หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุปผลการประชุมคณะระฐมนตรี 14 มิถุนายน 2559

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่




 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

สรุปผลการประชุมคณะระฐมนตรี 14 มิถุนายน 2559

 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 14 มิถุนายน 2559

http://www.thaigov.go.th

                    วันนี้ (14 มิถุนายน  2559) เวลา 10.00 . ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล 
พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
                    ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี                 พร้อมด้วย พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ และ                  พันเอกหญิง ทักษดา สังขจันทร์  ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ได้ร่วมแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
                   
           



กฎหมาย

                    1.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  พ.ศ. ....
                    2.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...
                    3.        เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่                                       ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
4.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงภายใต้พระราชบัญญัติที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวง               เพื่อรองรับการรวมหน่วยงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ในภูมิภาค
                    จำนวน 4 ฉบับ
                    5.        เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาต
                                        ตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..)
                    6.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศและ
                                        การประชุมระหว่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. ....




เศรษฐกิจ – สังคม

                    7.        เรื่อง     ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
                                        ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59  ภายใต้มาตรการที่ 1 การส่งเสริม                                         ความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน
                    8.        เรื่อง     ขออนุมัติหลักการในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการประเมินสมรรถนะบุคคลตาม                                                มาตรฐานอาชีพให้กับผู้เข้ารับการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ                                                 ภายใต้โครงการสร้างโอกาสในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบอาชีพ
                    9.        เรื่อง     การกำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ประเภทงานก่อสร้าง สูตรและวิธีการคำนวณที่ใช้                                    กับสัญญาแบบปรับได้ (ค่า K ) ของการประกวดราคานานาชาติ และกำหนด                                              แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 กรณีการ                                     จ้างเหมาก่อสร้างแบบ Design and Build
                    10.      เรื่อง     โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
                    11.      เรื่อง     แผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2559-2561 ภายใต้แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ                                         ประเทศไทย พ.ศ. 2558-2565
                    12.      เรื่อง     ขอรับการสนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมโครงการบูรณาการการขุดลอก                                          แหล่งน้ำ
                    13.      เรื่อง     มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2559/60                                       ด้านการตลาด




ต่างประเทศ

                    14.      เรื่อง     (ร่าง) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) และ (ร่าง)                                            บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement on Employment) ระหว่าง                               รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
                    15.      เรื่อง     การลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการจัดการ                                กองทุนรวมภูมิภาคเอเชียข้ามพรมแดนภายใต้กรอบเอเปค
                    16.      เรื่อง     รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
                    17.      เรื่อง     การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐ                                               อินเดียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี




แต่งตั้ง

                    18.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวง                                      เกษตรและสหกรณ์)
                    19.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                           ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    20.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                  (กระทรวงยุติธรรม)
                    21.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำลังพลสำรอง
                    22.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต
                    23.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย
          24.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
                    25.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหาร                                  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
                    26.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                    27.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การ                                         มหาชน
                    28.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพ                                                  สถานพยาบาล
                    29.      เรื่อง     การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์เครือรัฐออสเตรเลียประจำจังหวัดเชียงใหม่ และกงสุล                                       กิตติมศักดิ์เครือรัฐออสเตรเลียประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กระทรวงการ                                           ต่างประเทศ)

*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396






กฎหมาย

1.  เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ                      พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.      กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้บังคับกับหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ได้แก่ ราชการส่วนกลาง
ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน  องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง  เว้นแต่ การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง  ที่มีลักษณะเป็นการผลิต  หรือจำหน่าย  หรือบริการเพื่อหารายได้ การดำเนินการจัดหายุทโธปกรณ์และการบริการทางทหารโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล และการดำเนินการโดยใช้เงินกู้และเงินช่วยเหลือที่สัญญาหรือข้อกำหนดในการให้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
2.      กำหนดหลักการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ  กำหนดไว้ 4 ประการ ได้แก่  ความคุ้มค่า
ความโปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  และตรวจสอบได้
3.      กำหนดให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ  โดยอาจจัดให้
ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้างก็ได้ และมีการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามาตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
4.      กำหนดคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไว้ 5 คณะ ได้แก่  คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อ
จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ คณะกรรมการกำกับราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ  คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต  และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์และข้อร้องเรียน และอื่น ๆ
5.      กำหนดให้กรมบัญชีกลางทำหน้าที่เป็นองค์กรสนับสนุนดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร
พัสดุภาครัฐ มีอำนาจหน้าที่ ในการดูแลและพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์  จัดทำฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุ   รวบรวม วิเคราะห์  และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย และจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามหลักวิชาชีพ
6.      กำหนดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนี้
6.1   การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี และให้ประกาศเผยแพร่แผนในระบบเครือข่าย
สารสนเทศของกรมบัญชีกลาง
6.2   วิธีการจัดซื้อจัดจ้างและการจ้างที่ปรึกษา ให้กระทำได้ 3 วิธี ได้แก่ (1) วิธีประกาศเชิญชวน
ทั่วไป (2) วิธีคัดเลือก  (3) วิธีเฉพาะเจาะจง ส่วนวิธีการจ้างออกแบบและควบคุมงาน นอกจากวิธีดังกล่าวข้างต้นให้เพิ่มอีก 1 วิธี คือ  วิธีประกวดแบบ
6.3   การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ กำหนดให้มีเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ โดยให้
พิจารณาคุณภาพประกอบราคาได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ราคาต่ำสุดเสมอไป แต่การจะใช้เกณฑ์ใดและให้น้ำหนักในแต่ละเกณฑ์เท่าใด  ต้องมีการประกาศให้ทราบเป็นการล่วงหน้าในประกาศเชิญชวนให้เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้าง
6.4   การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการก่อสร้างต้องขึ้นทะเบียนไว้กับ
กรมบัญชีกลาง ทั้งนี้  เพื่อให้การพิจารณาจัดชั้นผู้ประกอบการก่อสร้างเป็นมาตรฐานเดียวกัน
6.5   การรวมซื้อรวมจ้าง กำหนดให้หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งแห่งใด อาจดำเนินการจัดซื้อจัด
จ้างพัสดุให้กับหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น ๆ ก็ได้  ภายใต้กรอบข้อตกลงระหว่างหน่วยงานของรัฐ  ผู้จัดซื้อจัดจ้างและคู่สัญญา
6.6   การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง โดย
กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดเผยแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี การจัดทำประกาศเชิญชวน  การกำหนดเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอ  การประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคา  การประกาศยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง  การทำสัญญาและการแก้ไขสัญญา  ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนในการเข้ามาตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้อย่างเต็มรูปแบบ
6.7   กำหนดเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการโดยผลการประเมินให้เป็น
ส่วนหนึ่งของการพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ายื่นข้อเสนอหรือเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จะถูกระงับการยื่นข้อเสนอหรือทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐไว้ชั่วคราว  จนกว่าจะมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
                          6.8 กำหนดให้ผู้ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอเพื่อทำการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับหน่วยงานของรัฐมีสิทธิอุทธรณ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ   กรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  และวิธีการที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ และหากอุทธรณ์ไม่พอใจผลของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล  แต่การฟ้องคดีดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการจัดซื้อจัดจ้างที่ได้มีการลงนามในสัญญาแล้ว
                          6.9 กำหนดบทกำหนดโทษ โดยกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้โดยมิชอบ  เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด  หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้โดยทุจริต  ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำความผิดนั้น และผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวด้วย

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                    ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 โดยแก้ไขขอบเขตของ “หนี้สาธารณะ” ให้ครอบคลุมเฉพาะหนี้ที่กระทรวงการคลังมีอำนาจบริหารจัดการและรับผิดชอบโดยไม่รวมหนี้ของหน่วยงานในภาคการเงิน และ “หนี้เงินกู้ที่เป็นความเสี่ยงทางการคลัง” อันได้แก่หนี้เงินกู้ของหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลภาระความเสี่ยงทางการคลัง ปรับปรุงองค์ประกอบและเพิ่มเติมอำนาจของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนขยายกรอบการลงทุนในประเทศโดยให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศสามารถลงทุนในตราสารหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยได้

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    1. กำหนดให้พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                    2. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มาตรฐานเลขที่ มอก. 956-2557 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4631 (พ.ศ. 2557) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ เฉพาะด้านความปลอดภัย และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่-คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2557

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงภายใต้พระราชบัญญัติที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงเพื่อรองรับการรวมหน่วยงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ในภูมิภาค จำนวน 4 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง จำนวน 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แต่งตั้งนายทะเบียน และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้พาณิชย์จังหวัดและข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไปในสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ซึ่งนายทะเบียนกลางแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนกลาง ปฏิบัติงานทะเบียนของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นทั่วราชอาณาจักร
                    2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการแจ้งการเลิกประกอบธุรกิจ หรือย้ายสำนักงานหรือสถานที่ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนดเป็นสถานที่แจ้งการเลิกประกอบธุรกิจ หรือย้ายสำนักงานหรือสถานที่ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนดเป็นสถานที่แจ้งการเลิกประกอบธุรกิจ หรือย้ายสำนักงานหรือสถานที่ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
                    3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตจัดตั้งหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กำหนดให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนดเป็นสถานที่ยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งหอการค้าที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนดเป็นสถานที่ยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งหอการค้าที่ตั้งในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร 
                    4. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตจัดตั้งสมาคมการค้า               (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  กำหนดให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด เป็นสถานที่ยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งสมาคมการค้าที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนดเป็นสถานที่ยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งสมาคมการค้าที่ตั้งในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร

5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย
                    กห. เสนอว่า
                    1. ปัจจุบันมีความจำเป็นต้องควบคุมเครื่องตรวจมวลสารที่นำไปใช้ในการตรวจหามวลวัตถุระเบิดและสารเคมีที่ใช้ในการประกอบเป็นวัตถุระเบิด เพื่อควบคุมและป้องกันมิให้เครื่องตรวจมวลสารดังกล่าวตกไปอยู่ในความครอบครองของผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งอาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดความน่าเชื่อถือ เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติงาน หรืออาจเป็นอันตรายต่อหน่วยงานที่นำไปใช้ จึงจำเป็นต้องให้เครื่องตรวจมวลสารนั้นเป็นยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์
                    2. นอกจากนี้สารเคมีและสารที่ใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิดบางชนิดที่เป็นยุทธภัณฑ์มีการนำไปใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมมากขึ้น ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้มากขึ้น อันจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม จึงยกเว้นสารผสมที่มีแอนติมอนีซัลไฟด์ (ANTIMONY SULPHIDE) CAS NO. 1345-04-6  เป็นส่วนผสมและไม่มีคุณสมบัติเป็นวัตถุระเบิดและสารเคมีในแก๊ปที่ใช้กับเครื่องยิงตะปูที่มีไนโทรเซลลูโลส หรือไนโทรเซลลูโลสในแอลกอฮอล์ (NITROCELLULOSE OR NITROCELLULOSE WITH ALCOHOL) CAS NO. 9004-70-0 และไนโทรกลีเซอรีน(NITROGLYCERINE) CAS NO. 55-63-0 เป็นส่วนผสมรวมอยู่ไม่เกิน 0.22 กรัมต่อนัดไม่เป็นยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์
                    3. รวมทั้งเพื่อให้ชื่อยุทธภัณฑ์มีความชัดเจนเพียงพอที่บุคคลสามารถเข้าใจได้ จึงได้จัดทำชื่อยุทธภัณฑ์เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษกำกับ
จึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) มาเพื่อดำเนินการ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ดังนี้
                    1. แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 2.1.3.20 และข้อ 2.1.3.21 ดังนี้
ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530
ร่างประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..)
2.1.3.20 เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัด ตรวจจับ เทียบมาตรฐาน วิเคราะห์ ทดสอบ ประกอบ ซ่อมแซม ป้องกัน ทำลาย ค้นหา หรือใช้ประกอบกับสิ่งต่าง ๆ ตาม 2.1.3.1 ถึง 2.1.3.19
2.1.3.20 เครื่องตรวจมวลสารที่นำไปใช้ในการตรวจหามวลสาร วัตถุระเบิดและสารเคมีที่ใช้ในการประกอบเป็นวัตถุระเบิด
2.1.3.21 -
2.1.3.21 เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัด ตรวจจับ เทียบมาตรฐาน วิเคราะห์ ทดสอบ ประกอบ ซ่อมแซม ป้องกัน ทำลาย ค้นหา หรือใช้ประกอบกับสิ่งต่าง ๆ ตาม 2.1.3.1 ถึง 2.1.3.20
                    2. แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 2.3 ในช่องชื่อสารเคมีและช่องหมายเหตุท้ายรายการลำดับที่ 7 ชื่อสารเคมี ANTIMONY SULPHIDE CAS NO. 1345-04-6 ดังนี้

ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530
ร่างประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..)
ชื่อสารเคมี
CAS No.
หมายเหตุ
ชื่อสารเคมี
CAS No.
หมายเหตุ
ANTIMONY SULPHIDE
1345-04-6
-
แอนติมอนีซัลไฟด์ (ANTIMONY SULPHIDE)
1345-04-6
ยกเว้นสารผสมที่มีแอนติมอนีซัลไฟด์ เป็นส่วนผสมและไม่มีคุณสมบัติเป็นวัตถุระเบิด

                    3. แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 2.4 ในช่องชื่อวัตถุระเบิดและช่องหมายเหตุท้ายรายการลำดับที่ 34 ชื่อวัตถุระเบิด NITROCELLULOSE OR NITROCELLULOSE WITH ALCOHOL CAS NO. 9004-70-0 และลำดับที่ 35 ชื่อวัตถุระเบิด NITROGLYCERINE CAS NO. 55-63-0 ดังนี้

ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530
ร่างประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..)
ชื่อสารเคมี
CAS No.
หมายเหตุ
ชื่อสารเคมี
CAS No.
หมายเหตุ
NITROCELLULOSE OR NITROCELLULOSE WITH ALCOHOL
9004-70-0
ยกเว้นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ไม่ใช่วัตถุระเบิด ซึ่งมีไนโทรเซลลูโลสเป็นส่วนผสม
ไนโทรเซลลูโลสหรือไนโทรเซลลูโลสในแอลกอฮอล์(NITROCELLULOSE OR NITROCELLULOSE WITH ALCOHOL)
9004-70-0
ยกเว้นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ไม่ใช่วัตถุระเบิด ซึ่งมีไนโตรเซลลูโลสเป็นส่วนผสม และยกเว้นผลิตภัณฑ์แก๊ปที่ใช้กับเครื่องยิงตะปู ซึ่งมีไนโทรเซลลูโลสและไนโทรกลีเซอรีนเป็นส่วนผสมรวมอยู่ไม่เกิน 0.22 กรัมต่อนัด
NITROGLYCERINE
55-63-0
-
ไนโทรกลีเซอรีน (NITROGLYCERINE)
55-63-0
ยกเว้นผลิตภัณฑ์แก๊ปที่ใช้กับเครื่องยิงตะปู ซึ่งมีไนโทรเซลลูโลสและไนโทรกลีเซอรีนเป็นส่วนผสมรวมอยู่ไม่เกิน 0.22 กรัมต่อนัด


6. เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.      กำหนดให้การให้ความคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศหรือการประชุม
ระหว่างประเทศต้องทำความตกลงเป็นหนังสือ รวมทั้งจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้และให้เท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศหรือการประชุมระหว่างประเทศ โดยคำนึงถึงพันธกรณีของประเทศไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ แนวปฏิบัติระหว่างประเทศและสถานะขององค์การระหว่างประเทศนั้น
2.      กำหนดให้ในการดำเนินการเพื่อทำความตกลงคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่าง
ประเทศหรือการประชุมระหว่างประเทศ หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องหารือ กต. เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองดังกล่าว
3.      กำหนดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเสนอความตกลงคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่าง
ประเทศหรือการประชุมระหว่างประเทศพร้อมทั้งคำแนะนำของ กต. ไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการให้มีผลผูกพันตามความตกลง
4.      กำหนดให้องค์การระหว่างประเทศตามความตกลงที่ได้ทำขึ้นได้รับความคุ้มครองการดำเนินงาน
ทั้งนี้ เท่าที่ระบุในความตกลงนั้น ส่วนหัวหน้าและรองหัวหน้าของสำนักงานขององค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ ซึ่งจะได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ต้องได้รับความเห็นชอบจาก กต. ด้วย
5.      กำหนดให้การประชุมระหว่างประเทศและบุคคลที่เข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศตาม
ความตกลงที่ได้ทำขึ้นได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันในระหว่างการประชุมระหว่างประเทศ  หรือการเข้ามาในประเทศไทยเพื่อปฏิบัติหน้าที่หรือในการปฏิบัติภารกิจหรือการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ เท่าที่ระบุในความตกลงนั้น
6.      กำหนดขอบเขตของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันขององค์การระหว่างประเทศและบุคลากรของ
องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล องค์การระหว่างประเทศระดับกึ่งรัฐบาลและองค์การเอกชนระหว่างประเทศ โดยจะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ เช่น การยกเว้นข้อจำกัดเกี่ยวกับการเข้าเมืองและการจดทะเบียนคนต่างด้าว  ข้อกำกัดด้านการเงินและการแลกเปลี่ยนเงินตรา การยกเว้นภาษีทางตรง  อากรศุลกากรและข้อห้ามข้อจำกัดว่าด้วยการนำเข้าและส่งออกสิ่งของบางประเภท  รวมทั้งกำหนดให้บุคคลอื่นซึ่งปฎิบัติภารกิจเพื่อองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล  จะได้รับความคุ้มกันจากการดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับถ้อยคำด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรและการกระทำทั้งปวงที่ได้กระทำในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทำโดยสุจริต
7.      กำหนดขอบเขตของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของการประชุมระหว่างประเทศผู้แทนของรัฐหรือ
รัฐบาล เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ ผู้เข้าร่วมการประชุม หรือบุคคลอื่น ซึ่งปฎิบัติภารกิจเพื่อการประชุมระหว่างประเทศ  จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันในระหว่างการประชุมในประเทศไทย   หรือเข้ามาในประเทศไทยเพื่อปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเกี่ยวกับการประชุมนั้นไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้  เช่น การยกเว้นอากรศุลกากรและข้อห้ามข้อจำกัดว่าด้วยการนำเข้าและส่งออกสิ่งของบางประเภท  และความคุ้มกันจากการดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับถ้อยคำด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรและการกระทำทั้งปวงที่ได้กระทำในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทำโดยสุจริต







เศรษฐกิจ – สังคม

7. เรื่อง  ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59  ภายใต้มาตรการที่ 1 การส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายเวลาดำเนินโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 2558/59 ภายใต้มาตรการที่ 1 การส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน กิจกรรมสร้างรายได้จากปศุสัตว์และประมงในฤดูแล้ง จากสิ้นสุดโครงการภายในวันที่ 30 เมษายน 2559 เป็นสิ้นสุดโครงการภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. เนื่องจากการดำเนินการกิจกรรมสร้างรายได้จากปศุสัตว์และประมงในฤดูแล้ง ใน 22 จังหวัด ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ต้องจัดหาปัจจัยการผลิตเพื่อมอบแก่เกษตรกรที่ผลิตพันธุ์สัตว์ปีกและพันธุ์สัตว์น้ำซึ่งผู้ผลิตจะต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตและส่งมอบตามสัญญาจ้าง ประกอบกับการจัดซื้อจัดจ้างตามกิจกรรมดังกล่าวเป็นอุปสงค์เร่งด่วน จึงส่งผลให้ไม่สามารถผลิตอุปทานได้ทันอย่างที่ควรจะเป็น อีกทั้ง การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างจังหวัดสุโขทัยไม่มีผู้ยื่นซองประมูลในการเปิดประมูลในครั้งแรกจึงมีผลกระทบต่อเนื่องให้ไม่สามารถส่งมอบปัจจัยการผลิตและการเบิกจ่ายงบประมาณได้ทันตามเวลาที่กำหนด
                    2. ณ วันที่ 30 เมษายน 2559 มีจังหวัดที่ไม่สามารถส่งมอบปัจจัยการผลิตได้ทันเวลารวม 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดนครปฐม จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชัยนาท และจังหวัดอุตรดิตถ์ คิดเป็นเกษตรกร จำนวน 46,008 ราย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 2558/59 ภายใต้มาตรการที่ 1 การส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน กิจกรรมสร้างรายได้จากปศุสัตว์และประมงในฤดูแล้ง สามารถส่งมอบปัจจัยการผลิตและเบิกจ่ายงบประมาณได้ จึงจำเป็นต้องขออนุมัติขยายเวลาดำเนินโครงการจากสิ้นสุดโครงการภายในวันที่ 30 เมษายน 2559 เป็นสิ้นสุดโครงการภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินให้ภายในวันที่ 30 กันยายน 2559 แล้ว

8.  เรื่อง ขออนุมัติหลักการในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพให้กับผู้เข้ารับการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพภายใต้โครงการสร้างโอกาสในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบอาชีพ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการในการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ให้กับผู้เข้ารับการประเมินสมรรถนะใน 53 สาขาวิชาชีพ ได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อสร้างรายได้และความก้าวหน้าในอาชีพ ในระยะ 5 ปีแรก ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 – 2563 ประมาณ 310,000 คน ภายใต้โครงการสร้างโอกาสในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบอาชีพ โดย สคช. ใช้เงินสะสมเหลือจ่ายสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้กับผู้เข้ารับการประเมินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จำนวน 15,000 คน 37,500,000 บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.)
                    2. อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานวิชาชีพ จำนวน 2,500 บาทต่อ 1 คน ต่อ 1 อาชีพ ต่อ 1 ระดับชั้น สำหรับผู้เข้ารับการประเมินสมรรถนะบุคคลมาตรฐานอาชีพโดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ และบุคลากรในอาชีพที่มีรายได้น้อย ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2563 ประมาณ 295,000 คน
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สคช. รายงานว่า
                    1. สคช. เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่พัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพให้สอดคล้องกับทิศทางความต้องการทางเศรษฐกิจตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ สนับสนุนให้คนในอาชีพจัดทำมาตรฐานอาชีพและให้การรับรององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพเพื่อประเมินสมรรถนะบุคคลในการให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพ เป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานวิชาชีพ พัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบอาชีพของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล พัฒนาบุคลากรในอาชีพให้มีสรรถนะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการและมีใบรับรองคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อยืนยันสมรรถนะของบุคลากรในอาชีพ อันเป็นการสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ
                    2. เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบ Super Cluster  และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สคช. จึงได้สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สมาคม/สมาพันธ์ และองค์การภาคเอกชนต่าง ๆ โดยการให้การรับรองเพื่อให้มีองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพกระจายทั่วประเทศ ทำหน้าที่รับสมัครและจัดให้มีการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพในแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อให้มาตรฐานอาชีพที่ได้จัดทำขึ้นถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพและการนำไปสู่การเทียบโอนคุณวุฒิการศึกษา โดยการให้ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพและหนังสือรับรองมาตรฐานอาชีพแก่ผู้ประกอบอาชีพที่ผ่านการประเมินสมรรถนะ
                    3. ในการประเมินสมรรถนะบุคคลแต่ละครั้ง จะมีค่าธรรมเนียมในการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพประมาณ 2,500 บาท ต่อคนต่ออาชีพสำหรับการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สคช. ได้จัดทำโครงการสร้างโอกาสในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบอาชีพ เพื่อสนับสนุนค่าธรรมเนียมในการประเมินสมรรถนะฯ ให้กับผู้ประกอบอาชีพและนักเรียนนักศึกษาที่สมัครเข้ารับการประเมินสมรรถนะกับองค์กรรับรองฯ เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดระบบคุณวุฒิวิชาชีพขึ้นในประเทศไทยรองรับการแข่งขันกับนานาประเทศเมื่อเข้าสู่ AEC
                    4. สคช. ได้ร่วมมือกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งประเทศไทยในการเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิวิชาชีพกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และได้ร่วมพัฒนากรอบคุณวุฒิเทียบเคียงอาเซียน (AQRF) กับอีก 9 ประเทศในอาเซียน อีกทั้งยังร่วมกับกลุ่มอาชีพต่าง ๆ สนับสนุนการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อรับรองสมรรถนะของบุคลากรในอาชีพทั้งสิ้น 72 สาชาวิชาชีพ ขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 46 สาชาวิชาชีพ 500 กว่าอาชีพ โดยให้ความสำคัญกับสาขาวิชาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ และมีแผนจะทำจนครบทั้ง 72 สาขาวิชาชีพในปี 2559 – 2562 รวมทั้งได้ให้การรับรององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพกระจายทั่วประเทศ โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน สคช. ร่วมกับองค์กรรับรองฯ จัดให้มีการประเมินสมรรถนะแล้ว 14,980 คน ใน 16 สาขาอาชีพ ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์โลจิสติกส์ โรงแรมและการท่องเที่ยวแมคคาทรอนิกส์ เป็นต้น
                    5. สคช. ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอชน และภาคประชาสังคม เพื่อการยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา (Competitive Workforce)ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับภาคเอกชน (คณะกรรมการสานพลังประชารัฐ ชุดที่ 4) โดยได้ร่วมเป็นหัวหน้าคณะทำงาน “Standard and Certification”ภายใต้คณะกรรมการสานพลังประชารัฐ ชุดที่ 4 ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต (Competitive Workforce) โดยเฉพาะในระดับอาชีวศึกษาซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมและการพัฒนากำลังคนของภาคอุตสาหกรรม บริการและภาคการเกษตร และภาคการศึกษา เป็นนโยบายสำคัญของชาติที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ เพื่อรองรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบ Super Cluster ทั้งนี้ สคช. ได้จัดทำกรอบแผนพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพ 10 ปี (2559 - 2569)ดำเนินการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบคุณวุฒวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพอย่างเป็นระบบ เป็นไปตามเป้าหมาย นำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสอดคล้องกับทิศทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม Super Cluster  ทั้งในส่วนของ Frist S Curve และ New S Curve สามารถรองรับการสร้างความก้าวหน้าให้กับประเทศภายใต้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9. เรื่อง  การกำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ประเภทงานก่อสร้าง สูตรและวิธีการคำนวณที่ใช้กับสัญญาแบบปรับได้ (ค่า K ) ของการประกวดราคานานาชาติ และกำหนดแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 กรณีการจ้างเหมาก่อสร้างแบบ Design and Build
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ประเภทงานก่อสร้าง สูตรและวิธีการคำนวณที่ใช้กับสัญญาแบบปรับได้ (ค่า K ) ของการประกวดราคานานาชาติ และกำหนดแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 กรณีการจ้างเหมาก่อสร้างแบบ Design and Build ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
                    สาระสำคัญของเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ประเภทงานก่อสร้าง สูตรและวิธีการคำนวณที่ใช้กับสัญญาแบบปรับได้ (ค่า K ) ของการประกวดราคานานาชาติ และแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 กรณีการจ้างเหมาก่อสร้างแบบ Design and Build มีดังนี้
1.      การใช้ดัชนีราคาฐานคำนวณค่า K ให้ใช้ 28 วัน  ก่อนวันยื่นซองประกวดราคา (แทนการ
คำนวณใช้ดัชนีเดือนเปิดซองประกวดราคา) เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ มีวงเงินค่าจ้างสูงมีความซับซ้อนต้องใช้เทคโนโลยีในการก่อสร้างจากประสบการณ์ของผู้รับจ้าง  และผู้รับจ้างต้องใช้ระยะเวลาในการจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลในการเสนอราคา ซึ่งเป็นการรับซองประกวดราคา 3 ซอง คือ ซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค  และซองราคา ซึ่งกว่าจะเปิดซองราคาต้องใช้ระยะเวลามาก  และมิได้ก่อให้เกิดข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบแต่อย่างใด   เพราะทั้ง 2 ฝายรับความเสี่ยงและความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากัน ทั้งนี้ กรณีงานเพิ่มเติมหากมีการตกลงราคาใหม่โดยราคาต่อหน่วยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  ให้ใช้วันที่ตกลงราคาใหม่ แทนการใช้ 28 วัน ก่อนวันยื่นซองประกวดราคา
2.      การขอเงินชดเชยค่างานก่อสร้างเพิ่มให้นับ 90 วัน ตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างออกหนังสือรับรองผลงาน
แล้วเสร็จ (Certificate of Completion) ของงานงวดสุดท้าย  (แทนการนับ 90 วัน ตั้งแต่วันที่ส่งมอบงานงวดสุดท้าย) เนื่องจากเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่  การส่งมอบงานงวดสุดท้ายจะมีงานบางส่วนเหลือเล็กน้อย  ซึ่งผู้รับจ้างต้องดำเนินการให้เรียบร้อยจึงจะตรวจรับและออกหนังสือรับรอง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจรับงาน และจะเป็นประโยชน์กับทางราชการเพื่อให้มีการตรวจสอบงานได้สมบูรณ์ครบถ้วนโดยไม่ต้องรีบจ่ายเงินค่างานก่อสร้าง
                    3. การจัดจ้างงานออกแบบพร้อมก่อสร้าง (Design and Build) เช่น งานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้า           ใต้ดิน  งานระบบรางรถไฟฟ้า เป็นต้น และการจ้างเหมาก่อสร้างแบบ Tuenkey  เป็นงานจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ             มีรูปแบบและขอบเขตการดำเนินงานครอบคลุมการสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยผู้รับจ้างรายเดียว  ผู้รับจ้างเสนอราคาเป็นราคาเหมารวมไม่มีรายละเอียดบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (Bill of  Quantities : B.O.Q.)  มีการบวกราคาเผื่อความเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งเผื่อการผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงานที่เกิดขึ้นในอนาคตไว้แล้ว  ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการแนวคิดของการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้ที่มีวัตถุประสงค์ในการลดความเสี่ยงของผู้รับจ้างจากความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง และป้องกันมิให้ผู้รับจ้างบวกราคาเผื่อการเปลี่ยนแปลงวัสดุไว้ล่วงหน้า จึงไม่สมควรนำเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ประเภทงานก่อสร้าง สูตรและวิธีการคำนวณที่ใช้กับสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 มาใช้

10.  เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของโครงการการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ   มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของการจัดสวัสดิการสังคมและการให้เงินช่วยเหลือของภาครัฐ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาควมยากจน ในสังคมไทยและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

รายการ
สาระสำคัญ
1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงทะเบียนรัฐสวัสดิการ
- ว่างงานหรือมีรายได้ทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นในแต่ละปีปฏิทินไม่เกิน 100,000 บาท และเป็นรูปแบบสมัครใจ (Voluntary Basis) โดยผู้ลงทะเบียนจะต้องยินยอมเปิดเผยรายได้ การถือครองทรัพย์สินของตน เจ้าหนี้และจำนวนหนี้สินที่คงค้าง เป็นต้น
- มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีสัญชาติไทย
2. กลไกการดำเนินการ
- ลงทะเบียน ณ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ระว่างวันที่ 15 กรกฎาคม ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2559 สำหรับปีต่อ ๆ ไป ให้ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 1 – 30 กันยายนของแต่ละปี
- สถาบันการเงินดังกล่าวจะจัดเก็บเอกาสารแล้วส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกรมสรรพากรเพื่อจัดเก็บข้อมูลและทำการตรวจสอบความถูกต้องในภายหลัง (Post Audit)
- กรมสรรพากรเชื่อมโยงข้อมูลไปยังฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อประมวลข้อมูลผู้มีรายได้น้อย นำไปบูรณาการข้อมูลสวัสดิการสังคม แล้วนำไปใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมภายใต้โครงการ e-Payment ภาครัฐในระยะต่อไป
3. ผลกระทบ
- ช่วยทำให้รัฐบาลมีฐานข้อมูลของผู้มีรายได้น้อย โดยทราบข้อมูลและสามารถนำไปกำหนดนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา
- ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

11. เรื่อง แผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2559-2561 ภายใต้แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย                พ.ศ. 2558-2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ. 2558-2565 ระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ 2559-2561) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการฯ ไปเป็นกรอบในการจัดทำคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ 2561
                    สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2559-2561 มีดังนี้
1.      แผนงานทันตสุขภาพฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
กลุ่มเป้าหมายรองได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 40-59 ปี มีเป้าหมายเมื่อสิ้นสุด ปี 2565 ดังนี้ (1) ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดี และมีฟันใช้งานได้อย่างเหมาะสม (2) มีนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุอย่างน้อย 5 ใน 7 ประเด็น (เช่น ฟันผุ แผล / มะเร็งช่องปาก สภาวะน้ำลายแห้ง ฟันสึก  โรปริทันต์ เป็นต้น) โดยมี 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2558-2561 ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ  2562-2565
2.      ประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติการ ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 1) การพัฒนารูปแบบบริการ
ระบบบริการและคุณภาพบริการด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ  2) การศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 3) การพัฒนาบุคลากรและหลักสูตรด้านทันตกรรมผู้สูงอายุ   4) การบริหารจัดการการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่ดี
                    ทั้งนี้  ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมการรองรับโดยนำแผนงานทันตสุขภาพฯ ไปใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนปฎิบัติการประจำปีและคำของบประมาณของแต่ละส่วนราชการรายปี สำหรับปีงบประมาณ 2559  ให้ปรับงบประมาณสนับสนุนแผนงานทันตสุขภาพฯ   จากงบประมาณปกติที่ได้รับการจัดสรร และแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานตามที่เห็นสมควรเพื่อการนำนโยบายตามแผนงานทันตสุขภาพ ฯ สู่การปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้  จะต้องมีการติดตาม กำกับ และรายงานผลการดำเนินการเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ สำหรับระยะที่ 2 มอบให้คณะกรรมการบริหารแผนงานทันตสุขภาพฯ  กำหนดแผนปฏิบัติงาน เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับให้ชัดเจน  หลักจากการติดตามประเมินผล  รายงาน  และปรับแผนการดำเนินงานในระยะที่ 1 แล้ว

12. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมโครงการบูรณาการการขุดลอกแหล่งน้ำ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2559 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,370,787,100 บาท ให้กองบัญชาการกองทัพไทยและกองทักบก เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมโครงการบูรณาการการขุดลอกแหล่งน้ำ ตามนโยบายของรัฐบาลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี  วันที่ 9 มิถุนายน 2559 ตามที่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ   รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงกลาโหม (กห.) รายงานว่า การดำเนินโครงการบูรณาการการขุดลอกแหล่งน้ำ เป็นการดำเนินการในการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฟดูฝน  รวมทั้งยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในการอุปโภค  บริโภค  และการเกษตรสำหรับช่วงปลายฤดูฝน ซึ่ง  กห. ได้ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเร่งดำเนินการตามโครงการดังกล่าวแล้ว  แต่เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของกองบัญชาการกองทัพไทย และกองทัพบกมีจำนวนจำกัด  ประกอบกับมีแผนงาน / โครงการรองรับไว้ครบถ้วนแล้ว  จึงไม่สามารถปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณมาดำเนินการเพื่อการนี้ได้ ดังนั้น เพื่อให้ กห. โดยกองบัญชาการกองทัพไทยและกองทัพบกมีงบประมาณรองรับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการบูรณาการการขุลอกแหล่งน้ำ จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติหลักการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงงประมาณ พ.ศ. 2559 เพิ่มเติม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวต่อไป

13. เรื่อง มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2559/60 ด้านการตลาด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติวงเงินงบประมาณที่ใช้ดำเนินโครงการตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวปีการผลิต 2559/60 ด้านการตลาด จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
                    1. โครงการที่ดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (2) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก และ (3) โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยให้    ธ.ก.ส. ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
                    2. โครงการที่ดำเนินการโดยกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 1 โครงการ (โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก)
                    สาระสำคัญของโครงการต่าง ๆ มีดังนี้
                    1. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร มีเป้าหมาย สนับสนุนสินเชื่อแก่ สถาบันเกษตรกร ซึ่งประกอบด้วย สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชนเพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูปประมาณ 2.5 ล้านตัน
                    2. โครงการสินเชื่อเกษตรกรเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก มีเป้าหมาย ให้สินเชื่อแก่เกษตรเพื่อชะลอการจำหน่ายผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก
                    3. โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรผู้ปลูกข้าว มีเป้าหมาย เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2559/60 จำนวนเกษตรประมาณ 1.2 ล้านราย
                    4. โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกของ พณ. มีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เพื่อดูดซับผลผลิต            ในกรอบปริมาณ 8 ล้านตัน เป็นระยะเวลา 2 – 6 เดือน โดยพิจารณาจากวงเงินกู้ในการเก็บสต็อกของผู้ประกอบการในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผลผลิตใกล้เคียงกัน




ต่างประเทศ

14.  เรื่อง (ร่าง) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) และ (ร่าง) บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement on Employment) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อ (ร่าง) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) และ (ร่าง) บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement on Employment) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
                    2. อนุมัติให้ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการ            ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) และบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน(Agreement on Employment) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมา
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้พลเอก    ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้ลงนามในเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าว
                    4. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขในเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ รง.ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน มีกรอบสาระสำคัญซึ่งจะครอบคลุมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสองประเทศในด้านแรงงาน ได้แก่ (1) ความร่วมมือทางวิชาการ (2) ความร่วมมือด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน (3) ความร่วมมือด้านการจ้างงานระหว่างสองประเทศ (4) ความร่วมมือด้านวิชาการอื่น ๆ ที่คู่เจรจามีความสนใจ และในการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ คู่ภาคีตกลงกันว่าจะจัดทำ “บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน” เพื่อกำหนดรายละเอียดของกระบวนการรับและส่งคนงาน ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือด้านแรงงานและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ รวมทั้งการจัดตั้งกรอบการทำงานที่ชัดเจนเพื่ออำนวยความสะดวกของทั้งสองฝ่าย โดยจะมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ได้ลงนามโดยคู่ภาคีเป็นระยะเวลา 4 ปี
                    ทั้งนี้ ให้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงงาน ค.ศ.2003 เป็นอันสิ้นสุด เมื่อบันทึกความเข้าใจฉบับที่เสนอในครั้งนี้มีผลบังคับใช้
                    2. ร่างบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน มีสาระสำคัญ เป็นการดำเนินการตามที่กำหนดในบันทึกความเข้าใจที่ให้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้น  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและขยายความร่วมมือระหว่างคู่ภาตีในการจัดทำกรอบการดำเนินการ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจ้างแรงงานในเขตแดนของคู่ภาคีอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคู่ภาคีจะดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการตามกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการจ้างงานมีกระบวนการส่งกลับแรงงานที่ครบกำหนดระยะเวลาการจ้างงานตามเงื่อนไข กลับประเทศต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพและแรงงานได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศภาคี ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และเพื่ออำนวยความสะดวกในการจ้างแรงงานให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส คำนึงถึงสิทธิของแรงงาน และขจัดปัญหาการจ้างงานผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน โดยจะมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ได้ลงนามโดยคู่ภาคี เป็นระยะเวลา 2 ปี
15. เรื่อง การลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการจัดการกองทุนรวมภูมิภาคเอเชียข้ามพรมแดนภายใต้กรอบเอเปค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการจัดการกองทุนรวมภูมิภาคเอเชียข้ามพรมแดนภายใต้กรอบเอเปค(Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport: MOC)
                    2. มอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในร่าง MOC และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญ ให้ผู้ลงนามสามารถใช้ดุลพินิจในเรื่องนั้น ๆ ได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

                    สาระสำคัญของ MOC สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ
สาระสำคัญ
1. วัตถุประสงค์
- จัดตั้งข้อกำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมระหว่างเขตเศรษฐกิจที่ร่วมลงนาม (passport)
2. กลไกดำเนินการ
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของทุกเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วม MOC เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติใช้ Passport ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ MOC
- หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของ Host economy ยังคงมีอำนาจระงับการเสนอขายกองทุนรวมได้ในกรณีที่ (1) กองทุนรวมไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพิ่มเติมที่ระบุไว้ได้ หรือ (2) หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของ Host economy เห็นว่า มีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างกองทุนรวมที่จัดตั้งภายใต้กฎหมายของ Home economy และกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของ Host economy เพื่อนำไปขายใน Home economy
3. การแก้ไขข้อขัดแย้ง
- สมาชิกหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างฉันมิตร พร้อมทั้งประสานกับคณะกรรมการร่วมเพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาดังกล่าว
4. การสมัครเข้าเป็นสมาชิกและการถอนตัวจากการเป็นสมาชิก
- ผู้ที่จะสมัครเป็นสมาชิกจะต้องเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลกองทุนรวมของเขตเศรษฐกิจ โดยผู้ที่ลงนาม MOC ก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2559 จะเป็นผู้เข้าร่วมกลุ่มแรก และหลังจากนั้นจะเปิดให้ผู้ที่สนใจสมัครเป็นสมาชิกเพิ่มเติม
- ผู้เข้าร่วมอาจถอนตัวจาก MOC โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานคณะกรรมการร่วมและผู้เข้าร่วมอื่นทุกรายอย่างน้อย 28 วัน หรือในระยะเวลาที่สั้นกว่าตามที่กำหนด
5. ผลผูกพันทางกฎหมาย
- ไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีผูกพันทางกฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงหรือเข้าแทนที่กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ของเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมลงนาม
6. วันเริ่มมีผลใช้บังคับ
- 30 มิถุนายน 2559

16. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย พร้อมทั้งบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ฉบับลงนาม เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศดังกล่าว
                    3. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ และบันทึกความเข้าใจดังกล่าวต่อไป โดยให้ กต. สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย-ออสเตรเลีย และบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ที่ คค. เสนอในครั้งนี้ ลงนามเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ได้ตกลงกันในรายละเอียดต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
                    1. ร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศฉบับใหม่ จะใช้แทนความตกลงฯ ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2503 โดยมีการระบุข้อบทต่าง ๆ ดังนี้

ข้อบท
รายละเอียด
1. การกำหนดสายการบิน การอนุญาต และการเพิกถอน
- แยกหลักการของการกำหนดสายการบินของทั้งสองฝ่ายออกจากกัน และนำข้อบทว่าด้วยการเพิกถอนมารวมไว้ในข้อนี้ด้วย
2. การให้สิทธิ
- กำหนดประเภทสิทธิต่าง ๆ ให้ชัดเจน ทั้งนี้ จะใช้บังคับเฉพาะการบินแบบประจำ
3. ความปลอดภัยการบินและการรักษาความปลอดภัยการบิน
- เพิ่มข้อบทเรื่องความปลอดภัยการบินและการรักษาความปลอดภัยการบินไว้ในความตกลงฯ โดยเนื้อหาของข้อบทดังกล่าวเป็นไปตามคำแนะนำขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) อีกทั้งมีการระบุสิทธิการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยการบินให้สอดคล้องกับกฎหมายออสเตรเลียและไทยด้วย
4. อากร ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
- ให้การยกเว้นข้อจำกัดการนำเข้าในขอบเขตอย่างเต็มที่ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ภายใต้กฎหมายของชาติตนเท่านั้น
5. พิกัดอัตราค่าขนส่ง
- กำหนดพิกัดอัตราค่าขนส่งของตนเองได้ และไม่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่การเดินอากาศของฝ่ายใดทราบ เว้นแต่มีกฎหมายหรือข้อบังคับภายในระบุให้แจ้ง
6. การอนุญาตใช้กำหนดการบิน
- เพิ่มข้อความ “สายการบินที่กำหนดของภาคีผู้ทำความตกลงแต่ละฝ่ายจะต้องยื่นกำหนดการบินที่คาดการณ์ของตนไปยังเจ้าหน้าที่การเดินอากาศของภาคีผู้ทำความตกลงอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อการอนุญาต ภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยกฎหมายหรือข้อบังคับภายในประเทศของภาคีผู้ทำความตกลงแต่ละฝ่าย ...
7. ภาคผนวกใบพิกัดเส้นทางบิน
- ระบุเส้นทางบินเป็นแบบเปิดเพื่อความยืดหยุ่นในการดำเนินบริการของสายการบินไทย จุดใด ๆ ในไทย-จุดระหว่างทางใด ๆ –จุดใด ๆ ในออสเตรเลีย-จุดพ้นใด ๆ ออสเตรเลีย จุดใด ๆ ในออสเตรเลีย-จุดระหว่างทางใด ๆ –จุดใด ๆ ในไทย-จุดพ้นใด ๆ
         
                    2. บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-ออสเตรเลีย มีการปรับปรุงสิทธิการบิน ดังนี้

ประเด็น
รายละเอียด
1. ความจุความถี่
- เปลี่ยนแปลงสิทธิความจุความถี่จากระบบเดิมที่ระบุเป็น “สัมประสิทธิ์เทียบหน่วยความจุ” ของอากาศยาน มาเป็น “ความจุ”
- จำนวนสิทธิความจุ ดังนี้
   1) สายการบินที่กำหนดของไทย การบริการไปยัง/มาจากซิดนีย์ เมลเบิร์น (รวมถึงอวาลอน) บริสเบน และเพิร์ท จำนวนรวมไม่เกิน 20,000 ที่นั่งต่อสัปดาห์ และท่าอากาศยานอื่น ๆ ในออสเตรเลียจะไม่จำกัดจำนวนความจุความถี่และแบบของอากาศยาน

   2) สายการบินที่กำหนดของออสเตรเลีย การบริการไปยัง/มาจากกรุงเทพฯ ภูเก็ต อู่ตะเภา และเชียงราย จำนวนรวมไม่เกิน 20,000 ที่นั่งต่อสัปดาห์ และท่าอากาศยานระหว่างประเทศอื่น ๆ ในไทยไม่จำกัดจำนวนความจุความถี่และแบบของอากาศยาน
2) สิทธิรับขนการจราจร
- ออสเตรเลียและไทยสามารถใช้สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 4 และ 5 ได้อย่างเต็มที่ในแต่ละทิศทางได้ทุกจุด รวมถึงจุดระหว่างทางและจุดพ้น
ยกเว้น
1) สายการบินที่กำหนดของออสเตรเลียจะไม่ใช้สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ในแต่ละทิศทางกับจุดใด ๆ ในจีน รวมถึงจุดระหว่างทางและจุดพ้นต่าง ๆ (ยกเว้นฮ่องกง)
2) สายการบินที่กำหนดของไทยจะไม่ใช้สิทธิรับขนการจราจรในแต่ละทิศทางกับจุดใด ๆ ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงจุดระหว่างทางและจุดพ้น
- นอกจากนี้ สำหรับการทำการบินเที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้าตามเส้นทางบินที่ระบุของตน สายการบินที่กำหนดของออสเตรเลียและไทยสามารถใช้สิทธิโดยไม่มีข้อจำกัดด้านความจุ/ความถี่ และแบบอากาศยาน
3. เรื่องอื่น ๆ
- ระบุให้บันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อได้แลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตระหว่างกันแล้ว

17. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
1.      เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการ
ของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองร่างเอกสารดังกล่าวระหว่างการเยือนในวันที่ 17 มิถุนายน 2559
2.      หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็น
ทางการของนายกรัฐมนตรี ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต.
ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
1.      นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเยือนสาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่  16  –  18
มิถุนายน 2559 ตามคำเชิญของนายนเรนทร โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคี
ระหว่างไทยกับอินเดียในด้านต่าง ๆ โดยที่การเยือนดังกล่าวจะมีการรับรองแถลงการณ์ร่วมในโอกาสการเยือน
สาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี (Joint Statement by India and Thailand on the State Visit of Prime Minister of Thailand General Prayut Chan-o-cha to India) ในวันที่ 17 มิถุนายน 2559
2.      แถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญเพื่อส่งเสริมและติดตามความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินเดีย ใน
ด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ความเชื่อมโยง ความมั่นคงและกลาโหม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วัฒนธรรม การศึกษา และการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชน ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและในระดับ
พหุภาคี
3.      การรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ร่วมฯ จะแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองและความ
พร้อมของไทยที่จะดำเนินความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินเดีย เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ความร่วมมือด้าน
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และสาขาความร่วมมืออื่น ๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจและความสัมพันธ์
อันดีระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมทั้งจะเป็นการตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ที่
ใกล้ชิดระหว่างไทยกับอินเดีย และจะมีผลในการช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป





แต่งตั้ง

18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายสัญชัย เกตุวรชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านวางแผนและโครงการ) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางศิริพร เหลืองนวล                   รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการคลัง (นักวิชาการคลังทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง นายปฏิคม วงษ์สุวรรณ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

21. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำลังพลสำรอง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำลังพลสำรอง (คกส.) จำนวน 5 คน ตามพระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ. 2558 ดังนี้ 1. พลเอก ธนดล เผ่าจินดา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2. นายพรชาต บุนนาค กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3. พลเอก อภิชัย ทรงศิลป์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4. นายประพันธ์ ปุษยไพบูลย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5. พลเอก วิเชียร มัญญะหงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2559 เป็นต้นไป

22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตเนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งจะครบวาระสองปี ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ดังนี้ 1. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (1) นางสุดา วิศรุตพิชญ์ (2) นายลวรณ แสงสนิท                  2. ด้านการเงินการธนาคาร นางสาวอาริศรา  ธรมธัช 3. ด้านคอมพิวเตอร์ นายเกียรติณรงค์ วงศ์น้อย 4. ผู้แทนผู้ประกอบการด้านธุรกิจภาคเอกชน นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป

23. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายกรณินทร์  กาญจโนมัย ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพิ่มเติม ตามมาตรา 24 วรรคสาม             แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2559 เป็นต้นไป

24.  เรื่อง การแต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอการแต่งตั้งนายกรศิษฏ์  ภัคโชตานนท์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าการ กฟผ.) ตามมติคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 6/2559 (วาระพิเศษ) เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 ส่วนค่าตอบแทนและ                 สิทธิประโยชน์อื่น รวมทั้งเงื่อนไขการจ้างและการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ และให้นายกรศิษฏ์  ภัคโชตานนท์ ลาออกจากการเป็นพนักงานก่อนลงนามในสัญญาจ้างด้วย

25. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ จำนวน 6 คน เนื่องจากกรรมการเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 ดังนี้ 1. นายศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานกรรมการ 2. นายอมเรศ ภูมิรัตน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านชีววิทยาศาสตร์ 3. นายประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านชีววิทยาศาสตร์ 4. นายเกียรติ รักษ์รุ่งธรรม  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านชีววิทยาศาสตร์               5. นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจการลงทุน 6. นายภักดี โพธิศิริ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2559 เป็นต้นไป

26. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จำนวน 10 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบกำหนดวาระสี่ปีแล้ว เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2558 ตามที่คณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.พ.ร. ได้สรรหาจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 71/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ดังนี้ 1. ด้านการเงินการคลัง หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล 2. ด้านเศรษฐศาสตร์ (1) รองศาสตราจารย์วรากรณ์         สามโกเศศ (2) นายอำพน กิตติอำพน 3. ด้านรัฐศาสตร์ นายจเด็จ อินสว่าง 4. ด้านนิติศาสตร์ (1) คุณพรทิพย์              จาละ (2) ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ 5. ด้านบริหารรัฐกิจ นายปรีชา วัชราภัย 6. ด้านบริหารธุรกิจ  นายเทวินทร์ วงศ์วานิช 7. ด้านจิตวิทยาองค์การ นายปิติ ตัณฑเกษม 8.ด้านสังคมวิทยา นางจุรี วิจิตรวาทการ   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2559 เป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) จำนวน 5 คน ดังนี้ 1. นายสมชัย สัจจพงษ์                     2. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์การมหาชน) 3. นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร               4. นายสุรพล นิติไกรพจน์   (ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์การมหาชน) 5. นายรณภพ ปัทมะดิษ   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2559 เป็นต้นไป

28. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางดวงวดี สังโขบล ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล แทนนายสุรเชษฐ์               สถิตนิรามัย ที่พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2559 เป็นต้นไป และให้มีวาระเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลที่ได้แต่งตั้งไว้แล้ว

29. เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์เครือรัฐออสเตรเลียประจำจังหวัดเชียงใหม่ และกงสุลกิตติมศักดิ์เครือรัฐออสเตรเลียประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ กรณีรัฐบาลเครือรัฐออสเตรเลียมีความประสงค์ขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ จำนวน 2 ราย ดังนี้
                    1. นายรอนัลด์ จอห์น เอลเลียตต์ (Mr. Ronald John Elliott) เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์เครือรัฐออสเตรเลียประจำจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และตาก สืบแทน นายไมเคิล วอลเตอร (Mr. Michael Walther) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
                    2. นางเฮทเทอร์ แอนน์ รีด (Ms. Heather Ann Reid) เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์เครือรัฐออสเตรเลียประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี สืบแทน นายเคนเน็ธ จง (Mr. Kenneth Chung) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง


ที่มา ; เว็บ  รัฐบาลไทย

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม