หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

11 นโยบายสำคัญกระทรวงศึกษาธิการ

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 


ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 287/2559รมว.ศธ.บรรยาย นโยบายสำคัญของ ศธ.
ในการอบรมสัมมนา
ผู้บริหาร รร.ไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศ

 จังหวัดเชียงใหม่ - พล.อ.ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษเรื่อง "นโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ" ในการอบรมสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศ ประจำปี 2559 เมื่อวันเสาร์ที่ กรกฎาคม 2559 ณ โรงแรมเชียงใหม่พลาซ่า
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้มาเป็นประธานพิธีเปิดในครั้งนี้ ซึ่งได้กราบเรียนนายกรัฐมนตรีรับทราบแล้วว่าในการสัมมนาครั้งนี้ จะได้กล่าวถึงนโยบายสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินการในเวลานี้ และเรื่องที่จะดำเนินการต่อไป ตามนโยบายและเป้าหมาย Roadmapแผนงานที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ 11 เรื่อง ดังนี้
 1. ภายใน 1 ปี : ให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาและคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ประเทศไทยมีอัตราการเข้าเรียนระดับประถมศึกษาร้อยละ 96 ของจำนวนประชากรวัยเรียนทั้งหมด ใกล้เคียงกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ส่วนญี่ปุ่นมีอัตราเข้าเรียนร้อยละ 100, ในขณะที่ World Economic Forum ได้ประเมินตามตัวชี้วัดเสาหลักที่ 5 การอุดมศึกษาและการฝึกอบรม (Higher Education and Training)(ภาพรวมการอุดมศึกษาและการฝึกอบรม) พ.ศ. 2558-2559 ซึ่งเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับ 140 ประเทศ พบว่า ไทยอยู่อันดับที่ 56 สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ยกเว้นมาเลเซียที่ได้อันดับที่ 36 และสิงคโปร์ที่เป็นอันดับ ของโลกจากการประเมินในปีนี้
 ในการดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาและคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันนั้น ได้คำนึงถึงความเท่าเทียมกันใน ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม
1) ความเท่าเทียมด้านเศรษฐกิจ
กระทรวงศึกษาธิการได้พุ่งเป้าไปที่การแก้ปัญหาเด็กไทยไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาและเด็กตกหล่น แต่ก็พบปัญหาว่ายอดเด็กที่ขาดหายไป ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าย้ายไปเรียนที่ใด เนื่องจากยังไม่มีการ Mapping ข้อมูลการจัดการศึกษาระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการ Mapping ข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าเด็กตกหล่นไปเท่าไร อย่างไร เพื่อดำเนินการแก้ปัญหานี้ต่อไป
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าจำนวนเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา ป.1 ปีการศึกษา 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 633,852 คน ในขณะที่ตัวเลขเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา ม.1 มีจำนวนทั้งสิ้น 624,911 คน แต่เมื่อเด็กจบ ม.ออกไปเหลืออยู่จำนวน536,318 คน หรือเท่ากับเหลืออยู่ในระบบ 84.65% หายไปจากระบบการศึกษา 97,534 คน
จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องวางแผนด้วยการ "จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" อย่างต่อเนื่องและให้เกิดความยั่งยืน พร้อมทั้งจัดทำระบบเพื่อบูรณาการแก้ปัญหาเด็กออกกลางคันและเด็กตกหล่นอย่างเป็นระบบ (ตามภาพล่าง)


ในส่วนของการดูแลเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาส) ได้จัดการศึกษาแบบโรงเรียนเฉพาะ 48 แห่ง จำนวน 15,000 คน, การจัดการเรียนรวม จำนวน 300,000คน และศูนย์การเรียน 77 แห่ง จำนวน 15,000 คน ครอบคุลมผู้เรียน ำนวน 341,000 คน
 2) ความเท่าเทียมด้านคุณภาพ
 กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้ประโยชน์จาก DLTV ในการเข้าถึงการศึกษาสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนทั่วไป จำนวน 15,369 โรงเรียน ซึ่งมีผลทำให้ผลการเรียนในรายวิชา ป.6 และ ม.3 สูงขึ้นทุกวิชา ยกเว้นวิชาสังคมศึกษาเท่านั้นที่ลดลงเล็กน้อยทั้ง ระดับชั้นดังกล่าว
ส่วนโรงเรียนอื่นๆ ทั่วไป ได้ให้ทุกโรงเรียนสามารถเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีคุณภาพ ขณะนี้ได้นำระบบ DLIT เข้ามาใช้ในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 15,553 โรงเรียน

 2. ภายใน ปี : ส่งเสริมให้ครูใช้ศักยภาพในการสอนอย่างเต็มที่
สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ สภาพแวดล้อมทางการศึกษาของอาเซียน โดยพิจารณาใน ส่วน คือ "ห้องเรียน" บางแห่งถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19, ส่วน "ครูผู้สอน" ผลิตมาจากหลักสูตรที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 20 ในขณะที่ "นักเรียน" ยุคปัจจุบัน ต้องมีทักษะสำหรับการทำงานและการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
ดังนั้น จึงได้นำมาทบทวนร่วมกับประเด็นปัญหาของการศึกษาไทยที่ผ่านมา เพื่อกระทรวงศึกษาธิการจะได้แก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยแยกเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ หัวข้อหลักที่สำคัญตามนโยบาย คือ 1) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 2) ครู 3) การบริหารจัดการ 4) ICT เพื่อการศึกษา 5) การประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา 6) การผลิตพัฒนากำลังคนและงานวิจัย
 
 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวทางที่สำคัญต่อคุณภาพการศึกษาไทย คือ คุณภาพของครูผู้สอน ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้สร้างมาตรฐานการผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ ตามแนวทางใหม่ ดังนี้
  •  วิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมา
  •  สอบถามความต้องการของครูในประเด็นที่ต้องการพัฒนา
  •  จัดทดสอบเพื่อประเมินความรู้
  •  ศึกษาหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำประเด็น Best Practice มาประยุกต์ใช้สำหรับการพัฒนาหลักสูตร
  •  เชิญผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาระหลักสูตร ทั้งภาครัฐ เอกชน และอาจารย์มหาวิทยาลัย ร่วมกำหนดกรอบหลักสูตรและจัดทำเนื้อหาวิชา
  •  กำหนดตารางการอบรมเป็นวงรอบ อบรมช่วงปิดเทอม ทำเป็น Camp
  •  อบรมโดยจังหวัด หรือกระจายเป็นภูมิภาค
  •  อบรม Online ให้มีระบบการประเมิน ที่ตรวจสอบกระบวนการเข้าร่วมเรียนรู้ และความรู้หลังการอบรม
อีกประเด็นสำคัญคือข้อมูลจำนวนข้าราชการครู ซึ่งได้นำข้อมูลระดับวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามาพิจารณา โดยให้ความสำคัญต่อ "การเลื่อนและคงวิทยฐานะ" ที่จะต้องมีผลโดยตรงกับการพัฒนาครู การวิจัยในโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน



ทั้งนี้ มาตรา 55 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 กำหนดให้มีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นระยะๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่ง โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด กรณีผู้ไม่ผ่านการประเมินให้ดำเนินการตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้
(1) ให้มีการพัฒนาผู้ได้รับวิทยฐานะให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถผ่านการประเมิน
(2) ให้ดำเนินการเลื่อนขั้น / งดเงินประจำตำแหน่งหรือเงินวิทยฐานะแล้วแต่กรณี
(3) ในกรณีที่ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ /ประสิทธิผลในระดับที่กำหนดให้สั่งผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา 110(6)
ประเด็นถัดไปสำหรับการส่งเสริมศักยภาพครู คือ "การใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง" โดยกำหนดให้โรงเรียน สพฐ. จำนวน 10,947 แห่ง เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศลงไปช่วยพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ต่างๆ ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น เครือข่าย
นอกจากนี้ ยังมีโครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED (Leadership Program for Sustainable Education) ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ซึ่งเป็นโครงการที่ผู้นำรุ่นใหม่จำนวน 1,000 คน จาก 12 องค์กรภาคเอกชนที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ จะทำหน้าที่ประการ คือ เป็น School Partners ให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมและดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ ซึ่ง School Partners ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศ มีหลักการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ 1) สนับสนุนการดำเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ (Enable) 2) ร่วมเสนอแนวทางพัฒนาโรงเรียนเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน (Enhance) 3) สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน (Engage)
อีกทั้งจะมีผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชนทำหน้าที่เป็น School Sponsor โดยให้ข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์ รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกนี้จำนวน 3,342 โรงเรียน และคาดว่าจะขยายผลการดำเนินโครงการไปยัง 7,424 โรงเรียนทุกตำบลทั่วประเทศ ภายในปี 2561

 3. ภายใน ปี : จะทำครูให้ครบตามเกณฑ์ 
     ภายใน ปี : จะทำครูให้มีครูประจำชั้นครบทุกห้อง 
     ภายใน 5-10 ปี จะทำให้ครูตรงสาขา
จากข้อมูลจำนวนโรงเรียนในปัจจุบัน เมื่อแยกตามขนาดห้องเรียน ทำให้เห็นว่าไทยมีโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน15,577 โรงเรียน ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน จำนวน 1,072 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนที่มีนักเรียน คน จำนวน 207 แห่ง ครู 230 คน ซึ่งเมื่อไม่มีนักเรียนเรียนแล้ว ก็จำเป็นต้องเกลี่ยครูไปช่วยราชการในโรงเรียนอื่นที่มีความขาดแคลนหรือครูไม่ครบชั้น
 สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้มีจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กมากขึ้น คือ อัตราประชากรวัย 6 ปี ที่ต้องเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ตั้งแต่ปี 2539 -2558 ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จากประมาณ 950,000 ลดลงเหลือประมาณ 770,000 คน สวนทางกับจำนวนวัยสูงอายุที่มีจำนวนมากขึ้น ดังนั้น สำนักงาน กศน. ต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการส่งเสริมจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ
หากมองไปที่ภาพรวมครู จะเห็นว่าอัตรากำลังกับการบรรจุจริงของ สพฐ. ยังคงเหลื่อมล้ำกันมาก ระหว่างครูสังกัด สพป. กับ สพม. และ สศศ. ซึ่งส่งผลทำให้มีจำนวนโรงเรียนที่มีครูขาด ครูเกิน และมีผลต่อสัดส่วนจำนวนครูต่อห้องเรียนด้วย
 เมื่อมองในภาพรวมอัตราการขาดเกินอัตรากำลังครูของ สพฐ. ทำให้เห็นแนวทางสำคัญที่จะมีการเกลี่ยอัตรากำลัง โดยใช้แนวทางต่างๆ เช่น ปรับเกณฑ์การคิดอัตราให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ, จัดทำแผนอัตรากำลังครูล่วงหน้า 10 ปี, เกลี่ยอัตรากาลังโดยยึดประโยชน์ทางราชการเป็นหลัก, ให้บรรจุทดแทนอัตราครูที่เกษียณอายุภายในเดือนตุลาคม (ของทุกปี), จ้างครูให้ตรงกับสาขาที่ขาดแคลนและตรงกับพื้นที่ที่ขาดแคลน และที่สำคัญคือการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยเริ่มต้นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 20 คนจำนวน 1,072โรงก่อนเป็นลำดับแรก รวมทั้งทบทวนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่ตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนมัธยมศึกษา เพราะหลายแห่งจำนวนเด็กระดับมัธยมศึกษาตอนต้นลดลงเช่นกัน
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการมีแนวคิดและขั้นตอนการดำเนินงานแก้ปัญหา คือ แบ่งกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก และจัดให้มีการบูรณาการเรียนร่วมระหว่างโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนประถมศึกษาคุณภาพ ตลอดจนการคัดกรองโรงเรียนขนาดกลางขึ้นไปที่จะเป็นโรงเรียนอนุบาลคุณภาพ ที่มีจำนวนนักเรียนต่อห้องไม่เกิน 25 คน และเป็นโรงเรียนประถมศึกษาคุณภาพ ที่มีจำนวนนักเรียนต่อห้องไม่เกิน 30 คน

 4ภายใน ปี : จะทำให้เด็กเรียนท่องจำ ในสิ่งที่ควรจำ และนำสิ่งที่จำไปฝึกคิดวิเคราะห์  แก้ปัญหา และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ครบทุกโรงเรียน
 ข้อมูลจาก UNESCO ระบุถึงจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีของนักเรียนไทยในระดับอายุต่างๆ พบว่า ในระดับประถมศึกษา เด็กไทยเรียนมากเป็นอันดับ ของโลกในชั้น ป.4-5 คือ 1,200 ชั่วโมง/ปี ส่วนระดับชั้นอื่นๆ ก็ติดอันดับสูงของโลกเช่นกัน ส่งผลให้นักเรียนไทยมีการบ้านมาก นักเรียนและผู้ปกครองต่างก็มีความเครียด ที่สำคัญการเรียนการสอนยังไม่ได้ส่งเสริมให้นักเรียนคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์มากเท่าที่ควร
จึงเป็นที่มาของโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งเน้นให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกจำนวน 4,100 โรง ได้จัดกิจกรรมที่เน้น 4H คือ Head Heart Hand Health โดยสิ่งสำคัญคือ ปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ให้ชั่วโมงเรียนในห้องเรียนลดลง และชั่วโมงทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเน้นการปรับกระบวนการสอนของครู เพื่อให้เด็กได้ฝึกคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหามากขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงข้อสอบโดยใช้ข้อสอบมาตรฐานกลางในรูปแบบอัตนัยและปรนัยที่เน้นการคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการโครงการมาระยะหนึ่ง จึงได้มีการประเมินเปรียบเทียบผลการสอบ O-NET ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ กับโรงเรียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งผลประเมินทำให้เห็นชัดเจนว่า แม้จะมีเวลาเรียนในห้องเรียนลดลง แต่ผลจากการปรับโครงสร้างและกระบวนการสอนของครู ทำให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีผลทดสอบสูงกว่าทุกรายวิชาในระดับชั้น ป.และ ม.ยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษเท่านั้น ผลจากความสำเร็จของโครงการในปีแรก จึงส่งผลให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็น 15,342 โรงเรียน
สำหรับการประเมินผลการดำเนินงานโครงการนั้น ได้นำ AAR มาใช้ (After Action Review : AAR) ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในวงจรการทำงาน เป็นการทบทวนวิธีการทำงานทั้งด้านความสำเร็จ ข้อค้นพบ และปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำผลจากการประเมินในปีแรก มาดำเนินการในระยะต่อไป

 5ภายใน ปี จะทำให้มีการเรียนการสอน STEM ศึกษา
  (Science Technology Engineering and Mathematics) ครบทุกโรงเรียน
ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดำเนินงาน STEM มากถึง หน่วยงาน คือ
  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 13 ศูนย์ (91 โรงเรียน)
  • สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ 17 โรงเรียน (รับผิดชอบเฉพาะห้องเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง)
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 24 โรงเรียน
  • สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 118 โรงเรียน
  • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินงานเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนทั้งหมด 147 โรงเรียน (ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้)
  • สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 5 โรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ เห็นว่าเพื่อให้การเรียนการสอน STEM ศึกษา สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงมีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ วม 3 คณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะอำนวยการการจัดการเรียนการสอน  พัฒนาหลักสูตร และขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอน โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา  และกำหนดกิจกรรมสะเต็มศึกษา ระดับชั้น ป.1 – ม.6 ดังนี้
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินการ ขณะนี้ได้มีการปรับปรุงคู่มือกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับครูของภาคเรียนที่ 1 (ชั้น ป.1 – ม.6) โดยแยกขั้นตอนการสอนกิจกรรมให้มี 6 ขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีการจัดทำ Artwork ต้นฉบับ กิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียน และต้นฉบับคู่มือกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับครู รวมทั้งนำกิจกรรมสะเต็มศึกษา และคู่มือกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับครู เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.stemedthailand.org ด้วย
ทั้งนี้ ได้กำหนดเป้าหมายโรงเรียนเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนสะเต็มศึกษา ในปี 2559 จำนวน 2,495 โรง และตั้งเป้าขยายให้ครบทุกโรงเรียน ภายในปี 2564
 

 6. ภายใน 3 ปี : ยกระดับภาษาอังกฤษให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้
เมื่อพิจารณาถึงผลการจัดอันดับความรู้ภาษาอังกฤษจาก 10 ประเทศอาเซียน พบว่าร้อยละของประเทศในอาเซียนที่ประชาชนพูดภาษาอังกฤษได้ ลำดับที่ คือ สิงคโปร์ 71% รองลงมา 4 อันดับแรกคือ ฟิลิปปินส์ 55.49% บรูไน ดารุสซาลาม 37.73% มาเลเซีย 27.24% และไทย 10% (6.54 ล้านคน)
ในส่วนของประเทศไทย ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับภาษาอังกฤษให้ประชาชนและู้เรียนทุกระดับสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เริ่มต้นนโยบาย ด้วยการสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษา จากนั้นมีการจัดทำแอพพลิเคชั่น Echo Hybrid, Echo English รวมทั้งการพัฒนาครูภาษาอังกฤษผ่านกระบวนการ Boot Camp และการปรับชั่วโมงเรียนและเน้นการเรียนการสอนเพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจาวัน ตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้
ด้านการพัฒนาครู ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จนั้น ได้มีการพัฒนาครูแกนนำด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ให้มีจำนวนที่เพียงพอ โดยเริ่มต้นพัฒนาครูแกนนำที่มีทักษะ B2 ขึ้นไปจำนวน 350 คน ใช้เวลาอบรมพัฒนาแบบเข้ม สัปดาห์กับครูต่างชาติ จากนั้นจะมีการขยายผลการพัฒนาไปยังครูใน ภูมิภาคทั่วประเทศในปี2560 อันจะส่งผลถึงการพัฒนาไปยังนักเรียนในโรงเรียนที่ครูแกนนำปฏิบัติการสอนจำนวนประมาณ 35,000 คนอีกด้วย
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้จัดทำสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ให้ประชาชนสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรี เพื่อสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ คือ Echo English และ Echo Hybrid ที่มีการนำร่องไปใช้ในปีแรก โรงเรียน และเป้าหมายพัฒนาไปยังโรงเรียนกว่า 10,000 แห่งในปีนี้
สำหรับการพัฒนาในโรงเรียน English Program/Mini English Program (EP/MEP) ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ EP จำนวน 134 แห่ง และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ MEP จำนวน 214 แห่ง ก็จะได้รับการส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในสถานศึกษา โดยมีหลากหลายแนวทาง คือ เปิดทางเลือกการสอนภาษาอังกฤษในวิชาที่ใช้สื่อสาร กิจกรรม สังคม และสามารถสอนวิชาหลัก (วิทย์-คณิต) เป็นภาษาไทยได้ รวมทั้งการเทียบวุฒิ As Level เท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเทียบคะแนน IGCSE วิชาหลักกับผลการสอบ O-NET โดยไม่ต้องสอบซ้ำอีกด้วย

  7. ภายในปี 2560 : ปรับระบบการสอบ O-NET ให้เป็นที่ยอมรับ และสะท้อนถึงคุณภาพของการจัดการศึกษา
จากผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2558 ในระดับชั้น ป.รายวิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เมื่อได้จำแนกตามตามสังกัด พบว่ากลุ่มโรงเรียนสาธิต สกอ. มีผลการสอบทุกรายวิชาสูงกว่าทุกสังกัด ในขณะที่ผลการทดสอบของโรงเรียนเอกชน จะได้คะแนนสูงกว่า สพฐ. ทุกรายวิชาเช่นกัน


จากข้อมูลดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้นำมากำหนดเป็นนโยบายที่ต้องการปรับระบบการสอบ O-NET โดยมีแนวทางที่สำคัญคือ เน้นการอก้อสอบ O-NET ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน, ให้มีการจัดทำ Item Card, การจัดทำ Test Blue Print, ให้ความสำคัญกับกระบวนการคัดเลือกคนออกข้อสอบและผู้ตรวจข้อสอบ, ให้มีการเฉลยข้อสอบและวิเคราะห์ผลสอบ O-NET เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
แนวทางข้างต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบการสอบ O-NET เป็นที่ยอมรับ และสะท้อนถึงคุณภาพของการจัดการศึกษาที่แท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนสนใจการเรียนในห้องเรียน ไม่มุ่งเน้นไปที่การกวดวิชา เพราะข้อสอบี่ออกจะสอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน ที่สำคัญอีกประการคือ ผลการทดสอบ สามารถนำไปใช้วางแผนการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ ให้สูงขึ้นต่อไป

  8. ภายใน 10 ปี : จะผลิตกำลังคน ให้ตรงกับความต้องการของประเทศ
จากข้อมูลของ World Economic Forum ในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน (ด้านการศึกษา) พ.ศ. 2558-2559 (ข้อมูลเปรียบเทียบจาก 140 ประเทศ) พบว่าด้านการศึกษาในหมวดพื้นฐานเปรียบเทียบ 3 ปี (จาก 61 ประเทศ) ของไทย พบว่าตัวชี้วัดที่มีเกณฑ์ต่ำ ประกอบด้วย
  •  ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ
  •  การสอนวิชาวิทยาศาสตร์
  •  การจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัย
  •  การบริการการศึกษาไม่ตอบสนองความจำเป็นของธุรกิจ
นอกจากนี้ มีผลการสำรวจเกี่ยวกับจำนวนบัณฑิตที่ตกงานในปีนี้ จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 109,202 ราย พบว่ามีบัณฑิตที่ยังไม่ได้ทำงานและไม่ได้ศึกษาต่อ จำนวน 25,95 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 23.7 จึงถือเป็นหน้าที่โดยตรงของกระทรวงศึกษาธิการที่จะวางแผนผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดการผลิตบัณฑิตจนล้นตลาด และจบออกมาตกงานจำนวนมาก
ทั้งนี้ ได้วางแผนดำเนินการโดยได้จัดทำฐานข้อมูล Demand/Supply Side ให้มีความทันสมัยภายใน 1ปี โดยมอบให้คณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ เป็นผู้จัดทำโปรแกรม พร้อมประสานให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นผู้สำรวจความต้องการแรงงานจากสถานประกอบการและผู้จ้างงานต่างๆ ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด จากนั้นจะให้สถานศึกษาเปิดหลักสูตรที่เป็นไปตาม Demand Side (Re-Profile มหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษา) ภายใน 10 ปี โดยกำหนดให้งานงบประมาณเป็นตัวขับเคลื่อนในการกำหนดทิศทางดังกล่าว
ขณะเดียวกัน ได้ดำเนินงานขยายโครงการทวิภาคี ทวิศึกษา โครงการสหกิจศึกษา หลักสูตรอาชีพระยะสั้น ในโรงเรียนสามัญและ กศน. เพื่อสนับสนุนการผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและการผลิตของประเทศ ทำให้มีจำนวนผู้เรียนในโครงการต่างๆ ดังกล่าว เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว


นอกจากนั้น ได้ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนตามขีดความสามารถและความสนใจ โดยจัดการแนะแนวผู้ปกครองและนักเรียนได้ตัดสินใจเข้าเรียนด้านอาชีพในโรงเรียน สพฐ. ส่วนภาคประชารัฐโดย กรอ.อศ. และโครงการสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ (E2) ก็ได้มีส่วนสนับสนุนแนวทางการผลิตกำลังคนด้านต่างๆ ไปพร้อมกันด้วย

  9. ผลิตคนดีออกสู่สังคม
กระทรวงศึกษาธิการได้มีแนวทางนโยบายที่จะผลิตผู้เรียนที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีออกสู่สังคม จึงได้กำหนดนโยบายและโครงการต่างๆ เช่น โรงเรียนคุณธรรม, การฟื้นฟูกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีในสถานศึกษา, โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (ด้าน Heart), โครงการธนาคารขยะ, กิจกรรมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของสถานศึกษาทุกสังกัด, โครงการโตไปไม่โกง เป็นต้น

  10. ภายในปี 2560 : ซ่อมบ้านพักครูให้แล้วเสร็จทั้งหมด
กระทรวงศึกษาธิการได้สำรวจบ้านพักครูทั้งหมด พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 44,359 หลัง ในจำนวนนี้อยู่ในสภาพที่ดีไม่ต้องซ่อมจำนวน 27,422 หลัง มีสภาพที่จำเป็นต้องซ่อมแซม จำนวน 12,928 หลัง นายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งทำการซ่อมแซมบ้านพักครูให้แล้วเสร็จทั้งหมดตาม Roadmap ของรัฐบาล ภายในปี2560
 ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดเตรียมงบประมาณสนับสนุนไว้แล้วในปีงบประมาณนี้ โดย สพฐ.ได้ตั้งงบประมาณซ่อมแซมให้เสร็จสิ้นในปี 2560 ไว้แล้ว จำนวน 1,395 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 695 ล้านบาท จะเสนอขอแปรญัตติการใช้จ่ายงบประมาณต่อไป

  11. การแก้ปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ
กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญต่อประเด็นการแก้ปัญหาการทุจริต คือ การป้องกันและมาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตจากการวิ่งเต้นโยกย้าย การใช้ดุลยพินิจการลงโทษ และการตั้งคณะกรรมการสอบสวน
 ขณะนี้มีเรื่องและคดีต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่เป็นจำนวนมาก บางเรื่องใช้เวลานาน 6 ปี ผลการสอบสวนก็ยังไม่แล้วเสร็จ  จึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก รวมทั้งกรณีการแต่งตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงและคณะกรรมการอุทธรณ์ หากเป็นคนเดียวกัน จะทำให้เกิดการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษยืดเยื้อ และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานมาก โดยเฉพาะหลักฐานการอุทธรณ์ ซึ่งต่อไปผู้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการจะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย และการดำเนินการทางวินัยจะต้องไม่เป็นการเกี้ยเซี้ยหรือช่วยเหลือกัน ทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลาง

ที่มา ;  เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

-คลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม