หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

“สะเต็มศึกษา : วัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับกำลังคนในศตวรรษที่ 21”

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 



-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558  


              ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่

 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 91/2559 การประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7
“สะเต็มศึกษา : วัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับกำลังคนในศตวรรษที่ 21”

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี – สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7 เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ณ อาคาร KX (Knowledge Exchange) โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย, เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทย, ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.), รศ. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานอนุกรรมการบริหารโครงการ, รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตลอดจนนักวิชาการ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ และพิธีเปิด
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กราบบังคมทูลรายงานในการเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7 ดังนี้
ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ใต้ฝ่าละอองพระบาททรงรับเชิญเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์ของโครงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และอุดมศึกษา เรื่อง การศึกษาวิทยาศาสตร์และการปฏิรูประบบอุดมศึกษา ทั้งที่พระองค์ท่านทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย อีกทั้งยังทรงตรัสถามถึงความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการเรื่อยมา รวมทั้งทรงพระกรุณาเสด็จฯ เปิดการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ถึง 6 ครั้ง นับตั้งแต่การประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน
โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริที่ใต้ฝ่าละอองพระบาท ทรงให้ความสำคัญด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทรงมีพระราชดำริให้ประเทศไทยได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับต่างประเทศ และทรงประสานให้นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิชาการของสหรัฐอเมริกา ในระยะเวลา 15 ปี ของการดำเนินโครงการ ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาได้ตกลงกันในการสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยมีการจัดประชุมครั้งแรกที่ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2544
สำหรับการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐ ครั้งที่ 7 ภายใต้หัวข้อ "สะเต็มศึกษา : วัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับกำลังคนในศตวรรษที่ 21" นี้ ประเทศไทยมีโอกาสรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอีกวาระหนึ่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่ใต้ฝ่าละอองพระบาททรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 ซึ่งปวงชนชาวไทยได้ร่วมเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลฤกษ์นี้ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน และในปีนี้มหามงคลสมัยวันคล้ายวันพระราชสมภพ ที่จะเวียนมาบรรจบอีกครั้งในวันที่ 2 เมษายน 2559 ซึ่งประชาชนชาวไทยจะร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่ใต้ฝ่าละอองพระบาทจะทรงเจริญพระชนมายุ 61 พรรษา ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป
สำหรับผลของการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ทั้ง 6 ครั้งที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญหลายเรื่องที่นำมาสู่การดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทยอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เรื่องวิทยาลัยชุมชน : รูปแบบสถาบันอุดมศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญา นำมาประกอบการพิจารณาการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน และเกิด พ.ร.บ. วิทยาลัยชุมชน พ.ศ.2558, เรื่องการจัดการเรียนการสอนแนวศิลปวิทยาศาสตร์ และการนำเสนอแผนที่จะพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย (พ.ศ.2549-2556) นำมาสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย รวมทั้งมีการนำร่องสู่การปฏิบัติในหลายโครงการ เช่น โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงศึกษาธิการ,  โครงการนำร่องวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (Science-Based Technology College - SBTC) เพื่อจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านอาชีวศึกษา รวมทั้งโครงการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียน เช่น โครงการ พสวท., โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตลอดจนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควก.) และการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work-integrated Learning) ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งนำมาสู่การจัดการประชุมในครั้งนี้ ภายใต้หัวข้อ เรื่อง สะเต็มศึกษา : วัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับกำลังคนในศตวรรษที่ 21
โดยมุ่งหวังให้มีการขยายผลการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสะเต็มให้กว้างขวางยิ่งขึ้นครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจะมีการนำเสนอประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในระดับนโยบายและการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจะนำผลจากการประชุมไปใช้ประกอบการจัดทำร่างแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2574) ต่อไป
ภายหลังจากที่พระองค์ทรงเปิดการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7 ข้าพเจ้าขอพระราชทานพระราชานุญาตเบิกตัวนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ Dr.Joan Ferrini-Mundy, Assistant Director, Directorate for Education and Human Resources, National Science Foundation นำเสนอปาฐกถาพิเศษในแต่ละประเด็น
ในโอกาสนี้ ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญใต้ฝ่าละอองพระบาท ทรงเปิดการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำรัสเปิดการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7 โดยมีใจความดังนี้
ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมงานประชุมโต๊ะกลมไทย - สหรัฐฯ ครั้งที่ 7 และขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมที่ได้อวยพรวันคล้ายวันพระราชสมภพ ครบรอบ 60 พรรษา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอขอบคุณเพื่อนจากสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฟินแลนด์ สหราชอาณาจักร และไต้หวัน โดยเฉพาะ Dr. Chang Yan Davis ที่ปรึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่ร่วมมือในการก่อตั้งการประชุมโต๊ะกลมไทย - สหรัฐฯ มาระยะเวลากว่า 10 ปี และตามรายงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจัดการประชุมโต๊ะกลมไทย – สหรัฐฯ มาแล้ว 6 ครั้ง โดยประเทศไทยและสหรัฐฯ สลับกันเป็นเจ้าภาพ การประชุมครั้งแรกจัดขึ้นที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2544
สำหรับการประชุมปีนี้ คณะอนุกรรมการการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ได้กำหนดหัวข้อการประชุมว่า “สะเต็มศึกษา : วัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับกำลังคนในศตวรรษที่ 20 (STEM Education : Learning Culture of the 21st C Workforce) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และเพื่อเตรียมความพร้อมกำลังคนในศตวรรษที่ 21
สะเต็มศึกษาไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากมีการจัดการเรียนการสอนมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว เช่น โครงการเรียนรู้ฐานวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ จึงควรเน้นกิจกรรมที่บูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อเชื่อมโยงความรู้สู่การทำงานในชีวิตจริง ผู้เรียนจะเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยความสนุก พร้อมทั้งตระหนักถึงคุณค่าของการเรียนรู้ ยิ่งไปกว่านั้น นักเรียนต้องมีความรู้ด้านศิลปะ ภาษา สังคมศาสตร์ และอื่น ๆ ร่วมด้วย กระบวนการเรียนรู้นี้ยังกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัน เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหา สร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ
ในฐานะนักการศึกษา ข้าพเจ้าทราบว่าสะเต็มศึกษามีคุณค่าในการสร้างทักษะ คุณลักษณะของนักเรียน และผลิตกำลังคนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนด้านสะเต็มของประเทศไทย โดยกล่าวถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่กำลังก้าวสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ซึ่งเชื่อมโยงกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งต้องการกำลังคนที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์​ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่มีคุณภาพสูงเข้ากับบริบทการทำงาน

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษในหัวข้อ นโยบายสะเต็มศึกษาในประเทศไทย (Policy on STEM Education in Thailand)
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สะเต็มศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นกำลังคนรุ่นใหม่ที่จะสร้างอนาคตของประเทศ ทำให้ประเทศไทยต้องการการศึกษาด้านสะเต็ม
สำหรับการปฏิรูปการศึกษานั้น เราจำเป็นต้องปฏิรูปให้ถูกทาง เนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาถือเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาในอนาคตด้วย แนวทางการปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาสะเต็มศึกษา มีประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือ การคัดเลือกครูที่ดีที่สุดและการปรับปรุงหลักสูตรของการศึกษาไทย
การคัดเลือกครูที่ดีและมีความสามารถสูงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ หากนักวิทยาศาสตร์มีความสนใจที่จะเป็นครู ก็จะช่วยพัฒนาระบบการศึกษาได้มาก นอกจากนี้ ในหลาย ๆ ประเทศ จะมีการดึงคนที่เก่งที่สุดให้มาเป็นครู สำหรับประเทศไทยนั้น เราต้องสร้างกระแสให้คนเก่งเลือกที่จะมาเป็นครู เพื่อให้คนที่มีความสามารถสูงเข้าสู่วงการศึกษาและจะช่วยพัฒนากำลังคนของประเทศได้ อีกทั้งเราต้องร่วมมือกันส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถสูง เพื่อสร้างกำลังคนที่มีความเหมาะสมกับทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21
ในส่วนของการปฏิรูปหลักสูตรด้านต่างๆ จะต้องมีความเชื่อมโยงกัน ดังเช่นในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเห็นได้ว่าหลักสูตรในวิชาต่างๆ จะสอดคล้องกัน และถูกวางรากฐานให้มีความเชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นภาพ และสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ได้ ด้วยการเชื่อมโยงใน 5 มิติที่สำคัญ คือ หลักสูตร, การสร้างตำรา, การจัดการเรียนการสอนและการสร้างกระบวนการเรียนรู้, การพัฒนาครู ตลอดจนการวัดและการประเมินผล ยิ่งไปกว่านั้นหลักสูตรควรสนับสนุนหรือเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและเรียนรู้สิ่งต่างๆ พร้อมทั้งเน้นการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ประเทศไทยต้องการห้องปฏิบัติการเพื่อให้เด็กนักเรียนเข้าไปทดลองและหาความรู้เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่คิดนั้นถูกหรือไม่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของสะเต็มศึกษา ที่เน้นการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริงได้
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น การปฏิรูปตำราเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ ในโลกยุคปัจจุบันจะมีความแตกต่างระหว่างตำรา (Textbook) กับสื่อการเรียนในยุคดิจิทัล โดยตำรานั้นจะมีคุณค่าสูง เมื่อต้องใช้เวลาในการอ่านด้วยการเปิดหนังสือทีละหน้า ในขณะเดียวกันตำราเรียนแบบดิจิทัลจะถูกมองว่าเป็นที่เก็บข้อมูลหรือเนื้อหา ซึ่งทำให้คุณค่าของตำราทั้ง 2 ประเภท มีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้ การโค้ช (Coach) หรือการช่วยให้คนเกิดการเรียนรู้ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ กล่าวคือ การช่วยพัฒนาระบบโค้ชครูให้มีความสามารถสูงและสามารถจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของชั้นเรียน ควรทำเป็นรายวิชาและควรทำให้เกิดการยอมรับในกลุ่มโค้ชด้วยกันเอง ซึ่งจะทำให้เด็กมีกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์
สิ่งสุดท้ายของปฏิรูปหลักสูตรด้วยกระบวนการเชื่อมโยงหลักสูตรเข้าด้วยกัน คือ การวัดและการประเมินผล การวัดผลและประเมินผลนอกจากจะเป็นตัวสะท้อนว่าเด็กบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียนหรือไม่ ยังเป็นตัวช่วยให้เด็กเรียนรู้ขึ้นมา เช่น การตรวจการบ้านเด็กแล้วบอกว่าถูกผิดอย่างไร จะทำให้เด็กรู้ว่าทำสิ่งใดผิดและทำสิ่งใดถูก จากนั้นเด็กจะเกิดการปรับปรุงตัวขึ้นมา การวัดและการประเมินผลที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องทำให้เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า การศึกษาด้านสะเต็ม คือ การเชื่อมโยงกับสิ่งที่เป็นจริง สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ โดยการปลูกฝังให้เด็กมีทักษะด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดของจริงขึ้นมา ด้วยการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เราต้องสอนให้เด็กมีคุณธรรมควบคู่กับความรู้ เพื่อนำวิทยาศาสตร์ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

 
ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเปิดแพรคลุมป้ายอาคาร KX (Knowledge Exchange) โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เปิดโครงการอาคารเคเอกซ์ หรือ อาคาร KX (Knowledge Exchange) ซึ่งเป็น Open Collaboration Platform ทางความรู้ ซึ่งอาคารแห่งนี้จะถูกบริหารจัดการให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดึงดูดให้ภาคเอกชนเข้ามาพูดคุยกัน รวมทั้งเป็นพื้นที่ให้มหาวิทยาลัยได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ลงสู่การแก้ไขปัญหาให้กับภาคธุรกิจเอสเอ็มอีได้อย่างเต็มความสามารถและครบวงจร นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการการพัฒนาการศึกษา มจธ. และนิทรรศการสะเต็มศึกษา และเสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพด้านการออกแบบ “Design Thinking”

ที่มา ; เว็บนสพ.สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 
เตรียมสอบครูผู้ช่วย

ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม