้ามาช่วยจำแนกและจัดกลุ่มปัญหาในแต่ละด้าน ที่จะเชื่อมโยงไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดต่อไป
เมื่อจัดกลุ่มปัญหาออกมาแล้ว จึงนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 คือ 1) ผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการและรองรับการพัฒนาประเทศ 2) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 3) ระบบงบประมาณและทรัพยากรเพื่อการศึกษา 4) ระบบตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา 5) ระบบสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6) พัฒนาระบบการผลิต การสรรหาและการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 7) ระบบการบริหารจัดการ 8) สร้างโอกาสทางการศึกษา 9) พัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10) การวิจัยเพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ)
นอกจากนี้ ได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนงาน 6 ด้านไปพร้อมกัน คือ 1) ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้  2) ด้านการผลิตและพัฒนาครู 3) ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนและงานวิจัย 4) ด้านการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 5) ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา 6) ด้านการบริหารจัดการ

แต่เนื่องจากเล็งเห็นว่าการบริหารจัดการภายในกระทรวงศึกษาธิการ ยังมีปัญหาในหลายส่วน จึงจำเป็นต้องเร่งปฏิรูปตามกลยุทธ์ “ด้านการบริหารจัดการ” ก่อนเป็นลำดับแรก มิเช่นนั้นจะดำเนินการกลยุทธ์อื่นไม่ได้ โดยต้องดำเนินการใน 4 เรื่องหลักอย่างเร่งด่วน คือ
• ปฏิรูปการบริหารงานบุคคล
     1) การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้ายของครูและผู้บริหาร โดยมีแนวทางและผลการดำเนินงาน ดังนี้
  • การแก้ไขปัญหาครูขาดและครูเกิน โดยขณะนี้มีจำนวนครูเกินลดลงเหลือ 6,700 คน และจำนวนครูขาดลดน้อยลงเช่นกัน พร้อมทั้งมีความพยายามที่จะเกลี่ยครูในโรงเรียนที่มีครูเกินไปอยู่โรงเรียนที่ขาดแคลนครู โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้วย ในส่วนของการทำงานร่วมกันนั้น กระทรวงศึกษาธิการจะได้หารือร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การบรรจุ โอน และย้ายครูระหว่างสังกัด เพื่อให้การเกลี่ยครูเป็นไปตามความต้องการของโรงเรียนอย่างแท้จริง
  • การกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้อำนวยการโรงเรียน แทนตำแหน่งเกษียณอายุราชการ โดยจะออกข้อสอบกลางสำหรับทดสอบทั้งในกลุ่มประสบการณ์และกลุ่มทั่วไป เมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน จะเริ่มต้นจากโรงเรียนขนาดเล็กก่อน จากนั้นต้องทำสัญญารับการประเมินผลการทำงานรอบ 6 เดือนและ 1 ปี โดยประเมินจากการทำงานและแผนการพัฒนาโรงเรียน หากผ่านการประเมินก็เป็นผู้อำนวยการต่อไป แต่หากไม่ผ่านการประเมินต้องกลับไปอยู่ที่เดิมก่อนที่จะมา อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการโรงเรียนเปรียบเสมือนแม่ทัพ คือคนที่อยู่ด้านหน้าสุดในการรบกับการศึกษา เพราะอยู่กับครู ดังนั้นครูจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่ผู้บริหารโรงเรียน
  • การปรับตารางการบรรจุและแต่งตั้ง  ทั้งการบรรจุตำแหน่งครูผู้ช่วย การแต่งตั้งหรือการย้ายรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการโรงเรียน ให้แล้วเสร็จก่อน 1 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งทุกโรงเรียนต้องปรับตารางการทำงานให้เป็นไปตามนี้ด้วย
     2) การผลิตและพัฒนาครู มีแนวทางและผลการดำเนินงาน ดังนี้
  • เทคนิคการสอนและทักษะการพูด กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับการสื่อสารและถ่ายทอดที่ดีของผู้ที่เป็นครู เพราะคาดหวังว่าครูต้องมีทักษะการพูด วิเคราะห์ และถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดที่เข้าใจได้ง่ายได้ ขณะนี้มีความพยายามที่จะสื่อสารให้ครูได้รับรู้และเห็นความสำคัญของการถ่ายทอดและเทคนิคที่ดี ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้และมีแนวปฏิบัติที่ดีเป็นตัวอย่างอยู่มากมาย เช่น การดึงความสนใจของนักเรียนในนาทีแรกที่เข้าสู่ห้องเรียน หรือจะหลอกเด็กให้เข้าใจในการเรียนรู้ได้อย่างไร เป็นต้น
  • ปรับหลักสูตรผลิตครู ของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้มีมาตรฐานเดียวกัน
  • สัดส่วนการผลิตครู ได้กำหนดสัดส่วนการผลิตครูให้สอดคล้องกับข้อมูลความต้องการและอัตราการเกษียณอายุราชการของครูในแต่ละปี คือ สัดส่วนการผลิต 25:40:35 ของอัตราเกษียณอายุราชการ ประกอบด้วยโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 25% เพื่อผลิตครูในสาขาที่ขาดแคลนในพื้นที่ภูมิลำเนาของตนเอง โดยเริ่มดำเนินโครงการในปี 2559 เป็นปีแรก และมีผู้สมัครได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 4,079 อัตรา, การผลิตครูระบบปิด 40% โดยสถาบันผลิตครูส่งแผนงานการผลิตผู้เรียน รับจัดสรรโควตา และงบประมาณตามที่กำหนด, การผลิตครูระบบเปิดทั่วไป 35%
  • การตรวจเลือดครู (ประเมิน) ได้กำหนดแนวทางการจัดสอบครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั่วประเทศ ในช่วงเดือนมีนาคม 2560 โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จะเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบ เพื่อเป็นการประเมินจุดด้อย ช่องว่างของครูแต่ละคนที่ควรได้รับการพัฒนา และจะให้การใช้จ่ายงบประมาณด้านการฝึกอบรมพัฒนาครูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การยกระดับครูภาษาอังกฤษ ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาภาษาอังกฤษ อาทิ จัดทำแอพพลิเคชั่น Echo Hybrid, Echo English, การพัฒนาครูภาษาอังกฤษผ่านกระบวนการ Boot Camp เพื่อพัฒนาครูแกนนำที่มีทักษะ B2 ขึ้นไปจำนวน 350 คน ในการอบรมพัฒนาแบบเข้มเป็นเวลา 5 สัปดาห์กับครูต่างชาติ, การปรับโครงสร้างหลักสูตรและระยะเวลาในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ชั้น ป.1-3 จากเดิมสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง (วันละ 1 ชั่วโมง) พร้อมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น จัดทำป้ายบอกทางต่าง ๆ ภายในสถานศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นต้น
  • การรักษาขวัญกำลังใจ “การที่คนผิดไม่ได้รับการลงโทษ ถือว่าเป็นการทำลายขวัญของคนดี” กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ติดตามและตรวจสอบปัญหาการทุจริตในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ทั้งการโยกย้าย ดุลยพินิจหรือการลงโทษที่ไม่ถูกต้อง การได้รับโทษจากการที่ไม่รู้ระเบียบต่าง ๆ เป็นต้น
• ปฏิรูปการบริหารงบประมาณ
  • การจัดสรรงบประมาณ ที่ผ่านมามีการบริหารงบประมาณและการจัดสรรลงไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในรูปแบบ Top-Down กล่าวคือ ส่วนกลางจะคิดแผนงานโครงการพร้อมจัดสรรงบประมาณลงไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งมีหลากหลายโครงการ แต่หลายโครงการกลับไม่ตรงกับความต้องการ ดังนั้นจึงได้ปรับรูปแบบการจัดสรรงบประมาณแบบ Bottom-Up โดยให้ระดับพื้นที่เป็นผู้เสนอแผนงานโครงการขึ้นมา เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตามบริบทของตนเอง
  • การเกลี่ยเงินอุดหนุนรายหัว  แต่เดิมเกณฑ์จัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวใช้วิธีการหารยาว เพื่อกำหนดเงินอุดหนุนรายหัวในแต่ละช่วงชั้น เช่น เด็กอนุบาล ได้รับ 1,700 บาทต่อคน เด็กชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับ 3,800 บาทต่อคน ทำให้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่มีนักเรียนจำนวนมากและมีความพร้อมอยู่แล้ว ได้รับงบประมาณจำนวนมากขึ้นไปอีก ทั้ง ๆ ที่เด็กในวัยอนุบาลเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ และรับรู้ทุกอย่างได้อย่างเต็มที่ แต่กลับได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลน้อยที่สุด   ดังนั้น จึงเตรียมที่จะปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัว เพื่อจัดสรรให้กับเด็กอนุบาล-เด็กประถมในโรงเรียนที่ยังไม่มีความพร้อมได้มากขึ้น เช่น ในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีนักเรียน 2,000 คน จะได้รับเงินอุดหนุนรายหัว 3,800 บาทต่อคนเช่นเดิม แต่เมื่อใดก็ตามที่มีโรงเรียนรับนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 2,001-3,000 คน จำนวนที่เกินมาอาจได้รับเงินอุดหนุนรายหัว 3,500 บาทต่อคน และคนที่ 3,001-4,000 อาจได้รับเหลือ 3,000 บาทต่อคน  นอกจากนี้ ได้เตรียมการที่จะแยกค่าจัดการเรียนการสอนออกมาให้ชัดเจน เพื่อให้เงินลงไปถึงตัวเด็กอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และไม่ให้โรงเรียนนำไปใช้จ่ายอย่างอื่น เช่น ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น พร้อมทั้งเตรียมที่จะแก้ปัญหาเงินอุดหนุนของเด็กพิเศษที่เข้ามาเรียนร่วมในโรงเรียนปกติให้มากขึ้น
• ปฏิรูปทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (Management Information SystemMIS) โดยได้ดำเนินการบูรณาการฐานข้อมูลด้านการศึกษาของทุกหน่วยงานใน 4 ส่วนที่สำคัญ คือ ข้อมูลนักเรียน โดยใช้ฐานข้อมูลเดียวกันภายใต้เลขประชาชน 13 หลัก, ข้อมูลสถานศึกษา, ข้อมูลครู และข้อมูลบุคลากรประเภทอื่น ที่จะต้องเชื่อมต่อถึงกัน เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมมีการเชื่อมต่อกับหน่วยงานที่จัดการศึกษาอื่น ๆ ด้วยในอนาคต เช่น กทม. อปท. เป็นต้น นอกจากนี้จะผลักดันให้มีแผนแม่บทการใช้ ICT เพื่อการศึกษาต่อไปด้วย
  • การจัดทำเครือข่าย (Networks) ด้านการศึกษา แบ่งเป็น 2 โครงข่ายหลัก คือ โครงการ MOENet และ NEdNet เพื่อให้บริการแก่สถานศึกษาทั่วประเทศ, เครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัย (UniNet) เป็นเครือข่ายแกนหลักของเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ โดยตั้งเป้าที่จะจัดให้มีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Hi-speed) เข้าไปถึงโรงเรียนอย่างน้อย 50 เมกกะไบต์
  • เนื้อหา (Contents) โดยกระทรวงศึกษาธิการจะบูรณาการองค์ความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและเป็นแหล่งเรียนรู้ของของหน่วยงานในสังกัด ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV), ระบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning Information Technology : DLIT), ระบบการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยยึดถือภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นฐาน (TEPE Online), สถานีวิทยุโทรทัศน์ ETV, R-radio ของอาชีวะ, มหาวิทยาลัยไซเบอร์ รวมทั้งองค์ความรู้จากภาพเอกชน อาทิ เซ็นทรัลกรุ๊ป, ทรู คอร์ปอเรชั่น, B2S ในรูปแบบของ e-Book, หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อจัดทำเป็นคลังความรู้กลางให้บริการนักเรียน ครู และประชาชนที่สนใจ ในการศึกษาหาความรู้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
• ปฏิรูประบบผลิตคนให้ตรงกับความต้องการ
  • สะเต็มศึกษา (STEM Education) ขณะนี้มีหลายหน่วยงานที่กำลังดำเนินการในเรื่องนี้ อาทิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.), สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้  และเพื่อให้การเรียนการสอนสะเต็มศึกษาสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงได้มีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ  สป 37/2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รวม 3 คณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะอำนวยการการจัดการเรียนการสอน พัฒนาหลักสูตร และขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งขณะนี้มีผลการดำเนินงานในการจัดทำคู่มือกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับครูของภาคเรียนที่ 1 (ชั้น ป.1 – ม.6) ในกาคนรจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียน เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.stemedthailand.org ด้วย
  • พัฒนาระบบสอบ O-NET ให้เป็นที่ยอมรับ โดยต้องการที่จะปรับระบบการสอบ O-NET ที่เน้นการออกข้อสอบให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน, มีการจัดทำ Item Card และ Test Blue Print, ให้ความสำคัญกับกระบวนการคัดเลือกคนออกข้อสอบและผู้ตรวจข้อสอบ, ให้มีการเฉลยข้อสอบและวิเคราะห์ผลสอบ O-NET เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนมีการบูรณาการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนกับหน่วยงานการศึกษาในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อทำให้ระบบการสอบ O-NET เป็นที่ยอมรับ และสะท้อนถึงคุณภาพของการจัดการศึกษาที่แท้จริง และเมื่อดำเนินการเสร็จสมบูรณ์จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินครู ผู้บริหารโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป
  • เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ได้ร่วมมือกับ สกอ. เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศลงไปช่วยพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ แบ่งเป็น 9 เครือข่าย ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานตอนบน ภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง
  • ขับเคลื่อนการยกระดับภาษาอังกฤษ เตรียมที่จะนำการทดสอบภาษาอังกฤษมาใช้ในการสอบเข้าและสอบจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี พร้อมกับได้วางแผนสร้างมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียน โดยอิงมาตรฐานสากล CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) หรือ “CEFR Thailand” เพื่อใช้ในการทดสอบระดับภาษาอังกฤษให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ รวมทั้งใช้เป็นมาตรฐานการสอนภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษา แต่จะไม่บังคับใช้ในหลักสูตรนานาชาติที่จัดอยู่แล้ว ทั้งนี้ในอนาคตอาจใช้เป็นมาตรฐานในการสอบเข้ารับราชการด้วย
  • พัฒนาทักษะผู้เรียน โดยจะส่งเสริมให้นักเรียนและนักศึกษามีคุณสมบัติหรือทักษะที่สำคัญ คือ
- 3R ได้แก่ Reading-อ่านออก, (W)Riting-เขียนได้, (A)Rithmatic-มีทักษะในการคำนวณ)
- 8C ได้แก่
1) Critical Thinking and Problem Solving : มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้
2) Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
3) Collaboration Teamwork and Leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
4) Communication Information and Media Literacy : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ
5) Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
6) Computing and ICT Literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ซึ่งเยาวชนในยุคปัจจุบันมีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอย่างมากหรือเป็น Native Digital ส่วนคนรุ่นเก่าหรือผู้สูงอายุเปรียบเสมือนเป็น Immigrant Digital แต่เราต้องไม่อายที่จะเรียนรู้แม้ว่าจะสูงอายุแล้วก็ตาม
7) Career and Learning Skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
8) Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญของทักษะขั้นต้นทั้งหมด และเป็นคุณลักษณะที่เด็กไทยจำเป็นต้องมี
  • โครงการสานพลังประชารัฐ แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
1) ด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ (Competitive Workforce) ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษาโดยตรง ในขณะนี้มีภารกิจเร่งด่วน (Quick Win) 4 เรื่อง คือ Re-branding เพื่อจูงใจให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเห็นความสำคัญของการเรียนอาชีวศึกษาและสนใจเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น, Excellent Model School กำหนดความหมายและขอบเขตของสถานศึกษาต้นแบบที่ดีด้านอาชีวศึกษา, Database (Demand and Supply) จัดทำฐานข้อมูลความต้องการกำลังคนและปริมาณการผลิตกำลังคน เพื่อประโยชน์ในการวางแผนผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม, Standard and Certification Center การสร้างมาตรฐานวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับ และนำไปใช้อย่างทั่วถึง ตลอดจนเป็นบรรทัดฐานในการจ่ายค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับความสามารถของแรงงาน
2) ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ซึ่งได้ดำเนินโครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED (Leadership Program for Sustainable Education) เพื่อพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่จำนวน 1,000 คน จาก 12 องค์กรภาคเอกชน ทำหน้าที่เป็น School Partners ดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยมีหลักการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ 1) สนับสนุนการดำเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ (Enable) 2) ร่วมเสนอแนวทางพัฒนาโรงเรียนเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน (Enhance) 3) สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน (Engage) นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็น School Sponsor โดยผู้บริหารระดับสูงจะให้ข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์และสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 3,342 แห่ง และจะขยายผลโครงการไปยัง 7,424 โรงเรียนทุกตำบลทั่วประเทศ ภายในปี 2561
  • ทวิวุฒิ (Dual Degree) ที่จะเป็นการจับคู่สถาบันอาชีวศึกษาไทยกับสถาบันอาชีวศึกษาต่างประเทศ เช่น จับคู่กับสาธารณรัฐเกาหลี ในสาขาที่สาธารณรัฐเกาหลีมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว เทคโนโลยีความงาม และเทคโนโลยีสารสนเทศ และเมื่อนักศึกษาสำเร็จหลักสูตรจะได้รับทวิวุฒิ คือวุฒิการศึกษา 2 ใบจากทั้งสองประเทศ
  • การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  กระทรวงศึกษาธิการยึดถือแนวทางการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในทุกช่วงวัยทุกรูปแบบ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ที่จัดโดยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้ขอบคุณผู้บริหาร ข้าราชการ และครู กทม.ทุกคน ที่ได้เปิดโอกาสให้มาสื่อสารถึงนโยบายปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการในครั้งนี้ โดยเจตนารมณ์เราคือ "พวกเดียวกัน" จึงจำเป็นที่จะต้องรับรู้และเดินหน้าไปด้วยกัน ยินดีที่จะสนับสนุนการดำเนินโครงการต่าง ๆ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ กทม. ให้ดียิ่งขึ้น และพร้อมที่จะเดินหน้าขยายความร่วมมือโครงการใหม่ ๆ ให้มากขึ้นด้วย จากนั้นจึงจะขยายความร่วมมือไปสู่หน่วยงานอื่น ๆ ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการศึกษาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ตามแนวทางดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการ อาจจะมีหลายเรื่องไม่ตรงกับสิ่งที่ กทม. กำลังดำเนินการ แต่เชื่อว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

หลังจากนี้ จะได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนสังกัด อปท.ทั่วประเทศ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดการศึกษาร่วมกันต่อไป

ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา   

-คลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม