หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 20 พฤศจิกายน 2558

เรื่องใหม่น่าสนใจ 

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

http://academic.obec.go.th/web/node/1/77/govdoc_sec_detail/296

-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
-เกณฑ์การย้ายครู พ.ศ.2558  http://www.otepc.go.th/images/document/2558/v16-2558.pdf

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558  

http://tuewsob.blogspot.com/2015/05/4-10-1-57.html


              ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่  โดย  อ.นิกร


 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ
20 พฤศจิกายน 2558

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
ก่อนอื่น ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยทุกคน ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งอีกครั้งกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่กรุงปารีสสาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมขอยืนยันว่าประเทศไทยจะยืนเคียงข้างประชาคมโลก และขอประณามการกระทำที่โหดร้ายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ประเทศใดในโลกก็ตาม ปัจจุบันในขณะที่สถานการณ์โลกยังคงมีความสุ่มเสี่ยง  ประเทศไทยเรานั้นก็ต้องเพิ่มความระมัดระวัง ผมขอให้พี่น้องประชาชนทุกท่านให้ความร่วมมือ ช่วยกันเฝ้าระวัง ช่วยกันเป็นหูเป็นตา ขอให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดูแลกันและกัน ดูแลสังคม ดูแลแขกที่มาเยือน หากใครพบเห็นสิ่งใดผิดปกติ ขอให้แจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ผมได้กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันสอดส่องดูแล ป้องกัน ปราบปราม และป้องปราม รวมถึงประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้กับพี่น้องประชาชนด้วย ในขณะนี้ประชาคมโลกนั้นเรามีพันธสัญญาหลายอย่างด้วยกันในเรื่องของความร่วมมือ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในเครือประชาคมต่าง ๆ
ในขณะนี้ผมได้เดินทางมาประชุมที่ต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน เป็นการประชุมเอเปค ครั้งที่ 23 ที่กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ซึ่งมีแนวคิดหลัก คือ “การสร้างเศรษฐกิจที่มีส่วนร่วม การสร้างโลกที่ดีขึ้น” ประเด็นสำคัญที่ได้มีการหารือร่วมกันใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1. การส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค  2. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก 3. การลงทุนในการพัฒนาทุนมนุษย์ และ 4.การสร้างชุมชนที่ยั่งยืนและแข็งแกร่งไปด้วยกัน นอกจากนี้ เราได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางการเสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมโดยให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตที่มีคุณภาพ มาจากความเข้มแข็งของชุมชนที่สามารถเข้าถึงการพัฒนาได้อย่างเท่าเทียมกันรวมทั้งสังคมที่มีคุณธรรมและธรรมาภิบาล ซึ่งทั้งหมดนั้น  สอดคล้องกับนโยบายของไทยที่มุ่งมั่นในการดำเนินการปฏิรูปต่างๆเช่น การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต่อระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมอย่างมีสมดุลและมีส่วนร่วมโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งในประเทศ และมิตรประเทศด้วยกัน รวมทั้งการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีนวัตกรรมหรือเศรษฐกิจดิจิทัล
ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน จะเป็นการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 27ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียที่จะเป็นการทบทวนการทำงานของอาเซียนตลอดกว่า 40 ปีที่ผ่านมาก่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 นี้ก็คาดว่าจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ปี 2568 เพื่อกำหนดทิศทางอนาคตในการพัฒนาของอาเซียนต่อไปในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยจะมีการจัดทำแผนการทำงานของอาเซียน ในด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและตลอดจนด้านวัฒนธรรมด้วย ระหว่างปี 2559-2568 ที่เน้นความร่วมมือระหว่างประชาคมอาเซียนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ช่วงนี้ เราเริ่มมีข่าวดีเกี่ยวกับเศรษฐกิจ/การลงทุนในหลายเรื่อง มีนักลงทุนจากหลายบริษัทให้ความเชื่อมั่นและพร้อมจะเพิ่มการลงทุนในประเทศไทย อาทิเช่น บริษัทฮอนด้า ที่ได้เข้ามาลงทุนสนามทดสอบรถยนต์ครบวงจร ในจังหวัดปราจีนบุรี มูลค่ากว่า 1,700 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสนามทดสอบรถยนต์ฮอนด้า แห่งที่ 2 ที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ  โดยจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมารองรับ ซึ่งการลงทุนในหลาย ๆ ด้านนั้น ก็พร้อมที่จะลงทุนทันที บางเรื่องก็อยู่ในระหว่างการเจรจา  ทั้งนี้ การลงทุนของภาครัฐเอง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า มอร์เตอร์เวย์ ถนน ฯลฯ  ก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่ทุกโครงการ โดยจะเปิดให้เป็นการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือที่เรียกว่า PPP และจะเห็นการลงทุนทั้งหมดเป็นรูปธรรมภายในกลางปีหน้า
สำหรับกระทรวงคมนาคม ก็ได้สรุปสถานะโครงการสำคัญต่างๆ ของรัฐบาลดังนี้ 1) ทางถนน สายพัทยา - มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการประกวดราคา คาดว่าจะมีการลงนามในสัญญาภายในเดือนมกราคมปีหน้า และจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2562, สายบางประอิน - นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการปรับปรุงรายงาน EIA เพื่อลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน โดยจะสามารถเริ่มประกวดราคาได้ในเดือนธันวาคมปีนี้ โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง เดือนเมษายนปีหน้า และเปิดให้บริการได้ในปี 2562, สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการปรับปรุงรายงาน EIA เช่นเดียวกัน โดยจะเริ่มประกวดราคาได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนมิถุนายนและเปิดให้บริการได้ในปี 2562 สำหรับสายบางปะอิน กับสายบางใหญ่จะดำเนินโครงการผ่าน PPP Fast Track 2) เรื่องทางราง โครงการพัฒนาระบบการขนส่งทางรถไฟระหว่างเมืองภายใต้ความร่วมมือกับต่างประเทศ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางรถไฟขนาดทางมาตรฐานกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ - แก่งคอย และระยะที่ 3 แก่งคอย - นครราชสีมา คาดว่าจะสามารถสรุปจำนวนสถานีสัดส่วนแนวเส้นทางเดิมและเส้นทางใหม่ เพื่อใช้ในการออกแบบได้แล้วเสร็จ และสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือนธันวาคมนี้ ส่วนช่วงที่ 2 แก่งคอย - มาบตาพุด อยู่ระหว่างการเร่งรัดดำเนินการ สำหรับโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือในการพัฒนาระบบทางรถไฟของไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เส้นทาง กาญจนบุรี- กรุงเทพฯ - อรัญประเทศ และกาญจนบุรี- กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง จะมีกำหนดให้มีการลงนามใน MOC ในเร็ว ๆ นี้ ส่วนเส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ ฝ่ายญี่ปุ่นได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำการสำรวจและจัดทำรายงานความเหมาะสม คาดว่าจะสามารถนำเสนอ ครม. เพื่อเห็นชอบในโครงการได้ในเดือนมิถุนายน 2559 สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในตอนนี้กำลังฟื้นตัว ความเชื่อมั่นสำคัญที่สุด ความเชื่อมั่นเมื่อเพิ่มมากขึ้น ดัชนีตัวเลขต่าง ๆ ก็จะดีขึ้น จากการแถลงตัวเลขของสภาพัฒน์ฯ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา คาดการณ์ไว้ว่า GDP ปีนี้ไว้ที่ 2.9% ซึ่งน่าจะโตได้มากกว่านี้ เนื่องจากยังมีเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอีก โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นผลของเม็ดเงินในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
ภาคการท่องเที่ยวก็น่ายินดีขึ้นตามลำดับ พี่น้องประชาชน ประเทศจะพัฒนาไปได้ ภาครัฐ เอกชน และประชาชนจะต้องร่วมมือกัน การดำเนินมาตรการใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน หรืออื่น ๆ ประชารัฐ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การพัฒนานั้นยั่งยืน  เช่น การช่วยเหลือ SMEs ผ่านการพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน สร้างความเข้มแข็ง ให้มีการพัฒนานวัตกรรม มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ดูความต้องการของตลาด มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีความแตกต่างกัน  มีการใช้วัสดุและดีไซน์ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่ผลิตสินค้าที่เหมือนกัน แต่ความต้องการของตลาดมีจำกัด ก็อาจจะเกิดปัญหาการขายหรือการตลาดต่อไป ในส่วนนี้ภาครัฐและเอกชนสามารถร่วมมือกันพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งนโยบายนี้ก็เริ่มเห็นผลที่ชัดเจนขึ้น และมีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
เรื่องการเมืองนั้น ผมทราบว่าทุกกคนล้วนมีความตั้งใจดี ที่จะมาช่วยกันเขียนกติกาในการบริหารประเทศในระยะต่อไป ไม่ว่าจะเป็น กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ในกระบวนทั้งสิ้น ในขั้นตอนการร่างและนำเสนอ ก็อยากให้พี่น้องประชาชนลองรับฟัง วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียต่าง ๆ  และอยากให้ทุกคนเข้าใจว่าเวลานี้ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน มีปัญหามากมายที่ทุกคนต้องรับรู้โดยทั่วกัน เราจะต้องนำไปสู่การปฏิรูปให้ได้ นำประเทศชาติให้ปลอดภัย เพราะฉะนั้นการนำเสนอกฎเกณฑ์ต่าง ๆ นั้น ทางรัฐบาลเอง หรือ คสช. ก็พร้อมจะรับฟัง ว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง ข้อสำคัญคือประชาชนนั้นจะยอมรับได้หรือไม่ เพราะว่าถ้ากฎเกณฑ์ที่ร่างมานั้นไม่มีอะไรที่จะทำให้ประเทศปลอดภัย ก็จะทำให้ประเทศนั้นกลับมาเป็นแบบเดิม ความขัดแย้ง ปัญหาการเจริญเติบโต ความยากจน ก็ทำให้ปัญหาไม่มีวันสิ้นสุด อันนี้เราต้องควรช่วยกันทบทวนดูหน่อย ทุกภาคส่วน ไม่ใช่ รัฐบาลทำแล้วก็มีปัญหาติดขัดทั้งหมด เพราะหลาย ๆ คนอาจจะไม่เข้าใจปัญหาในเชิงโครงสร้าง ในเชิงของการบริหารราชการแผ่นดิน ว่ามีปัญหาอยู่ตรงไหน วันนี้ผมก็พยายามจะมาพูดให้ท่านฟัง เพราะผมก็พยายามพูดให้เข้าใจให้ได้ ท่านก็ต้องพยายามอดทนฟังผมหน่อยแล้วกัน เราจะได้รู้ว่า เราต้องแก้ปัญหาอะไรบ้าง เราจะต้องมีกฎเกณฑ์อย่างไรที่จะเหมาะสมกับสถานการณ์ ที่เราต้องการในอนาคต เมื่อพร้อมเต็มที่แล้ว เราก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความเป็นไปในห้วงเวลานั้น ๆ ทำยังไงการปฏิรูปหรือปัญหาการที่จะได้รับการแก้ไขในระยะเวลาอันสั้น สักช่วงหนึ่งได้ไหม เหล่านี้เป็นเรื่องที่กำลังพิจารณากันอยู่ทั้งสิ้น ทั้งหมดนั้นความมุ่งหมายก็เพื่อประชาชนทั้งสิ้น ประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมเป็นกังวลก็คือการสร้างการรับรู้ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร การพูดคุยกับพี่น้องประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ และการที่อาจจะมีคนไม่หวังดี มาพูดบิดเบือนอะไรต่าง ๆ ทำให้ความเข้าใจเหล่านั้นผิดเพี้ยนไป อันนี้เป็นปัญหาสำคัญของรัฐบาล
สำหรับการทำงานของ ทั้ง กรธ. สปท. และ สนช.  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเร่งด่วน หรือดำเนินการระยะสั้น หรือ ระยะยาว ที่นำไปสู่การพัฒนาและปฏิรูปประเทศ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการบริหารราชการแผ่นดินที่เหมาะสม ที่เรียกว่าธรรมาภิบาล  ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการวางรากฐานไปแล้ว คือ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น  ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องของปลายเหตุ เรื่องทุจริต ต้องไปดูว่าต้นเหตุอยู่ตรงไหน แล้วจะทำอย่างไร เพราะเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ประชาสังคมทั้งหมด ถ้าเรามุ่งเน้นแก้คอร์รัปชั่น เราก็ไม่ได้แก้ตรงสาเหตุ หรือต้นเหตุแห่งปัญหา มันเกี่ยวพันกันหลายส่วนด้วยกัน ถ้าเราร่วมมือกันในช่วงนี้ แล้วตกลงกันได้ว่าเราจะใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านเรื่องเหล่านี้ ให้เกิดความยั่งยืนขึ้นในอนาคต ในการที่เราจะมีรัฐบาลต่อไป ก็จะทำให้ประเทศเรามีความก้าวหน้า ไม่วนเวียนกลับไปสู่ความขัดแย้งเดิม ๆ หรือปัญหาเดิม ๆ หรือการเจริญเติบโตที่ไม่เท่าเทียมกัน
สำหรับการทำงานของข้าราชการ ซึ่งผมถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ผมก็จำเป็น ที่ต้องกำกับดูแลการทำงานของท่าน ในการที่จะนำนโยบายของรัฐบาล ที่ได้แปลงสู่การปฏิบัติไปแล้ว ท่านจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติโดยตัวท่านเองไปสู่ประชาชน หากเรามีนโยบายที่ดีประการใดก็ตาม แต่ข้าราชการไม่เข้าใจ ไม่สามารถสร้างการรับรู้ ทำความเข้าใจกับประชาชนได้ เพราะทุกคนขาดเหมือนกันหมด ทุกคนขาดแคลน ทุกคนไม่มีรายได้ ทุกคนไม่มีอาชีพที่พอเพียงจะเลี้ยงดูครอบครัว เขาก็ไม่เข้าใจอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้ข้าราชการจะต้องเข้าใจในนโยบาย แล้วอธิบายเขาได้ แล้วทำอย่างไรการขับเคลื่อนจะเกิดขึ้น ในลักษณะที่ว่า ไม่ไปสร้างความขัดแย้ง ประชาชนก็จะเกิดปัญหาไปทั้งหมด เพราะว่าวันนี้เขาลำบากอยู่แล้ว ถ้าเราไปอธิบายเขาไม่เข้าใจอีก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราปรับเปลี่ยนทั้งหมด ก็กลายเป็นการสร้างความขัดแย้งมากขึ้น เราก็จะไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน ภาคเอกชน ภาควิชาการต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ขัดแย้งกันไปหมด เพราะทุกคนต้องเข้าใจว่าปัญหาอยู่ที่ไหน แล้วเราจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร  How to do ที่ผมพูดมาหลายครั้งแล้ว เสร็จแล้วในระหว่างที่กำลังทำอยู่ต้องมีปัญหาเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นท่านต้องอธิบายได้ด้วยเหตุและผลว่าทำไมถึงทำอย่างนี้ ทำอย่างนั้น ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ไม่อย่างนั้นพี่น้องประชาชนไม่เข้าใจ ก็ขัดแย้งลงมาข้างล่าง แล้วท้ายสุดก็กลับมาที่ว่า รัฐบาลสั่งอะไรมาทำให้ประชาชนเดือดร้อน ผมว่าไม่ใช่  ถ้าทำกันอย่างนี้ไม่มีวันสำเร็จ เพราะฉะนั้นผมจะได้มีการติดตามการทำงานประเมินการทำงานของท่านในทุกระดับ ข้อสำคัญคือการมีส่วนร่วมของประชาชน การทุจริตคอร์รัปชั่นจะต้องไม่เกิดขึ้น จะต้องถูกดำเนินคดี
สำหรับการร่วมมือในรูปแบบของ “ประชารัฐ” นั้นเราต้องการให้เกิดขึ้น ถ้าเราไม่เข้าใจกัน ขับเคลื่อนไม่ได้ หรือไม่ทำงานเชิงรุก  ไม่มีวิสัยทัศน์  เพราะฉะนั้นข้าราชการทุกคนนั้น เท่ากับว่าเราทำหน้าที่ของเราไม่สมบูรณ์ ต้องมีการทำงานเชิงรุก แก้ปัญหาได้ มีวิสัยทัศน์ มีความตั้งใจนำพาประเทศ เพราะฉะนั้นวิธีการ ต้องมุ่งไปสู่วัตถุประสงค์ที่ต้องการสุดท้าย ผลสัมฤทธิ์ต้องการอะไร ต้องการให้ชาวบ้านมีอาชีพ มีรายได้ที่เพียงพอ เท่ากับย้อนกลับไปดูปัญหาอยู่ตรงไหน จากนั้นท่านก็ต้องดูในระหว่างทางที่เดินไปมีปัญหาตรงไหน อย่างไรก็แก้ปัญหา อย่าเอาสิ่งที่รัฐบาลพูดถึงหลักการลงไป เพราะท่านต้องนำไปสู่การปฏิบัติ ขอให้ทุกคนเข้าใจตรงนี้ วันนี้ผมเจอปัญหาหลายประการ ปัญหาไปตรวจเยี่ยมประชาชนอะไรต่าง ๆ ทุกคนทำงานเต็มที่ช่วยกันหมด แต่ผมเกรงว่าจะกลับไปที่เก่า เพราะว่าอะไร เพราะว่าเป็นการทำในรูปแบบเดิม ๆ เป็นส่วนใหญ่ ผมเป็นห่วงตรงนี้เท่านั้น ไหน ๆ เราก็ร่วมมือกันอยู่แล้วตั้งใจกันอยู่แล้ว แล้วมีเวลาจำกัดเท่านี้ ถ้าท่านไม่พัฒนาการทำงานของท่าน ไม่เพิ่มขีดความสามารถของตัวเอง ไม่สร้างการเรียนรู้ของตัวเอง ข้าราชการก็จะไปนำเขาไม่ได้ เพราะท่านต้องไปนำประชาชนเขา เราจะต้องยึดถือแบบอย่างการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกคนจะต้องทำให้ประชาชนเข้าใจ  แล้วคำนึงถึงส่วนรวม วันนี้ถ้าเราบอกว่า เราจะดูแลคนกลุ่มนี้ กลุ่มนั้นต่าง ๆ ไม่ได้หรอก วันนี้ทำยังไงคนทั้งประเทศ 70 ล้านจะมีความสุข แล้วโดยเฉพาะใน 70 ล้านนี่ คนเกือบ 40 ล้านคนอยู่ในภาคการเกษตร แล้วจะทำอย่างไร รายได้เขาก็ไม่เพียงพอ
เพราะฉะนั้นนี่คือหน้าที่ของรัฐบาลทุกรัฐบาล แต่เป็นสิ่งที่ยากที่จะทำ แต่เราก็ไม่เคยท้อแท้ รัฐบาลกับ คสช. ทำเต็มที่ เราต้องมีความรับผิดชอบที่เราจะต้องขับเคลื่อนบริหารประเทศชาติต่อไป เพราะว่าการใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐ ซึ่งเรามีน้อย เพราะไม่ได้มีการเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ เพราะถ้าเราไม่แก้โครงสร้าง ภาษีก็ไม่เกิดขึ้น การค้าขายถ้าไม่ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ไม่มีการพัฒนา ไปสู่เทคโนโลยี นวัตกรรม รายได้ก็เท่าเดิม ขณะเดียวกันต่างประเทศเขาก็สูงขึ้น ๆ ไปเรื่อย ๆ ท้ายสุดก็เกษตรกรแย่กว่าเดิม วันนี้ต้องทำใหม่ทั้งหมด ต้องใช้เวลา แต่ถ้าเริ่มต้นวันนี้ ยังไม่สายไปหรอก ถ้าเราทำด้วยความมีประสิทธิภาพ  โปร่งใส เป็นประโยชน์แท้จริง  แล้วเจอปัญหาตรงไหนก็แก้ตรงนั้น อะไรแก้ไม่ได้ให้มาบอกผมแต่ไม่ใช่บอกทุกเรื่อง บางเรื่องท่านก็คิดเองได้อยู่แล้ว ข้าราชการ ตั้งแต่ข้างล่างลงไป ผู้ว่าราชการจังหวัดถือเป็นกำลังหลัก วันนี้ผมก็จะให้นายอำเภอเข้ามาร่วมด้วย จะต้องรับผิดชอบร่วมกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดไปด้วย เพราะว่าพี่น้องประชาชนทุกคนรอการช่วยเหลือจากพวกเราอยู่ อย่าไปคำนึงถึงแต่เพียงเกษตรกรอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะต้องไปคำนึงถึงผู้มีรายได้น้อยทั้งหมด อาชีพอิสระ ค้าขาย ที่บางครั้งก็เขาก็ทำอย่างนี้มานานแล้ว ซึ่งมันก็ผิดกฎหมายบ้าง อะไรบ้าง ถ้าเราไม่แก้ไขพวกนี้ ไม่มาแก้ไขในเชิงโครงสร้าง ในการใช้กฎหมายมันก็จะวุ่นวายไปอยู่แบบนี้ แต่ทำอย่างไรคนเหล่านี้จะไม่เดือดร้อน นั่นแหละเป็นสิ่งที่ท่านต้องทำให้ผม แล้วมาบอกผมว่าจะเอาอย่างไร จะให้แก้ตรงไหน ปัญหาอยู่ที่ไหน กฎหมายเป็นอย่างไร
ถ้าทุกคนไม่เริ่มต้นจากกฎหมาย ความถูกต้อง เพราะกฎหมายทำให้คนเท่าเทียม ทุกคนมีสิทธิ์เหมือนกันหมด แต่ต้องเคารพกฎหมาย อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ถ้าเอาตรงนี้มาว่าก่อน แล้วถึงจะมาดูว่า คนยากจนจะดูแลเขาอย่างไร เพราะฉะนั้นทุกคนต้องพัฒนาตนเอง ไม่อย่างนั้นก็จะส่งผลกระทบโดยตรงกับประชาชน ท่านก็เดือดร้อน เพราะผมก็ต้องประเมินท่าน ทุกระดับลงไป ตั้งแต่ปลัดกระทรวงลงไป
ในเรื่องของการพัฒนาประเทศนั้น ในสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 12 พฤศจิกายน ทุกคนทราบอยู่แล้ว ผมไปที่ จ.อุบลราชธานี เพื่อติดตามมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่เรามีโครงการมากมายมีงบประมาณลงไปก็ก้อนใหญ่พอสมควรมีความคืบหน้าไปมาก ตามแผนแต่ก็ยังมีปัญหาข้อขัดข้องที่ผมเคยกราบเรียนไปแล้วว่า ต้องไปดูไส้ในด้วย ว่าประชาชนนั้นจะได้ประโยชน์อะไรจากตรงนั้นจริง ๆ เพราะว่าเป็นการขยายกิจการเขาบ้าง อะไรบ้าง ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของการทำให้อาชีพที่เขาทำในครัวเรือน ในชุมชนเขามีรายได้มากขึ้น แต่ผมยังเห็นหลาย ๆ อย่างเป็นของเดิม ๆ ซะส่วนใหญ่
เพราะฉะนั้นผมอยากให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ด้วยมาตรการที่ส่งเสริมในเรื่องของวัสดุต้นทุน ในเรื่องของการสร้างเครือข่าย ในการสร้างความเชื่อมโยง ในการตลาด บางครั้งไม่จำเป็นต้องผลิตของอย่างเดียวกัน ในจังหวัดเดียวกัน ในพื้นที่เดียวกัน ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าท่านทำผ้าขาวม้าเหมือนกันหมดก็ขายใครไม่ได้มากนัก แต่ถ้าท่านเอาผ้าขาวม้าไหม มาทำอย่างอื่นด้วย มาทำเป็นเครื่องประดับ ประดับบ้านบ้าง ทำกระเป๋า ประกอบกับหนัง อะไรสักอย่างเหล่านี้ ผมว่าขายได้หมด แต่ถ้าทำแบบเดิม ขายได้เท่านี้ ยิ่งทุนมาก ๆ ยิ่งเสียหายมาก ผมฝากข้าราชการ เจ้าหน้าที่ แล้วผมก็หวังอย่างยิ่งว่าในการตรวจเยี่ยมครั้งต่อไป ผมจะเห็นในสิ่งที่ดีขึ้น อย่างที่ผมกำหนดนโยบายไปแล้ว แต่ที่ผ่านมานั้นอาจจะยังไม่รู้ ไม่เข้าใจ ผมก็ไม่โทษท่าน แต่จากนี้ไป ผมพูดวันนี้แล้ว ข้าราชการต้องไปทำใหม่ ครั้งหน้าถ้าผมไปตรวจเยี่ยมประชาชนในแต่ละพื้นที่ ถ้าร้านค้าทั้งหมดมีสินค้าเหมือนกัน ผมก็ไม่ค่อยมีความสุข แต่ถ้าท่านมีการรวมกลุ่ม มีเรื่องเกษตร มีเรื่องของสินค้าที่มีศักยภาพขึ้นมา แต่ละจังหวัดมาอยู่ในโซนนี้ จะได้เห็นข้อเปรียบเทียบในสินค้าที่เหมือนกันว่ามีความแตกต่างกันตรงไหน แต่ถ้าไม่แตกต่างกัน ท่านต้องทำให้แตกต่างกัน และไม่จำเป็นต้องผลิตเหมือนกันทั้งหมดทุกพื้นที่ เพราะไม่รู้จะไปขายให้ใคร ฉะนั้นพื้นที่นี้อาจจะเป็นการเพาะปลูก หรือจัดหาเรื่องวัสดุต้นทุนในการผลิต อีกพื้นที่เป็นเรื่องการแปรรูปเพิ่มมูลค้า เสร็จแล้วก็ไปรวมการตลาดในกลุ่มจังหวัด กรอ. จังหวัดก็ต้องเข้ามาช่วย เรื่องงบประมาณ ยุทธศาสตร์ฯ จังหวัด วันนี้เราก็เพิ่มไปให้แล้วทั้งในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัด ไปคิดแบบนี้ ผมก็คาดหวังว่าจะเห็นเรื่องเหล่านี้โดยเร็ว ผมไม่อยากเห็นเรื่องเดิม ๆ ก่อนที่ผมเข้ามาก็ทำแบบนี้ วันนั้นก็ทำแต่เล็กน้อย วันนี้มีเงินมากขึ้น แต่ทำแบบเดิม เพราะฉะนั้นสินค้าแบบเดิมก็ออกมามากขึ้น ตลาดก็กลายเป็นปัญหา หลักง่าย ๆ คิดแบบนี้แล้วกัน
สำหรับการพูดคุยกับพี่น้องพี่น้องประชาชนโดยตรนั้น ได้คุยกับตัวแทนของทุกภาคส่วน ทุกกลุ่ม ผมเห็นแล้ว แววตาของเขานี่เขาจะมีความหวังอยู่ ผมหวังยิ่งกว่าท่านอีก ผมหวังให้ทุกอย่างดีขึ้น ท่านก็หวังจะมีรายได้เพิ่มขึ้น หลายคนส่วนใหญ่เป็นการให้กำลังใจรัฐบาลทั้งสิ้น แล้วพร้อมที่จะร่วมมือกันก้าวข้ามความขัดแย้ง หรือที่เรียกว่ากับดักตัวเอง แล้วก็มาร่วมมือกันปฏิรูป การปฏิรูปทำตั้งแต่วันนี้ ทำมาได้ตลอด ไม่ต้องไปรอ สวท. เขาทำเป็นแผนมา วันนี้เราปฏิรูปอยู่แล้ว ถ้าท่านร่วมมือกับผม ผมปฏิรูปอยู่ ท่านต้องเข้าใจตรงนี้ ถ้าเราปฏิรูประยะแรกได้ แล้วต่อไปก็ทำต่อไป รัฐบาลหน้า รัฐบาลไหนก็ทำไปเถิด ยุทธศาสตร์ฯ 20 ปี ก็ต้องกำหนดกันอยู่แล้ว ถ้าเรามองว่าเราจะพัฒนาประเทศเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เราก็ต้องพัฒนาชุมชนให้เกิดขึ้นมาให้ได้ก่อน ข้างล่างนี่ให้เป็น “ประชารัฐ” ให้ได้ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน วันนี้ผมเห็นแล้วเขามีการวางแผน มีการจับกลุ่ม มีความร่วมมือ แต่สิ่งประเด็นสำคัญของเขาก็คือว่าเขายังขาดคำแนะนำอันเป็นประโยชน์ ว่าทำยังไงจะดีขึ้น ไม่ใช่เพิ่มจำนวน ไม่ใช่เพิ่มกองทุนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแนวความคิดเขาให้ได้ ให้มีการพัฒนาตัวเองด้วย เพราะเราไม่ได้อยู่กับเขาตลอดไป ข้าราชการ นักการเมืองก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ทำอย่างไรจะติดอยู่กับชุมชนของเขา อยู่ติดกับชาวไร่ชาวนา หรือผู้ประกอบการค้าขนาดเล็ก SMEs ต่าง ๆ พัฒนาทั้งหมดเลย
ที่ผ่านมาอาจจะน้อยไปบ้าง ประสิทธิภาพไม่เต็มที่ ในส่วนของโครงการพัฒนาชุมชนของตนเองเป็นส่วนสำคัญเลยที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วม แล้วภาครัฐจะเข้าไปสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน เรื่องการอำนวยความสะดวกการประกอบการ เหล่านี้จะต้องร่วมมือกันทั้งสิ้น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม NGO กองทุนต่าง ๆ ทั้งกองทุนองค์กรมหาชน แล้วก็กองทุนหมู่บ้านอะไรเหล่านี้ ต้องมาผสมผสานกัน แล้วทำไปร่วมกัน ให้เข้าใจว่าวันนี้ต้องสร้างความเข้มแข็ง ในระหว่างการสร้างความเข้มแข็งต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้นระหว่างนี้ทำอย่างไร ประชาชนจะไม่เดือดร้อน ต้องมีโครงการก่อนสร้างจ้างงาน ทำถนน ขุดลอกคูคลอง เจาะน้ำบาดาลของรัฐเอง หรือว่าการขุดลอกของประชาชนเอง ขุดบ่อน้ำบาดาล ขุดบ่อน้ำตื้นของประชาชนเอง ตรงนี้ทั้งหมด แล้วการเกษตรจะทำอย่างเดียวไม่ได้แล้ว วันนี้เราต้องไปดูว่า น้ำก็น้อยลงใช่ไหม แม้กระทั่งในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำในเขื่อนก็มีปัญหา ลุ่มน้ำแม่กลองก็มีปัญหา พื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดจะมีปัญหาหมด เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องมีอาชีพเสริม ทุกคนต้องมีหลายอาชีพ พูดง่าย ๆ เดิมอาชีพของเกษตรกรเรา ผมเห็นแล้ว ถ้าจะเลี้ยงสัตว์ ก็เลี้ยงสัตว์ ถ้าจะปลูกพืชก็ปลูกพืช เสร็จแล้วก็พอหมดหน้าการทำเกษตรก็ไปรับจ้าง ก็มีอยู่แค่นี้ ผมว่าต้องรองรับใหม่แล้ว ต้องคิดใหม่ ว่าจะต้องมีทั้งเกษตรกรรม ปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์ แล้วก็มีทั้งการค้า ทั้งการเพิ่มมูลค่า แล้วข้อสำคัญต้องมีอุตสาหกรรม ที่เรียกว่าเป็นเกษตรอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรมที่ไม่ทำให้เกิดมลพิษ อุตสาหกรรมสีเขียวต้องเกิดขึ้น ถ้าไม่เกิดขึ้นในชุมชน ไปไม่ได้หรอก ผมยืนยันด้วยหลักการที่วันนี้โลกกำลังเจริญเติบโตอยู่แล้ว ถ้าท่านไปดูมหาอำนาจทั้งหมด เขาเป็นประเทศอุตสาหกรรม แต่เราไม่ต้องการจะไปถึงตรงนั้น เพราะสร้างมลภาวะมากพอสมควร อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดหนัก จะมีเฉพาะในบางพื้นที่ได้เท่านั้นเอง แต่อุตสาหกรรมขนาดย่อมต้องเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ เพื่อจะไปต่อยอดแล้วก็ใช้วัสดุต้นทุนที่ท่านผลิตกันจำนวนมาก ข้าว ยาง อะไรเหล่านี้ มันสำปะหลัง ทั้งหมด เพราะเราส่งเป็นวัตถุดิบต่อไปไม่ไหวแล้ว ราคาตกไปทุกปี
จากนั้นก็ต้องกลับมาดูว่า ประชาชนเรามีความพร้อมหรือไม่ เราต้องให้ความรู้เขาหรือเปล่า สอนแนวคิดเขาหรือเปล่า ถ้าเขาคิดแต่เพียงว่าปลูกข้าว แล้วก็ใครมารับไปขายต่อก็จะเป็นอยู่แบบนี้ ท่านต้องให้เขารู้ว่า กระบวนการผลิแล้วจะต้องไปสู่การขนส่ง และการปรับปรุงคุณภาพ การทำให้ข้าวนั้นเป็นข้าวที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่งั้นท่านก็ต้องถูกตัด ปรับลดราคาไปทั้งหมด ไปโรงสีก็ราคาลดลง เพราะฉะนั้นราคาที่ตั้งไว้ ไม่ได้ตามนั้น เพราะว่าไม่มีคุณภาพ อันนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องแก้ ข้าราชการก็ต้องลงไปดู
จากนี้ไปผมจะพยายามเดินทางลงพื้นที่ให้บ่อยขึ้น ทั้งนี้เพื่อพบปะเยี่ยมเยือนให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ผมเป็นห่วงจริง ๆ พี่น้องประชาชนที่มีรายได้น้อยทั้งหมด
สำหรับในเรื่องของการดำเนินการของรัฐบาล เราจะทำทุกพื้นที่ เพราะเราไม่ได้มาจากการเมือง เพราะฉะนั้นเราจะทำอย่างไรให้คน 70 ล้าน มีความพึงพอใจ ทั้งระดับบน ระดับกลางระดับล่าง มีความพอพียงตามหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย ทำอย่างไรให้คนที่มีน้อยมีมากขึ้น จะได้ใช้มากขึ้น แล้วก็มีกระบวนการทางภาษี ก็เป็นรายได้ของรัฐเข้ามาเพิ่มรายได้ทั้งของประชาชน และของประเทศด้วย รัฐบาลก็พยายามดำเนินการโดยยึดหลักของความเป็นจริงในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้หลายปัญหาเกิดขึ้นโดยปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็นเวลานาน เช่น ระบบการจัดเก็บภาษีของเรานี่ ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ไม่ได้หมายความว่าผมจะไปรีดภาษีใคร เพียงแต่ขอให้จัดเก็บให้ถูกต้อง ให้ครบถ้วน ใครควรจะเสียก็เสีย ขอให้ทุกคนที่เสียภาษีนี่ภูมิใจ ภูมิใจว่าได้ช่วยชาติด้วยการเสียภาษี ไม่ใช่พยายามจะหลีกเลี่ยง พยายามจะทำอย่างไรให้เสียน้อยลง ความภูมิใจไม่เกิด เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการทั้งหมด นักธุรกิจทั้งหมด ที่ร่ำรวยทั้งหมด ต้องคำนึงถึงตรงนี้ ท่านจะช่วยชาติได้ก็ตรงนี้ เสียภาษีให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย คนจนที่ยังเสียไม่ได้ก็ทำอย่างไรเขาจะมีรายได้มากขึ้น วันหน้าเขาจะได้มาเสียภาษีได้ ถ้าอย่างนี้ จะได้ภาษีจากคนหลายสิบล้านคน ไม่ใช่ภาษีคนจำนวนหนึ่งต้องมาดูแลประเทศทั้งหมด เป็นไปไม่ได้ รัฐสวัสดิการเราต้องดูแลคนรายได้น้อยเข้าไปอีก การศึกษา สาธารณูปโภค สาธารณสุข ทั้งหมดใช้เงินรัฐบาลทั้งสิ้น ไปไม่ไหวหรอก ทำอย่างไรจะสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันแล้วก็เตรียมอนาคตให้ได้ รัฐบาลนั้นดูจากปัจจัยหลายส่วน แล้วก็ความเหมาะสมต่าง ๆ ในเรื่องของการจัดทำเรื่องภาษี วันนี้จะต้องปฏิรูปเรื่องการจัดเก็บ เรื่องการประเมินราคาต่าง ๆ ก็ต้องเป็นไปตามกลไกของตลาดในปัจจุบัน เพราะไม่ได้เปลี่ยนมานานแล้ว เพราะเปลี่ยนไม่ได้ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเขาทำไม่ได้หรอก มันเสียคะแนนเสียงอะไรก็แล้วแต่ แต่ผมไม่ได้ทำให้ท่านต้องมารักผม แต่ให้รู้ว่าผมรักท่านอย่างไร เพราะฉะนั้นการรักใครก็ตามอย่าทำให้คนเสียนิสัย ก็คือต้องสอนให้เขาเรียนรู้ ให้เขาเข้มแข็ง ระหว่างนี้อะไรที่ยังเอาจากเขาไม่ได้ก็ส่งเสริมให้เข้มแข็ง แล้วค่อยวันหน้า ไม่ใช่ทุกคนต้องไปเอามาเพื่อเข้าระบบภาษีให้ได้ทั้งหมด ไม่ได้อยู่แล้ว ขอเพียงแค่ขึ้นทะเบียนไว้เท่านั้นเอง มีรายได้มากน้อย ก็ว่าตามนั้น วันหน้าท่านแข็งแรงขึ้นก็จะรู้ว่ามีคนอยู่ตรงนั้นเท่าไร มีเกษตรกรจริง ๆ เท่าไร อาชีพค้าปลีก ค้าส่ง รับจ้าง มีเท่าไร ก็จะได้จัดสรรงบประมาณได้เหมาะสม ไม่อย่างนั้นก็มีปัญหาอยู่แบบนี้ตลอด เพราะงบประมาณเราน้อย  ถ้าเมื่อไรเรารวย เข้มแข็ง ประเทศไทยมีรายได้มากขึ้น รับรองท่านสบายทุกคน แต่ต้องมีรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล
ที่ผ่านมานั้น ผมยังไม่มีการอนุมัติการปรับขึ้นอัตราภาษีแต่อย่างใด อย่าให้ใครเขามาบิดเบือน แต่ผมอธิบายให้ท่านเข้าใจว่าระบบภาษีเราเป็นอย่างไร เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาเท่าไร การจัดเก็บเป็นอย่างไร วันหน้าควรจะเป็นอย่างไร สร้างความรู้ไปก่อน แต่วันนี้ขออย่างเดียวว่าปี 59 การเสียภาษีของสถานประกอบการทั้งหมดต้องเป็นไปตามอัตรา กรุณาอย่าหลีกเลี่ยง หรือทุจริตในเรื่องนี้โดยเด็ดขาด ทั้งเจ้าหน้าที่ด้วย ทั้งเอกชนทั้งอะไรต่าง ๆ ที่มีผลการประกอบการขอให้เสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้าไม่อย่างนั้นผมจะตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ถ้ามีข้อสงสัยบริษัทใดก็แล้วแต่ อย่างนั้นผมช่วยไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมาย แล้วผมก็ยืนยันว่าเงินภาษีที่เก็บไปนั้นพยายามจะใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดในการพัฒนาประเทศ เพราะผมเองไม่ได้มุ่งหวังรายได้ หรือะไรจากท่านเลย จากงบประมาณแผ่นดินเลย เพราะทำอย่างนั้นไม่ได้ ไม่ถูกต้อง การพัฒนาทุกโครงการของรัฐบาลนี้จะต้องมีความโปร่งใสและเป็นธรรม ผมก็ฝากไว้อีก ก็ต้องฝากข้าราชการไปด้วยข้าราชการก็ต้องหลายคน หลายส่วนอาจจะมีความคิดเดิม ๆ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของท่าน ไม่อย่างนั้นท่านก็เจริญเติบโตก้าวหน้าไปไม่ได้เพราะท่านทำร้ายประเทศของท่าน
สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 1800 Mhz ที่ผ่านมาก็ต้องขอขอบคุณ กสทช. และกระทรวง ICT รวมถึงภาคธุรกิจเอกชน นักวิชาการ และทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่ทำให้เกิดการประมูลที่มีการแข่งขันอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม มีรายได้มากพอสมควร ตอนนี้ก็ยังไม่มีข้อมูลว่ามีการทุจริต ก็เป็นตัวอย่างที่ดี ในการที่จะดำเนินโครงการต่าง ๆ ของรัฐ แต่ทั้งนี้ฝากให้ส่วนที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักว่าประชาชน เป็นนโยบายของผมอยู่แล้วว่าต้องได้ประโยชน์สูงสุด จากอัตราค่าบริการ ถึงแม้ว่ามูลค่าในการประมูลจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มากก็ตาม แต่ภาระจะต้องไม่ไปตกอยู่กับประชาชนโดยเด็ดขาด อันนี้ผมประกาศไว้อยู่แล้ว สมเหตุสมผล ไม่สร้างภาระ ประกาศมาแล้วว่าต้องถูกไปกว่าเดิม จะมีหลายคนไปบิดเบือนว่าเดี๋ยวต้องแพงขึ้น เพราะว่าประมูลมากขึ้น เดี๋ยวจะผลักภาระให้ประชาชน ผมสั่งว่าไม่ให้ผลักภาระ รู้สึกว่าใน TOR การประมูลมีเขียนไว้แล้วว่าจะต้องไม่ทำให้ราคาค่าบริการแพงขึ้นกว่าเดิม ต้องถูกกว่าเดิม แล้วท่านประธาน กสทช. ก็ชี้แจงไปแล้ว ให้เป็นไปตามนั้น ขอขอบคุณ เราจะต้องปฏิรูปไปสู่การแข่งขันที่เป็นธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของการเดินหน้าประเทศในลักษณะ เศรษฐกิจ ดิจิตอล ขอให้ดำเนินการต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขอร้องรัฐวิสาหกิจ หรือสหภาพต่าง ๆ ต้องเอาประโยชน์โดยรวมมาก่อน แล้วท่านก็ได้เอง แต่ถ้ายังขัดขวางทุกวัน ก็ไปไม่ได้ แล้วก็ล้มไปทั้งหมด พอล้มทั้งหมด ท่านก็ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ แล้วจะอยู่กันอย่างไร รัฐบาลก็ไม่มีเงินมาอุดหนุนอีกแล้ว ผมพยายามจะพูดให้ท่านเข้าใจวงจรของเขาว่าเชื่อมโยงอะไรกันบ้าง
เรื่องการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อันนี้ผมกราบเรียนว่ามาตรการทางภาษีเป็นมาตรการที่ทุกประเทศในโลกนี้เขาก็ทำกัน ในเรื่องของการเพื่อจะส่งเสริมการลงทุนบ้าง หรือจะทำให้เกิดธุรกิจที่มีความเชื่อมโยง เกิดธุรกิจต่อเนื่องอะไรเหล่านี้ ต้องทำ แล้วเป็นสิ่งที่รัฐบาลปกติ ถ้าไม่เกิดการลงทุนใหม่ ๆ ขึ้นมาภาษีเก็บไม่ได้อยู่แล้ว วันนี้เราจะมีมาตรการสร้างแรงจูงใจ ที่ต้องแข่งขันกับต่างประเทศเขา นี่เขาแข่งกันทุกประเทศ อาเซียนก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน เราก็ต้องทำ เราก็ต้องปรับบ้าง แล้วถ้าปรับมาแล้ว เขามาลงทุนประเทศเรา เราก็จะมีรายได้ภาษีในช่วงต่อไปมากขึ้น ถ้าไม่ทำอะไรเลย ไม่ให้เขาเลย เขาก็ไม่มา เมื่อไม่มาก็เก็บภาษีไม่ได้อยู่แล้ว ไม่ได้เสียหายอะไรเลย อย่าให้ใครเขามาบิดเบือน ว่าเราไปตามใจเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุนรายใหญ่ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นการขับเคลื่อนประเทศ ถ้าเขามาทำได้ ภาษีกลับมาที่รัฐ ต่อไปธุรกิจเชื่อมโยงก็เกิดขึ้น ในภาคการผลิต วัตถุต้นทุนในประเทศก็ดีขึ้น พี่น้องเกษตรกรก็ดีขึ้น เพราะฉะนั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาทั้ง ใหญ่ กลาง เล็ก SMEs วันนี้ Micro SMEs ที่เขาพูดกันก็คือร้านค้าปลีก ร้านค้าส่งทั้งหมด โชว์ห่วยด้วยทั้งนั้น ถ้าท่านขึ้นทะเบียน ก็รู้ว่ามีกี่แห่ง มีกี่ที่ ไม่ต้องกลัว เดี๋ยวเราก็สอนให้ในเรื่องของการจัดทำภาษี ระบบภาษี สอนให้ การทำบัญชีทุกคนกลัวหมด เพราะไม่เคยทำ แต่ทุกคนอยากได้เงินทุนไปขยายการประกอบการ บางอย่างไม่ควรจะทำ ไม่มีศักยภาพเพียงพอ ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น แล้วมาจดทะเบียน รัฐบาลก็จะได้นำให้ อะไรให้ วันนี้ท่านสังเกตเห็นผมจัดการไหม ตลาดอะไรก็แล้วแต่ ตลาดคลองผดุงฯ ก็เป็นเรื่องของการแมชชิ่ง ทั้งทุน ทั้งผู้ประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม แล้วก็การดีไซน์ ต่างๆ เหล่านี้ทั้งนั้น ให้ความรู้ แล้วก็สร้างวงจรขึ้นมาใหม่ ทำให้มีผลผลิตโดยรวม รายได้สูงขึ้น ผมไม่อยากให้ทุกคนมองว่า รัฐจะเสียรายได้ เรื่องโน้นเรื่องนี้ เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปอย่างไร เวลาการเปลี่ยนแปลง ถ้าเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของอนาคตด้วย ก็จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น
ต่อไปเป็นเรื่องที่เราให้สิทธิการลงทุน ผมก็มีการประชุม BOI อีกครั้งหนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับเรื่องสร้างความเข้าใจกับภาคเอกชน นักลงทุนต่าง ๆ ว่าคำว่า “เศรษฐกิจพิเศษ” คำว่า คลัสเตอร์ (Cluster) ก็คืออยู่ในกลุ่มเดียวกัน คือเขตเศรษฐกิจชายแดนปีนี้ 6 แห่ง ปีหน้าอีก 5 แห่ง ใน 6 แห่งนั้น ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดก็ตามที่ประกาศออกไปแล้ว ต้องมีทั้งพื้นที่ชายแดนด้วย อยู่ในคลัสเตอร์ตัว มีตั้ง 6-7 กิจกรรม แต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันออกไป ในลักษณะที่เป็นความเชื่อมโยง เพราะฉะนั้นอย่าไปสับสน อันแรกที่ผมอยากทำความเข้าใจก็คือ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” เดิมเราใช้คำว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จริง ๆ แล้วถ้าอยู่ใกล้ชายแดน ก็อยู่ตรงนี้อยู่แล้ว อย่าเอาเรื่องการค้าชายแดนมา คนละอันกัน การค้าชายแดนทำกันอยู่แล้ว ช่องทาง จุดผ่านแดน ชั่วคราว ถาวร มีหมดอยู่แล้ว แต่ตรงนี้เราต้องการส่งเสริมกิจกรรมที่เราต้องการ แล้วเรามีศักยภาพ แล้วก็มุ่งเน้นการเจริญเติบโตในภูมิภาคแถบนั้น หรือจังหวัดกลุ่มนั้น เพราะฉะนั้นอันแรกคือเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่เป็นคลัสเตอร์ หรืออาจจะมี ซุปเปอร์คลัสเตอร์ อาจจะอยู่ในพื้นที่ใดทั้งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษก็ได้ หรือจะอยู่ในพื้นที่ที่สามารถมีการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดี เพียงพอ ไฟฟ้า ประปา ถึง อะไรถึง เพราะถ้าหากว่านักลงทุนจะมีความต้องการสร้างอะไรตรงนั้น ก็มาติดต่อกับทางรัฐบาล รัฐบาลก็จะหาทางว่าจะสนับสนุนให้เกิดขึ้นให้ได้ เช่นเมือง Rubber City เมืองการศึกษา หรือการวิจัยพัฒนา เหล่านี้ เราต้องสร้างแรงจูงใจทั้งหมด อันที่สองแล้ว เขตเศรษฐกิจพิเศษ คลัสเตอร์ ซุปเปอร์คลัสเตอร์ แล้วอีกอันก็คือเรื่องการค้าชายแดน ใช่ไหม ทุกอย่างแตกต่างกันหมด แต่ไม่เข้าตรงนี้ จะไปเข้าตรง BOI BOI คือตรงไหนก็ได้ที่สามารถจะลงทุนได้ มีทั้งนิคมอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมใช่ไหม แล้วนิคมเอกชนวันนี้ก็มีหลายแห่งอยู่แล้ว มีหลายอย่าง ถ้าไม่เข้าใจกัน ก็ไปไม่ได้ แต่ละอันมีความแตกต่าง สิทธิประโยชน์แตกต่างกันทั้งภาษีนิติบุคคล ทั้งการลงทุนในปี 58-59  แล้วก็เริ่มก่อสร้าง มีสินค้าอะไรออกมาตั้งแต่ปี 50 นี่เราจะให้เป็นพิเศษ เพราะรัฐบาลนี่ยังอยู่อย่างไร ถ้าเริ่มอย่างนี้ได้ ก็จะไปได้ ขอให้ช่วยกัน ภาคเอกชนต้องมาร่วมด้วย ประชารัฐ
เรื่องของการศึกษาการศึกษาอุตสาหกรรมใหม่ วันนี้เรามาดูกันว่า อุตสาหกรรมเก่าเราเพียงพอไหม กว่า 30 ปีมาแล้ว การลงทุน BOI สมัยก่อนนี้ 20 ปี 30 ปีมาแล้วก็เริ่มล้าสมัย ต้องเปลี่ยนเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต เพื่อจะไปแข่งขันกับเขา มีวิวัฒนาการใหม่ ๆ วันนี้ต้องทำใหม่ ของเก่าก็โอเค สร้างงาน สร้างอาชีพ แต่ต้องทำให้ดีขึ้น ทันสมัยมากขึ้น เปลี่ยนเครื่องจักรให้ดีขึ้น รัฐบาลก็ไปดูเรื่องภาษีเครื่องจักร แต่อุตสาหกรรมใหม่ที่เราต้องการส่งเสริมในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาที่เราไม่เคยเปลี่ยนมาเลย เราต้องเปลี่ยนใหม่ ให้มีการขยายตัวในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้น เพราะน้อยมากที่ผ่านมา 10 ปี เม็ดเงินลงทุนก็ลดลงไปทุกปี เพราะเขาย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านหมด เพราะฉะนั้นประเทศไทยต้องพัฒนาเพิ่ม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่การเป็นฐานการผลิตใหม่ที่ทันต่อความต้องการของโลก แล้วก็เชื่อมโยงอาเซียนด้วยกัน ผมไม่ได้หวังว่าไทยจะต้องร่ำรวยที่สุด แต่อาเซียนอื่น ๆ เขาไม่ เขาต้องไม่เท่าเรา ผมว่าถ้ายกกันไปทั้งหมดนี่ อาเซียนรวมกันได้จำนวนมหาศาล เพราะเราเป็นทั้งฐานการผลิต เป็นทั้งตลาดในตัวไปด้วย เพราะฉะนั้นผมถึงได้วางแนวทางการลงทุนว่าต่อไปนี้จะเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าไปสู่อนาคตสร้างความสมดุลในภาคอุตสาหกรรม ในเรื่องของคน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และการกระจุกตัวของกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการกระจายการลงทุนไปทุกภูมิภาค
รัฐบาลก็วางเป้าหมายจากเดิม ต่อยอดที่มีอยู่แล้ว เช่นยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกอัจฉริยะ การท่องเที่ยว แล้วก็การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร โดยจะมีการพัฒนาเชื่อมโยงไปสู่การเพิ่มโอกาสของอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต เช่น หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร การขนส่งและการบิน เชื้อเพลิง เคมีชีวภาพ และดิจิตอล ซึ่งหากเราสามารถพัฒนาต่อยอดเดิม แล้วไปตามเป้าหมายเหล่านี้ได้ ผมคิดว่าจะช่วยทำให้มีเม็ดเงินลงทุนและรายได้เข้าประเทศในอนาคตเพิ่มขึ้นอีกมากมาย อาจจะไม่ทันรัฐบาลผม แต่รัฐบาลหน้านี่เต็มที่เลย ถ้าเกิดขึ้นได้จริง เขาจะได้มีเงินในการพัฒนาประเทศ นักการเมืองเข้ามา ที่มีคุณภาพเข้ามา รัฐบาลมีธรรมาภิบาล ก็ไปได้หมด จะได้ไม่กลับมาสู่วังวนเก่า ๆ วันนี้เราเตรียมการทุกเรื่องแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม กฎหมายต่าง ๆ ให้ทันสมัยเป็นสากล มีมาตรการทางการเงินการคลังไว้รองรับ จะต้องไม่เสียหายระยะยาว โดยวันนี้มีทั้ง BOI มีทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีซุปเปอร์คลัสเตอร์ แต่ทั้งนี้อย่าลืมเศรษฐกิจชุมชน SMEs ที่เป็นเครือข่ายของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าทำได้เราจะมีเครือข่ายที่จะสร้างรายได้ให้กับภาพรวมของประเทศเราด้วย ประชาชนก็มีส่วนตรงนั้นด้วย ไม่ใช่นักลงทุนได้อย่างเดียว คนรวยได้อย่างเดียว เพราะไม่ทำอย่างที่ผมว่า ถึงเป็นอย่างเดิม ทำใหม่ ขอให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป ข้าราชการต้องรู้ ไม่อย่างนั้นอธิบายเขาไม่ได้ ก็สับสนไปหมด คืออะไร ผมถามแล้ว บางทีเขามาขอผมภาคเอกชนเขาถามผมเรื่องนี้เรื่องนั้นว่าอย่างไร ตกลง ผมสั่งไปตั้งปีหนึ่งแล้ว แล้วเขาก็ทำมาแล้ว กฎหมายแก้มาแล้ว แต่ทำไมไม่เกิดการลงทุน เพราะเขาไม่เข้าใจ ฉะนั้นการให้ข้อมูลข่าวสารสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศวันนี้ต้องปรับท่าที ปรับการทำงานอย่างที่ผมว่าซึ่งทำไปแล้ว
วันนี้สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ผมเห็นว่าเป็นความจำเป็น ผมได้สั่งการมานานแล้ว วันนี้ดีใจได้เปิดตัวโครงการ “Gov Channel ศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน” วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูลและบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต การเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชนทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกท้องถิ่น อย่างทั่วถึง เท่าเทียมกัน ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อจะเข้าถึงบริการที่จำเป็น การใช้งานเหล่านี้ถูกออกแบบให้ง่ายต่อการใช้ มีทั้งในโทรศัพท์ใช่ไหม แล้วในตู้ อันนี้ลองไปศึกษาดู ใช้ประโยชน์ให้ได้ วัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อการบูรณาการของข้าราชการ ข้ามกระทรวง ข้ามหน่วยงานในกิจกรรมอันเดียวกันต้องดูข้อมูลซึ่งกันและกัน จะบอกว่าทำของตัวเอง แต่มีผลกระทบกับคนอื่น เพราะฉะนั้นข้อมูลเหล่านี้จะได้ไปแชร์กันอยู่ในนี้ ท่านจะได้มาปรับการทำงาน เขาเรียกว่าบูรณาการ แผนงานจะได้ไม่ซ้ำซ้อน ไม่เกิดการรั่วไหล ในส่วนของประชาชนก็ต้องเรียนรู้ ถ้าเราให้ความรู้แก่เขา เรื่องนี้ เรื่องการค้าการลงทุน ความรู้หรือว่าเกษตรกรก็รู้เรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องการพัฒนา เรื่องที่มีปราชญ์ชาวบ้านทำสำเร็จมาแล้วนี่ ลองเปิดเข้าไปดู ถ้าคิดว่าต้องการอะไรเพิ่มเติมมากกว่านี้ ก็กรุณาบอกรัฐบาลมา แจ้งมาที่ผม มาที่สำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้ หรือมาตามศูนย์ดำรงธรรม แต่ตอนนี้อยากให้ท่านทดลองใช้ดูก่อน ตามลิงค์ด้านล่างนี่ (www.govchannel.go.th)
สัปดาห์หน้า วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ผมขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทย รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยการร่วมบริจาคทุนทรัพย์กับมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย ในโครงการก่อสร้าง “อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ซึ่งเป็นอาคารรักษาพยาบาลผู้ป่วย ด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุครบวงจร ซึ่งจะสามารถรองรับผู้ป่วยวิกฤตให้การรักษาได้ทันท่วงที และลดการสูญเสีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพี่น้องประชาชนผู้ใจบุญ สามารถร่วมบริจาคสมทบทุนได้ ที่มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ (มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บริจาคได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ โทรศัพท์ 02345 3699 และ 02354 3914 หรือในรายการพิเศษทางสถานีวิทยุกองทัพบก ช่อง 5 ในวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ระหว่างเวลา 22.20 – 00.15 น. โทรศัพท์ 02270
ผมขอให้ทุกท่าน ทุกหน่วยงาน ในสังคมไทย ได้ตระหนักถึงเรื่องของความรุนแรง หลายคนอาจจะเคยชิน เพราะบ้านเราขัดแย้งมานาน จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ต่อความเชื่อมั่นไว้วางใจ จากสากลด้วย เด็กเป็นอนาคตของชาติ สตรีก็เป็นผู้อ่อนแอ ถึงแม้ว่าหลายคนจะบอกว่าสตรีเข้มแข็งขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังเป็นเพศอ่อนแอ เพศอ่อนแอในเชิงพฤตินัย แต่ในทางจริง ๆ แล้วอาจจะเข้มแข็งกว่าบุรุษบางคนด้วยซ้ำ ผมชื่นชมคนเข้มแข็ง ผู้ชายที่เข้มแข็งแล้วชอบรังแกผู้หญิงและเด็ก ผมถือว่าไม่ใช่ผู้ชาย แล้วเราทำอย่างไรจะยุติความรุนแรงให้ได้ การละเมิด การทารุณ ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ การเอารัดเอาเปรียบ สามารถแจ้งเหตุได้ที่ OSCC (One Stop Crisis Center) ศูนย์ช่วยเหลือสังคมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้ง ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (สายด่วน 1111) หรือศูนย์ดำรงธรรม (สายด่วน 1567) ขอร้องว่าอย่าโทรไปรบกวนเลย โทร. ไปบางคนก็โทรไปสนุกสนาน เจ้าหน้าที่ก็ไม่ไหว คนเขาเดือดร้อนก็ไม่ได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ เพราะสายไม่ว่าง
สุดท้ายนี้ ช่วงนี้มีการระบาดของไข้เลือดออก ผมก็ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุข โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดช่วยกันสำรวจ รณรงค์ ให้ประชาชนช่วยกันทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก หรือในที่สาธารณะทั่วไป ขอให้โรงพยาบาลทุกแห่ง เข้มงวดการตรวจรักษาโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ วินิจฉัยโรคให้ถูก ใช้ยาให้ถูกต้อง เพราะบางทีมาแล้วอาการหนัก เพราะว่าได้รับการรักษาขั้นต้นไม่ตรงกับโรคที่เป็นมา วันนี้ผมได้ให้รัฐมนตรีสาธารณสุขไปพัฒนาการ ในเรื่องของการวินิจฉัยโรคของแพทย์ พยาบาลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนี่ ว่าทำอย่างไรจะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย ผมไม่ได้โทษหมอ พยาบาล เพียงแต่ว่าบางครั้งการวินิจฉัยโรคก็ยาก ขึ้นอยู่กับคนไข้ด้วย ถ้าสามารถรู้ตัวเองก่อนว่าอาการแบบนี้จะเป็นอะไรคล้าย ๆ อะไร ต้องสร้างการรับรู้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนตื่นตระหนกไปทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่คนเรานี่มักจะเชื่อมั่นตัวเองว่าแข็งแรง ออกกำลังกาย เสร็จแล้วพอเป็นอะไรแบบนี้ขึ้นมาก็ซื้อยากินเอง นี่อันตราย จะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต โดยไม่จำเป็น อยากให้ดูแลพี่น้องประชาชนอย่างใกล้ชิด ข้าราชการทุกคนต้องเรียนรู้ว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร ยุงลายนอนไม่ให้ยุงกัด รู้ตัวว่าป่วย ไม่สบายก็ปรึกษาแพทย์ ไปหาหมอถ้าอาการหนัก เพราะหลายอย่างบางทีแก้ไขไม่ทัน ไม่ใช่เฉพาะไข้เลือดออก เพราะบางทีเราไม่รู้ตัวอย่างไร แล้วเราแข็งแรง โรคเข้ามาในตัว สะสมมากเกินไป รักษาไม่ทัน ต้องรู้ว่าอาการระยะแรกเป็นอย่างไร แต่ละโรค แค่นั้นพอแล้ว แล้วไปหาหมอ วันนี้ถ้าหากว่าใครพบ หรือใครสงสัยก็ให้ไปพบแพทย์ ไปพบสำนักงานสาธารณสุข เราก็มีกระบวนการในการที่จะดูแลรักษาภายใน 24 ชม. อยู่แล้ว ขอให้ดูแลสุขภาพกันด้วย
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ เป็นห่วงพี่น้องจริง ๆ ด้วยความรัก จากใจผม รัฐบาล และ คสช. ก็คิดถึงกัน เป็นกำลังใจให้กัน สวัสดีครับ

ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

" ติวสอบดอทคอม "  โดย อ.นิกร 

เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(พัฒนาความรู้เตรียมครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม