หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ

เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)

-1.ปฎิทินและเกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ.ปี 2558

3.เครื่องแบบพนักงานราชการ  2557
-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557 

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว 
โดย สมศ.

ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่ล่าสุด

 ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

  (  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 


   คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557-2558 

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ
รายการคืนความสุขให้คนในชาติ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558 เวลา 20.15 น.

สวัสดีครับ พี่น้องประชาชนที่รักทุกคน
ก่อนอื่น ผมขอแสดงความห่วงใยไปยังพี่น้องประชาชนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาภัยหนาวอยู่ ผมได้สั่งการให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือไปแล้ว ต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนทั้งภาคธุรกิจ องค์กร เอกชนต่าง ๆ ที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัยในครั้งนี้ สำหรับวันนี้ มีอยู่หลายประเด็นที่ผมอยากจะเรียนชี้แจงเพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชน
เรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
ผมได้จัดตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม             เข้าด้วยกัน โดยคณะกรรมการนี้ จะทำงานควบคู่ไปกับคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ที่จะมุ่งเน้นในเรื่องของการปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ ในวันพุธที่ผ่านมาได้มีการประชุมนัดแรกและที่ประชุมมีมติในการวางกรอบการทำงานแก้ไขปัญหาทุจริตออกเป็น 4 ด้านด้วยกันเรียกง่าย ๆ ว่า นโยบาย 4 ป. ก็คือ
ด้านการป้องปราม เป็นการวางมาตรฐานการป้องกันต่าง ๆ เช่น การแก้ไขระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง การนำมาตรการจัดซื้อจัดจ้างสากลมาประยุกต์ใช้ ข้อตกลงสัญญาคุณธรรม (Integrity Pact) และ การแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ เช่น เพิ่มบทลงโทษให้ครอบคลุมทั้งผู้ให้และผู้รับ เพิ่มมาตรการดำเนินการกับข้าราชการที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น และการปฏิรูปโครงสร้างรัฐวิสาหกิจเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น
ด้านการปราบปราม รัฐบาลทราบดีว่าพี่น้องประชาชนมีความห่วงใยต่อปัญหาคอร์รัปชั่น และอยากเห็นคดีความทุจริตต่าง ๆ มีข้อยุติโดยเร็ว ซึ่ง คสช. และรัฐบาล กำลังเร่งรัดติดตามความคืบหน้าของคดีทุจริตคอร์รัปชั่นหลายคดี ที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว เปิดช่องทางให้ประชาชนทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติ สามารถแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดในเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น ผ่านศูนย์รับแจ้งเบาะแสของทำเนียบรัฐบาลและส่วนราชการต่าง ๆ
ด้านการปลูกจิตสำนึก ประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกันในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยต้องร่วมกันเป็นหูเป็นตา แจ้งเบาะแส โดยเฉพาะสื่อมวลชนต้องช่วยเป็นสื่อให้ทุกคนและสังคมทราบถึงการกระทำผิด และ ป. สุดท้าย ในด้านการประชาสัมพันธ์ ให้รับรู้ รับทราบทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับเรื่องของการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
จากการพบปะหารือกับตัวแทนนักธุรกิจหลายกลุ่ม เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ก็เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าเศรษฐกิจในโลกปีนี้มีแนวโน้มชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านการส่งออก และการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจะกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ให้เม็ดเงินเหล่านั้นเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อภาคธุรกิจนักลงทุนต่าง ๆ
สำหรับปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุนที่มีความล่าช้านั้น จะให้คณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนระดับจังหวัด ที่เรียกว่า กรอ. จังหวัด คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) ที่มีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ได้เข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันเร่งรัด ผลักดันการเบิกจ่ายในงบลงทุนในโครงการต่าง ๆ ทั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น ก็ให้ติดตามเรื่องนี้ต่อไป
การจัดระเบียบสังคม มีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความเป็นระเบียบเรียบร้อย การทำธุรกิจสีเทาที่ไม่ถูกกฎหมาย (เศรษฐกิจสีเทา) และในเรื่องของการประชานิยมที่ไม่ถูกต้อง หลังจากวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมานั้น คสช. และรัฐบาลได้มีการปฏิรูปโครงสร้างในหลาย ๆ ด้าน ได้กำหนดนโยบาย วางแนวทางในการปฏิบัติ ในเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความยั่งยืน โดยการลดโครงการประชานิยมต่าง ๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์สร้างความเสียหายให้กับระบบการเงิน การคลัง การปราบปรามคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง และจัดระเบียบสังคม
การจัดระเบียบถนนหนทาง การบุกรุกที่ดิน การปราบปรามยาเสพติด ผู้มีอิทธิพลและการพนัน อาจจะทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากพอสมควร เม็ดเงินเหล่านั้นส่งผลกระทบโดยตรงให้กับผู้มีรายได้น้อยที่มีอาชีพในการหาเช้ากินค่ำ แต่ในเรื่องนี้การปราบปรามสิ่งผิดกฎหมายเหล่านี้นั้น เป็นสิ่งจำเป็น ที่เราจำเป็นต้องยุติให้ได้เพื่อปรับโครงสร้างประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน และหาอาชีพ รายได้ให้กับประชาชนทุกพวก ทุกฝ่าย ในทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย และดีขึ้นต่อไปในระยะเวลาอันสั้น พยายามทำเต็มที่ในเรื่องนี้ 
การสร้างความเข้มแข็งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ เพื่ออนาคต
เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทย ขาดการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการผลิต และภาคการเกษตรมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันรัฐบาลกำลังเดินหน้า ในการสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งให้แก่พี่น้องชาวเกษตรกรในระยะยาว เช่น การส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ อีกทั้งจะเป็นการผลิตตามความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นที่นิยมสินค้าเพื่อสุขภาพ อาจจะทำให้ผลผลิตนั้นได้ราคาดี
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้สั่งการให้มีการพัฒนาตลาดกลางสินค้าการเกษตรชุมชนในท้องที่ เพื่อให้เกษตรกรสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงกลไกตลาดและกำหนดราคาที่เหมาะสมด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ผู้บริโภคก็สามารถไปซื้อสินค้าที่สดใหม่ได้โดยตรงจากผู้ผลิตในราคาที่เป็นธรรม เป็นพื้นที่ที่ผู้ผลิตสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ต่าง ๆ ในการที่ผลิตสินค้าเกษตร เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอีกทางหนึ่ง  สำหรับคนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้แรงงาน พ่อค้าแม่ขาย ก็สามารถที่จะเดิน ขี่จักรยาน ขับรถไปยังตลาดที่อยู่ใกล้ ๆ ประหยัดทั้งเวลาค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้อีกด้วย นอกจากนั้น ยังมีการดำเนินการในเรื่องของการ โซนนิ่ง การกำหนดพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูก การจัดตั้งธนาคารปุ๋ย ธนาคารเมล็ดพันธุ์ การจัดหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อจะส่งออกสินค้าการเกษตรเหล่านี้ เป็นต้น
ในปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้ง “ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน” รวมทั้งหมด 882 แห่งในทุกอำเภอทั่วประเทศ 1 อำเภอ 1 ศูนย์ ซึ่งกรมส่งเสริมฯ ได้นำเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” มาใช้ในพื้นที่ชลประทาน  ภาคกลาง 20 จังหวัด พบว่าชาวนานั้นสามารถลดปุ๋ยเคมีได้ 47% และผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีก 7% ต้นทุนในการปลูกข้าวลดลงเฉลี่ย 400-500 บาท  เพื่อจะแก้ปัญหา “ปุ๋ยผิด ปุ๋ยปลอม ปุ๋ยแพง” อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้การเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ” อีกกว่า 800 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อเป็นช่องทางให้ความรู้สนับสนุนการเกษตรให้กับพี่น้องเกษตรกรเติบโตได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
การพัฒนาฝีมือแรงงาน ผมรับทราบมาตอนนี้นั้น ปัญหาสำคัญของภาคธุรกิจมาก เนื่องจากแรงงานของเราขาดแคลนในทุกภาคอุตสาหกรรม หากเราไม่มีการเตรียมการ ไม่มีการพัฒนาแรงงาน ปัญหาแรงงานดังกล่าวจะทวีมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการประกอบการ รัฐบาลได้อนุมัติโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานไปแล้วหลายโครงการ ผ่านทั้งกระทรวงเกษตรฯ ในเรื่องของการอบรมความรู้ต่าง ๆ ให้เกษตรกร  กระทรวงศึกษา และกระทรวงแรงงานไม่ว่าจะเป็นในระดับอาชีวะ หรืออุดมศึกษา ในการฝึกอบรมเพิ่มทักษะในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการพัฒนาอาชีวะศึกษา ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เตรียมการสู่ AEC ได้มีการจัดทำความร่วมมือทวิภาคีระหว่างสถานศึกษา และผู้ประกอบการในการผลิตแรงงานฝีมือ ไปฝึกที่โรงงานเลย เป็นการใช้เครื่องไม้ เครื่องมือ และมีตัวอย่าง แบบอย่าง หรือมีเครื่องยนต์ เครื่องจักรที่ให้ฝึกได้โดยตรง ทั้งนี้ เพื่อจะเตรียมการป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ต้องการภายในประเทศ ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี และเน้นย้ำจุดยืนที่ว่านักเรียนอาชีวะนั้น จะต้องเป็นกลุ่มที่สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทย
เรื่องการส่งเสริมการลงทุน ได้มอบหมายให้ BOI ไปพิจารณาปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาจจะต้องมีการอนุญาตให้สามารถนำเข้าแรงงานได้ หากมีความจำเป็นและไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงและมีผลกระทบต่อแรงงานในประเทศ ก็เป็นที่จำเป็น ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดรับ AEC ในปลายปีนี้
การลงทุนผ่านนั้นของ BOI มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก แต่เราต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง หลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ก็มีโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 1,080 โครงการ รัฐบาลได้มีการอนุมัติโครงการไปแล้วกว่า 1,050 โครงการ คิดเป็นเม็ดเงินลงทุนประมาณ 680,000 ล้านบาท
สำหรับต้นปีนี้ การท่องเที่ยว ถือเป็นเครื่องมือหลักที่จะนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้เร็วที่สุด รัฐบาลโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดทำโครงการท่องเที่ยววิถีไทย Discover Thaines เพื่อรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย จะทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง ต่อผลิตภัณฑ์ สินค้าและการบริการต่าง ๆ ของไทย ซึ่งจะนำรายได้มาสู่ชุมชนและท้องถิ่น เช่น สมุนไพร เครื่องสำอาง ยาพื้นบ้าน อาหาร ผ้าไหม สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
นอกจากนี้ ได้สั่งการให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้มีการพัฒนาท่าจอดเรือสำราญ ท่าเรือยอร์ช ที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดอื่น ๆ เป็นรูปธรรม ที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นช่องทางใหม่ในการเปิดรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งการพัฒนาตลาดน้ำ โดยการพัฒนาคูคลองให้น้ำใส เพื่อจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ และต่อเนื่องกับชุมชนที่เป็นวิถีไทยด้วย
การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศที่จะต้องเตรียมการ ไว้ในวันนี้นั้น ทุกภาคส่วนเห็นตรงกันว่าต้องรีบดำเนินการในเรื่องการวางรากฐานโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง หลายโครงการมีความคืบหน้าไปมากแล้ว เช่น เส้นทางรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง เป็นระยะทาง 873 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการแล้วในหลายด้าน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในไตรมาส 3 ของปีนี้
ส่วนของรถไฟฟ้าในหลายเส้นทาง ได้ก่อสร้างไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ - ตลิ่งชัน สายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน และส่วนต่อขยายต่าง ๆ เช่น สายสีเขียวเข้ม แบริ่ง-สมุทรปราการ สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค ก็ได้มีความคืบหน้าไปมาก
สำหรับท่าอากาศยานหลายแห่ง ได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงไปแล้ว เช่น ท่าอากาศยานภูเก็ต ก็คาดว่าการปรับปรุงจะแล้วเสร็จ ภายในเดือนมิถุนายนปีนี้ ส่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 และการสร้างทางวิ่งสำรองนั้น กำลังอยู่ในกระบวนการขั้นตอนการออกแบบเพื่ออนุมัติโครงการ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปีหน้า
การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง และการพัฒนาศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ก็จะให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ทันภายในกลางปี 2558
โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเชื่อมต่อจุดยุทธศาสตร์หลักที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค โดยจะเชื่อมต่อกับด่านชายแดนที่สำคัญ ที่ติดต่อกับเพื่อนบ้าน ซึ่งรัฐบาลมีแผนที่จะพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ขณะนี้ได้มีการอนุมัติพื้นที่เป้าหมายไปแล้ว 5 พื้นที่นำร่อง บวกหนองคายด้วย ทั้งนี้ จะมีการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ในการลงทุน จัดตั้งศูนย์ one-stop service  ให้ง่ายต่อการติดต่อและการพัฒนาสาธารณูปโภคต่าง ๆ โดยมีการเชื่อมโยงทุกภาคส่วนของประเทศเข้ากับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนนี้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาภูมิภาคอาเซียนของเราก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ ช่วยเอกชนที่ไปลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวนั้น ได้รับความสะดวกในการผ่านแดนของแรงงาน ซึ่งได้มีการดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น เตรียมการในเรื่องการสแกนบัตรแรงงานที่ข้ามฝั่งเข้ามาทำงานแบบเช้าไปเย็นกลับในเขตชายแดนหลายพื้นที่ อันนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนของผู้ประกอบการที่จะเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานตามเขตแนวตะเข็บชายแดน ทั้ง 2 ฝั่ง เลย ในเรื่องค่าแรง ค่าใช้จ่าย แล้วก็คงต้องมีการจัดเตรียมที่พักให้กับแรงงานด้วย
นอกจากเรื่องของโรงงานแล้ว ก็คงเป็นเรื่องของการจัดตั้งเป็นศูนย์รวบรวมสินค้า แลกเปลี่ยนสินค้ารับซื้อผลิตผลทางการเกษตรประเทศเพื่อนบ้านด้วย เพื่อจะนำมาปรับปรุงคุณภาพและส่งออกประเทศที่ 3 หรือนำมาเป็นวัสดุต้นทุนอย่างที่เคยกราบเรียนมาแล้ว
เรื่องของการพัฒนาขีดความสามารถทั้งหมดนี้ ก็ได้สั่งการไปหมดแล้ว ทุกภาคส่วนจะต้องดูแลให้เกิดขึ้นโดยเร็ว และทั้งนี้จะต้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ มีความต่อเนื่องสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ต่าง ๆ รวมไปถึงการโซนนิ่งพื้นที่ ที่จะต้องทำการเกษตร ชลประทาน อุตสาหกรรมแล้วก็การพัฒนาเมือง พัฒนาสถานศึกษาในเขตภูมิภาค  ทุกอย่างจะต้องมีความสอดคล้องกันทุกด้าน สามารถจะเชื่อมโยงไปสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษได้ ส่วนราชการนั้น ต้องบูรณาการร่วมกัน หากต่างคนต่างทำนั้น ก็จะทำให้เกิดการแบ่งแยกผลประโยชน์แล้วก็เกิดความไม่ทั่วถึงแล้วก็ทำไม่ได้เพราะกฎหมายก็มีอยู่หลายตัว เพราะฉะนั้นต้องพยายามทำให้ได้ อะไรเกิดก่อนได้ก็เป็นสิ่งที่ดี ทุกคนต้องคำนึงถึงประเทศชาติเป็นหลัก เราต้อง นำร่องให้ได้ในปีนี้ให้ได้
รัฐบาลจะมีหน้าที่ในการวางรากฐานสนับสนุน จัดหางบประมาณ จัดหาผู้ลงทุนร่วมเพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาในภูมิภาคต่อไป ซึ่งในขณะนี้ภาคเอกชนก็หลาย ๆ แห่งก็ได้เสนอมาแล้วว่าพร้อมที่จะสนับสนุนร่วมการลงทุนให้กับรัฐบาลนี้ด้วย เพื่อจะให้ทุกภาคส่วนเจริญเติบโตไปได้ด้วยกันได้อย่างยั่งยืน ดูแลลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชนตามแนวชายแดนหรือในพื้นที่ที่ห่างไกล
เรื่องแรก การกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำ รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาหลายประเด็นด้วยกัน ได้แบ่งออกเป็นทั้งระยะสั้น ระยะเร่งด่วน ทำทันที และระยะยาวที่ต้องวางรากฐานให้แก่ประเทศในอนาคต  ในระยะสั้นนั้นดำเนินการไปแล้ว เช่น การช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ชาวนา ชาวสวนยาง การจ่ายเงินไร่ละหนึ่งพันบาท ก็จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จให้ได้โดยเร็ว อย่างไรก็ตามในเรื่องของการวางรากฐานระยะยาวนั้น รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ เช่น การปฏิรูปโครงสร้างภาษีที่จะช่วยในการกระจายรายได้ ภาษีมรดก หรือภาษีอื่น ๆ ทั้งระบบก็อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ภาษีที่ดินปลูกสร้าง ที่ดินสิ่งปลูกสร้างก็อยู่ในการพิจารณารายละเอียดของกระทรวงการคลัง แล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย รวมไปถึงการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการ ลูกจ้างที่มีรายได้น้อย  การเพิ่มเงินดูแลผู้เกษียณอายุ คนชรา ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้เป็นภาระการเงินการคลังของประเทศ
ทั้งนี้ เพื่อจะเป็นการลดความเหลื่อมล่ำทางสังคม รัฐบาลก็ได้ดำเนินการต่าง ๆ อาทิเช่น การเข้าถึงทรัพยากร เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นที่พักผ่อน ท่องเที่ยวและออกกำลังกายสำหรับประชาชนโดยทั่วไป ที่ผ่านมานั้นพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยานั้น จะถูกยึดครองอยู่อาศัย ใช้ประโยชน์โดยคนกลุ่มน้อยอาจจะผิดกฎหมายด้วย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเข้าไม่ถึง ก็จะจัดให้มีถนนคนเดิน และมีสวนสาธารณะ ให้เป็นพื้นที่ให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงในพื้นที่ที่เป็นริมแม่น้ำเจ้าพระยาก็คงจะเป็นการออกแบบในชั้นต้นแล้วก็นำขออนุมัติ ครม.จัดสรรงบประมาณก็ขอความร่วมมือจากภาคเอกชน ภาคประชาชนด้วย ในเรื่องนี้ด้วย ถ้าเราไม่ทำวันนี้ก็จะมีผลในวันหน้า เราต้องดูแลประชาชนทุกพวกทุกฝ่ายให้ได้ แล้วจะทำอย่างไรให้สอดคล้องในเรื่องของการป้องกันริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย ตลิ่งที่จะพังทลายต่อไปในอนาคต ก็ต้องแก้ปัญหาทั้งหมด เพราะเป็นผลผูกพันต่อเนื่องกันมายาวนาแล้ว
เรื่องที่สอง การพัฒนาเส้นทางจักรยานเพิ่มเติม ในทุกพื้นที่ที่ผ่านมานั้น เราก็ได้เริ่มไปแล้วในเส้นทาง นำร่อง ที่เราได้ไปร่วมกันขี่จักรยานในวันที่ผ่านมา วันนี้ก็เพิ่มเติมไปหลายที่ทุกจังหวัดแล้ว ขณะนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกระทรวงอื่น ๆ ก็มีการจัดขบวนคาราวานจักรยาน ก็ร่วมกันในการขี่เข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน ในเส้นทางที่ปลอดภัยต่อไป
เรื่องที่สาม การช่วยเหลือเรื่องด้านคดีความ เช่น ในการผลักดันพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การดำเนินคดีแบบกลุ่มในการฟ้องร้องคดีที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการเปิดช่องของกฎหมาย ช่วยเหลือผู้เสียหายที่เป็นจำนวนมาก รวมฟ้องคดีและดำเนินคดีในคราวเดียวกัน  เพื่อจะคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ได้รับความเสียหายอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ให้รวดเร็วทันเวลาด้วย
เรื่องที่สี่ การจัดตั้งกองทุนยุติธรรมสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยที่จะต้องเข้าต่อสู้ในคดีความ ก็ดำเนินการไปแล้ว
เรื่องที่ห้า การจัดทำ “นาโนไฟแนนซ์” ให้เป็นแหล่งเงินกู้ โดยได้เชิญสถาบันการเงินต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการ ปล่อยเงินกู้สำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย วงเงินรายละไม่เกิน 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือนหรือร้อยละ 36 ต่อปี อันนี้ก็เฉพาะผู้ที่เดือดร้อน เพราะถ้าไม่เดือดร้อนก็อย่าไปกู้เลย วันนี้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมาก การใช้บัตรเครดิตอะไรต่าง ๆ ก็มีปัญหาหมด เพราะฉะนั้นภาคเศรษฐกิจก็ต้องดูด้วยขีดความสามารถในการใช้หนี้อะไรต่าง ๆ เป็นปัญหาทั้งหมด ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อย มีปัญหาแล้วก็ถ้าหากว่าเราแก้ไขหนี้ได้ เขาก็จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขจัดปัญหาผู้มีอิทธิพล ปล่อยเงินกู้เอารัดเอาเปรียบ ดอกเบี้ยสูงผิดกฎหมาย  และก็มีกฎหมายออกมาแล้ว ในเรื่องการดูแลทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้เหล่านี้
เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมในเรื่องการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ แล้วก็มีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการในหลาย ๆ เรื่อง เช่น เรื่องของการประมง ให้กรมประมงเร่งทำข้อตกลง MOU กับประเทศในภูมิภาค  การจดทะเบียนและการติด GPS เรือประมง การห้ามการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีในภาคการประมง และไม่ต่ำกว่า 15 ปี ในภาคการเกษตร  ได้มีการติดตามเร่งรัดคดีในเรื่องของการค้ามนุษย์ การค้าประเวณี เด็กและสตรี แรงงานบังคับ ขอทาน เพื่อให้ได้ข้อยุติ และนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
เรื่องของการพัฒนาการศึกษา ได้เน้นทั้งการปรับปรุงระยะสั้น ทำทันที และระยะยาว ก็คือการปฏิรูปโครงสร้าง  สำหรับการปรับปรุงระยะสั้นนั้น  ก็ได้สั่งการให้มีการใช้เทคโนโลยี การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อจะยกระดับคุณภาพเนื้อหาของการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลที่ขาดแคลนครู ให้มีคุณภาพเท่าเทียมกับพื้นที่ในเมือง ได้กำชับให้ครูผู้สอนนั้น เป็นผู้นำเนื้อหาเหล่านั้นมาอธิบายเพิ่มเติมมาสอนนักเรียน ไม่ใช่เปิดทีวีให้นักเรียนดูแล้วครูก็ไม่ได้อยู่ด้วยอะไรทำนองนี้ ไม่ได้ แล้วจากผลที่มีการประเมินโดยโพลล์ต่าง ๆ ก็ได้แสดงให้เห็นว่า การที่ใช้ทางไกลผ่านดาวเทียม  การสอนทางไกลนี้ ทำให้นักเรียนที่มีฐานะยากจน อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีโอกาสมากขึ้นในการเข้าศึกษา
นอกจากนี้ เราก็ดูแลนักเรียนที่มีฐานะไม่ร่ำรวยอะไร จะได้มีโอกาสมากขึ้นในการเข้าศึกษาสถานที่ศึกษาที่มีชื่อเสียง กำลังดูอยู่ว่าจะทำอย่างไร เพราะบางโรงเรียนก็มีค่าแป๊ะเจี๊ยะ ก็คงเป็นนโยบายของแต่ละโรงเรียน ซึ่งเขาก็มีการพัฒนา อาจจะมากกว่าโรงเรียนของรัฐ หรือว่าโรงเรียนที่ไม่ได้มีการแย่งการเข้ารับการศึกษา ก็เป็นมาตรการของเขาเหมือนกัน จะทำอย่างไรเท่านั้นเองให้คนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียม เป็นหลักการก็พยายามให้กระทรวงศึกษาไปหาทางแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น ระยะยาว ให้เกิดความทั่วถึง เท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำทั้งโรงเรียนกวดวิชาด้วยอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ มีปัญหาหมด เพราะฉะนั้นทุกคนพยายามทำเต็มที่ในตอนนี้ อาจจะต้องล่าช้าไปบ้าง เพราะต้องใช้เวลาแก้ระบบทั้งระบบ
เรื่องการแก้ปัญหาโครงสร้างราคาพลังงานนั้น ในการดำเนินงานที่ผ่านมานั้น ทราบอยู่แล้วทำให้กลไกบิดเบือนราคาพลังงานในตลาดไม่ตรง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันกับแก๊ส วันนี้รัฐบาลก็ต้องนำงบประมาณต่าง ๆ ที่เป็นงบประมาณของกองทุนพลังงาน บางอย่างต้องกลับไปเป็นภาษีสรรพสามิตเพื่อเป็นงบประมาณของรัฐด้วยและบางอย่างก็ยังต้องอุดหนุนในเรื่องของเชื้อเพลิงบางประเภท เพราะว่าเราต้องดูแลคนยากคนจนด้วย ก็ขอให้อดทนไประยะหนึ่ง หลาย ๆ อย่างก็จะเข้าที่เข้าทางเอง
เพราะฉะนั้น วันนี้เรานึกถึงคนจนอยู่แล้ว เราไม่อยากจะไปนำงบประมาณไปอุดหนุนเชื้อเพลิงบางชนิดมากเกินไป ทำให้เกิดการใช้พลังงานผิดประเภท ไม่ประหยัด ไม่เข้าใจ ทำให้เกิดภาวะในการต้องนำน้ำมันดิบเข้ามาหรือแก๊สเข้ามาเป็นจำนวนมากขึ้น เกินความต้องการ  ความจริงแล้วเราใช้เงินประเทศก็ไม่มากมายเท่าไรนัก แต่ถ้าหากว่าเราจะต้องนำไปอุดหนุนแล้ว ก็มีการลักลอบนำไปขายในประเทศเพื่อนบ้านอีกคือปัญหา อย่างไงเราก็คุมไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราต้องสะท้อนต้นทุนแท้จริง ความต้องการแท้จริง ไม่อยากจะให้ส่งผลกระทบต่อการสร้างภาระหนี้สินของประเทศ
ในช่วงก่อนที่รัฐบาลนี้จะเข้ามานั้น กองทุนน้ำมันติดลบถึง 3 หมื่นล้านบาท ขอย้ำ วันนี้รัฐบาลก็รักษาสมดุลดังกล่าวได้ ก็ทำให้กองทุนน้ำมันกลับมามีค่าเป็นบวก เราจะทำให้มีเงินที่จะรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน วันหน้าก็ไม่แน่ว่า จะขึ้นจะลงอีกเท่าไร ไม่ให้ผันผวนมากนัก ถ้าเกิดขึ้นมาเราจะได้มีเงินก้อนนี้ไว้แก้ปัญหาก่อน ก่อนที่จะปรับราคาทำให้ประชาชนเดือดร้อน
นอกจากนั้น ได้จัดทำแผนพลังงานแห่งชาติใหม่ มีสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ด้านการผลิตไฟฟ้าให้มีดุลยภาพ ให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน ให้มีการใช้ทั้งเชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานทดแทนต่าง ๆ ลม น้ำ แสงแดด วันนี้เราใช้พลังงานเหล่านี้ ทั้งแก๊สและน้ำมันประมาณ 70% ซึ่งสูงเกินไป เพราะฉะนั้นวันนี้เราก็พยายามที่จะไปสู่การใช้ถ่านหินบ้าง พลังงานทดแทนบ้าง เพราะยังมีปัญหาอยู่หลายเรื่องประชาชนก็ยังไม่ยอมรับ วันนี้ก็ต้องไปดูสิว่าทำอย่างไรจะปลอดภัย ทำอย่างไรไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้
ผมว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำได้หมดแล้ว เพียงแต่ว่าเราต้องยอมรับกันแล้วก็ดูแลกันว่า จะทำอย่างไร ไม่เช่นนั้น เราก็ต้องเสียเงินในค่าการสั่งแก๊สจากต่างประเทศ น้ำมันดิบจากต่างประเทศมากลั่นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการไม่ประหยัดงบประมาณของประเทศ
เรื่องการปรับปรุงกฎหมาย รัฐบาลได้จัดลำดับความเร่งด่วน ความสำคัญในการเร่งนำกฎหมายเข้าสู่การพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่เราจะต้องมีตามพันธะสัญญาที่ทำไว้กับต่างประเทศ กฎหมายที่จะอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน กฎหมายที่ล้าสมัย กฎหมายที่จะลดความเหลื่อมล้ำ เช่น กฎหมายมรดก กฎหมายที่เป็นสัญลักษณ์ กำลังอยู่ในวาระ 2 ของคณะกรรมาธิการซึ่งกำลังพิจารณาอยู่
รัฐบาลก็ให้ข้อสังเกตไปแล้วถึงความห่วงใย ว่าจะทำอย่างไร การจัดเก็บภาษีมรดกนั้น ควรจะต้องมีข้อยกเว้นหรือไม่ สำหรับผู้ที่รับมรดกไปแล้วไม่ได้ขายต่อ จะต้องจ่ายภาษีอย่างไรหรือไม่ต้องจ่ายอย่างไร ไปพิจารณาดู เช่น การรับมรดกบ้านเก่ามาแต่ยังอยู่อาศัยหรือรับมรดกที่นามาแล้ว ยังทำกินทำเกษตรต่อจะทำอย่างไร แม้กระทั่งการโอนกันไปก่อนช่วงนี้ ที่หลาย ๆ คนมีข่าวว่า มีการโอนในช่วงนี้ช่วงนี้เพื่อจะหนีภาษีมรดก ก็ให้ไปทบทวนทั้งหมด
เพราะฉะนั้นกฎหมายทุกกฎหมายทุกคนสามารถที่จะไปเสนอข้อคิดเห็นหรือส่งความเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการได้ เพราะต้องเข้าพิจารณาถึง 3 วาระด้วยกัน กฎหมายใด ๆ ที่จะเป็นกฎหมายให้เกิดปัญหานั้น เราก็ชะลอไว้ก่อน เช่น กฎหมายที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการลงทุน ทำให้การลงทุนลดลง ไม่เกิดความเชื่อมั่นในธุรกิจต่าง ๆ เพราะฉะนั้นกฎหมายที่จะออกให้เร็วก็จะต้องเป็นกฎหมายที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้กับทุกพวกทุกฝ่าย ในส่วนที่มีรายได้มากก็อาจจะเดือดร้อนบ้าง รายได้น้อยคิดว่าคงไม่เดือดร้อน ไม่มีใครเขาอยากจะออกกฎหมายให้คนมีรายได้น้อยเดือดร้อน
เพราะฉะนั้น อยากจะขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในเรื่องนี้ด้วย พยายามทำความเข้าใจกันด้วย รัฐบาลก็พร้อมจะรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย ขอให้มีเหตุมีผล ไม่เห็นด้วยก็ขอให้มีการเสนอทางออกหรือทางเลือกอื่น ๆ ให้เราได้พิจารณา ไม่ใช่ต่อต้านทุกวัน  ไปไม่ได้ ประเทศชาติจะมีปัญหาไปทั้งหมด เรื่องของการแก้ไขหรือการออกกฎหมายนั้น มีขั้นตอนของกฎหมาย ทุกคนอาจจะยังไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นมีโอกาสที่จะรับฟังข้อพิจารณา ข้อสังเกต ให้ความคิดเห็น แต่อย่างไรก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของชาติเป็นหลัก อย่าให้เกิดความขัดแย้งมาอีกเลยในการที่จะเดินหน้าประเทศ
อีกประเด็นที่เป็นเรื่องถกเถียงกันในช่วงนี้ คือเรื่องการถอดถอนหรือไม่ถอดถอน ผิดหรือไม่ผิด ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  วันนี้ก็ขอทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่า การที่จะทำผิดกฎหมายนั้น คงต้องแยกแยะ ปนกันไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม ผิดถูกอย่างไร ถูกจริยธรรมหรือไม่ถูกอย่างไร ผิดกฎหมายอย่างไร ก็ว่ากันมา จะมีกฎหมายที่ผิดทั้งอาญา ผิดทั้งแพ่ง และผิดทางการเมือง อันนี้สังคมต้องแยกแยะ อย่าให้ใครมาปลุกระดมให้เกิดความไม่เข้าใจกันอีก ต้องเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน บางครั้งกฎหมาย อาจจะมีช่องทางที่ทำให้เกิดการต่อสู้กัน ทั้งถูกและผิด เพราะฉะนั้นความสามารถหรือคุณสมบัติของ สนช. สปช. อะไรต่าง ๆ ที่เราเข้าไปทำงานในเวลานี้ สังคมต้องพยายามเข้าใจ
เรื่อง การประชาสัมพันธ์ และการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ถือเป็นนโยบายที่ผมและรัฐบาลได้พยายามปรับปรุงมาโดยตลอด ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ขอขอบคุณที่หลายส่วนจำนวนมากส่วนใหญ่เข้าใจ ในเรื่องของการรณรงค์ให้ทุกหน่วยงานส่วนราชการได้มีการประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง ให้ประชาชนได้รับรู้รับทราบว่า รัฐได้ทำอะไรไปบ้างให้กับประชาชน ประชาชนได้อะไร ติดต่อราชการอย่างไร ได้รับการอำนวยความสะดวกอย่างไร ผมคิดว่าวันนี้อาจจะยังไม่ประสบความสำเร็จไป 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งสำคัญก็คือ อยากให้ประชาชนรับรู้ รับทราบให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติว่า  จะทำอย่างไรเขาถึงจะได้ประโยชน์ ทำอย่างไรเขาจะเข้าใจรายละเอียดที่รัฐบาลทำไว้แล้วมีอะไรบ้าง แล้วเขาจะมีส่วนร่วมตรงไหน ไม่ว่าจะเป็นกองทุน การช่วยเหลือ การร้องเรียน การเข้าถึงกฎหมาย แม้กระทั่งการขอรับความช่วยเหลือต่าง ๆ เราออกไปมากมายหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน และก็พยายามชี้แจงทั้งหลังการประชุม ครม. ทั้งโดยโฆษกต่าง ๆ
ผมคิดว่าต่อไปนี้ทุกกระทรวงคงจะต้องชี้แจงให้มากขึ้น คือในรายละเอียด ผมพูดในหัวข้อนโยบายที่สั่งการไปทุกครั้ง ทุกกระทรวงไปปฏิบัติ ก็ต้องขับเคลื่อน ต้องอธิบาย ต้องทำความเข้าใจ ประชาชนก็พยายามฟังบ้าง เพราะถ้าท่านไม่ฟังก็ไม่รู้อะไร เพราะฉะนั้นขอร้องสื่อทุกสื่อ ช่วยกันเผยแพร่ ช่วยกันสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนโดยรวมด้วย ต้องกว้างขวางและลึก เพียงพอ ทั้งในด้านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงในเวลานี้ ในเรื่องที่ประชาชนหรือเอกชนต้องรับรู้และรับทราบ เพื่อจะปฏิบัติตนให้ถูกต้อง เรื่องกฎหมายด้วย สื่อมวลชนต้องช่วยรัฐบาลด้วย เพราะถ้ามีความผิดขึ้นมาว่า กฎหมายที่ออกไปใหม่ ๆ หรือกฎหมายที่มีผลในทางอาญาเหล่านี้ บางทีเราจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ทราบ คงไม่ได้ กฎหมายได้ระบุไว้ชัดเจน ประชาชนนั้นจะปฏิเสธกฎหมายไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องติดตาม ก็มีทั้งส่วนดีและส่วนที่จะเป็นอันตรายกับพวกเราก็คือไม่รู้ เพราะไม่รู้ นอกเหนือจากนั้นเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ให้สังคมอยู่กันได้นั้นคือกฎหมายหลักการ ขอให้ช่วยกันทุกช่องทาง
เรื่องการเดินหน้าประเทศร่วมกัน รัฐบาล สนช. สปช. ภาคประชาชน ประชาสังคมต้องช่วยกันทั้งหมด รับฟังความคิดเห็น พูดคุยแลกเปลี่ยนในทุกมิติ ในเรื่องของความมั่นคงด้านพลังงานนั้น เรื่องการให้สัมปทานครั้งที่ 21 นั้น ก็เป็นมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งรัฐบาลจะนำมาหารือว่าจะออกมาอย่างไร แต่สิ่งสำคัญก็คือ ข้อมูลจะต้องถูกต้อง ข้อมูลที่พูดกันอะไรกัน จะต้องถูกต้องและเข้าใจกัน ในเรื่องของทางปฏิบัติเป็นเรื่องของ ครม. เป็นเรื่องของกระทรวงพลังงาน ที่จะต้องรับผิดชอบในเรื่องของการดำเนินการต่อไปให้ถูกต้อง เพียงพอ และไม่ให้ประสบปัญหาในเรื่องของวิกฤตด้านพลังงานในอนาคต ต้องใช้เวลาในการเตรียมการยาวนานหลายปีกว่าจะลงทุนได้ กว่าจะตัดสินใจได้ว่า ใครจะทำใครจะเริ่ม กว่าจะขุดเจาะ กว่าจะสำรวจแล้วก็ขุดเจาะ กว่าจะกลั่นออกมา ไม่ใช่ไม่ต้องลงทุนใหม่ ต้องใช้เวลาและสร้างความเชื่อมั่น อันนี้ก็ขอให้ใจเย็น ๆ กันบ้าง
เรื่องของการอนุรักษ์พลังงาน และความมั่นคงพลังงาน นั้น ผมอยากจะเรียนว่าต้องไปด้วยกัน อนุรักษ์พลังงานคือใช้อย่างประหยัด มีพลังงานทดแทน อะไรก็แล้วแต่ ในด้านความมั่นคงพลังงานหลายท่านไม่เข้าใจว่า อะไรคือความมั่นคง และพลังงานความมั่นคง คือทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่หรือเปล่านั้น ไม่ใช่ แต่ความมั่นคงแทรกอยู่ในทุกระบบ เศรษฐกิจก็ต้องมีความมั่นคง มีเสถียรภาพ บ้านเมืองปลอดภัย เศรษฐกิจถึงจะดี ในเรื่องของความมั่นคงพลังงาน ก็หมายความว่า ประเทศไทยนั้นต้องไม่ขาดแคลนพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะยาวก่อน ระยะสั้นคือ ไฟฟ้าจะต้องไม่ดับ เพราะไฟฟ้าเป็นแหล่งเกิดพลังงานอื่น ๆ อีกด้วย เพราะฉะนั้นทำอย่างไรวันนี้เราต้องพึ่งไฟฟ้าจากหลายพื้นที่ด้วยกัน  1. จากพลังงานน้ำของเราเอง จากเขื่อน วันนี้ก็ผลิตได้น้อยลง 2. คือรับซื้อจากต่างประเทศ ถ้าเขาไม่ขายมาแล้วทำอย่างไร เกิดความขัดแย้งแล้วจะทำอย่างไร ในเรื่องของแก๊สเหมือนกัน ถ้าเราหวังพึ่งคนอื่นเขามาก ๆ ไปซื้อมาแล้วมาทำเอง อะไรเอง ต้องซื้อวัสดุมา วันหน้าถ้าเขาไม่ขายแล้วจะทำอย่างไร เกิดความขัดแย้งทั้งโลกในวันหน้า นั่นคือความมั่นคงด้านพลังงาน ความหมายของผมก็คือ เราจะต้องมีแหล่งพลังงาน หรือมีการเตรียมการด้านพลังงานไว้ทดแทนเมื่อยามขาดแคลน เมื่อยามเกิดปัญหาโดยทันที โดยไฟฟ้าไม่ดับ วันหน้าถ้าเราไม่เตรียมไว้อย่างนี้ไฟฟ้าดับได้ ถูกปิดท่อ แค่ซ่อมท่อก็แย่แล้ว ทุกวันนี้หรือราคาสูงขึ้น เหล่านี้จนเรารับไม่ได้จะทำอย่างไร อย่าคิดว่าไม่เกิดขึ้น เราต้องคิดในสิ่งที่เป็น Worst Case ไว้ด้วย เราจะต้องเตรียมการให้พร้อม เพราะฉะนั้นเราอาจจะไม่สามารถอยู่ได้ถ้าไม่มีการลงทุนอะไรไว้เลย แม้ว่าจะอนุมัติไปแล้ว เปิดสำนักงานไปแล้ว ก็อาจจะทำไม่ได้ก็ได้ ต้องใช้เวลา และศึกษาผลกระทบต่าง ๆ ทั้ง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อังกฤษ: Environmental Impact Assessment : EIA) และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA) ต่าง ๆ อีกมากมาย ใช้เวลา เพราะฉะนั้นถ้าเราช้าไปเรื่อย ๆ อนาคตเราที่มีความเสี่ยงด้านพลังงานก็สูงขึ้น อาจจะเผชิญกับการขาดแคลนพลังงาน วันหน้ามีปัญหาความขัดแย้งมากมาย ซึ่งวันนี้โชคดีที่ยังไม่เข้ามาในภูมิภาคของเรา ก็ห่างไกลอยู่ แต่ก็มีผลกระทบเรื่องเศรษฐกิจอยู่แล้วในวันนี้
เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็ต้องมาวางรากฐานเรื่องนี้ให้ดี  มีความขัดแย้งกัน เรื่องอะไรต่าง ๆ ก็ต้องแก้ไขกัน รับฟังกันบ้าง นำข้อมูลที่ถูกต้องมาหารือ มาพูดคุย ถ้าเอามูลที่ไม่ถูกต้องมาพูดคุยหารือก็สร้างความเชื่อไปอีกคนละแบบ เพราะฉะนั้นคงจะต้องให้กระทรวงพลังงานมาชี้แจงให้ทราบว่าเป็นอย่างไรกันแน่ ไม่อย่างนั้นไม่เกิดประโยชน์อะไรกันเลย
เรื่องการทุจริตนั้น อย่าเป็นห่วงมาก ทุกฝ่ายก็พยายามร่วมกันตรวจสอบ คนทำความผิดต้องดำเนินการ ก็ว่ากันไปตามความผิด วันนี้ก็ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการติดตามทุกเรื่องอยู่แล้ว ทั้งในส่วนของ คสช. และรัฐบาล ทุกระเบียบ ทุกกฎหมายดำเนินการอยู่ คงจะได้ผลมาโดยเร็วเรื่องทุจริต แต่ในระหว่างที่ตรวจสอบก็ขอให้เดินหน้าไปด้วยแล้วกัน ทั้งเรื่องงบประมาณ การลงทุน การก่อสร้างอะไรต่าง ๆ อย่าให้ล่าช้า ถ้าช้าไปก็ถือว่าไม่มีประสิทธิภาพด้วยข้าราชการ เอกชนก็ต้องไม่ไปร่วมมือ ต้องไม่ไปสมยอมกัน อะไรกันไม่ได้ เร่งให้ออกให้เร็ว เพราะเข้าไตรมาสที่ 1 - 2 แล้ว ขอให้เร่งดำเนินการ การเบิกจ่ายงบประมาณ เบิกไปแล้วการจัดซื้อจัดจ้างก็ยังช้าอยู่ ผมก็ไปดูว่าจะทำอย่างไร ก็ให้ขับเคลื่อนให้เร็ว
เรื่องวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” 2015 – 2020 ที่ผมกล่าวไว้ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” 2015 - 2020 ขอให้พี่น้องประชาชนชาวไทยได้เข้าใจ และมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2558 เป็นปีแรก ถึงปี 2563 ประเทศไทยจะต้องมีความ “มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” ในทุกมิติ ทั้งในเรื่องของเสถียรภาพ ความสงบสุข เรื่องเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง เรื่องการใช้จ่าย มีการจัดหางบประมาณเข้ามาพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ในการที่จะแก้ปัญหาทั้งในเรื่องของการดูแลสาธารณูปโภค การดูแลสุขภาพ การศึกษา มากมาย ต้องใช้เวลาทั้งสิ้น
วันนี้ประเทศไทยรายได้ค่อนข้างจะลดลง ภาษีต่าง ๆ ก็ลดลง ต้องชะลอตัวกันทั้งหมด ต้องลงทุนให้มากขึ้น หารายได้ให้มากขึ้น วันนี้ก็มีอย่างเดียวที่เข้ามาคือกองทุนน้ำมัน ผมเรียนข้อเท็จจริง อย่างอื่นยังไม่เข้ามาเลย การเก็บภาษียังทำไม่ได้เต็มจำนวน เพราะว่าเศรษฐกิจชะลอตัว ต้องเห็นใจรัฐบาลด้วย เราต้องพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของอาเซียน หลาย ๆ เรื่องที่เรามีความได้เปรียบอยู่ ถ้าเราเริ่มลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานให้เร็ว การคมนาคม ถนน ราง การขนส่งทางอากาศ ทางน้ำ ต้องใช้น้ำมันทั้งสิ้น เร็วมากก็ไม่ได้ ก็เป็นปัญหา เราก็วางแผนระยะยาวไว้ และก็ทำเป็นขั้นเป็นตอนไปแล้วกัน มีเงินเท่าไหร่ก็ทำเท่านั้นก่อน
เราจะต้องทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนให้ได้ โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ระหว่างประเทศ (IHQ) และบรรษัทการค้าระหว่างประเทศ (ITC)  เป็นศูนย์กลางทางการเงิน ศูนย์กลางการกระจายสินค้า มีอุตสาหกรรมแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อจะรองรับผลผลิตของเกษตรกรต่าง ๆ ทั้ง 17 ล้านคนของประเทศ เป็นศูนย์กลางในการยกระดับการศึกษาของเด็กไทยและต่างชาติ ในลักษณะความร่วมมือระหว่างกัน ในการเพิ่มการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ๆ ในกระบวนการผลิต ในระบบอุตสาหกรรมของเรา ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ สร้างเสริมการค้าการลงทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับเกษตรกรให้มีการรวมกลุ่มพัฒนาอย่างเข้มแข็งยั่งยืน
ประเทศไทยนั้น มีโอกาสที่จะเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ Organic มี Brand มีทั้งสมุนไพร เครื่องสำอาง ยาพื้นบ้าน โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนา เพื่อจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  นวัตกรรมใหม่ ๆ  ที่เป็นสิ่งต้องการทั้งในประเทศ ในอาเซียน และในโลกด้วยมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การแพทย์รักษาพยาบาล เป็นศูนย์กลางของสถานพยาบาลของอาเซียนก็ได้ ทั้งหมดเรามีความพร้อมเกือบทั้งหมดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจะทำได้ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจของพวกเราทุกคน ในการที่จะสร้างประเทศไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน มีความร่มเย็น น่าอยู่ น่าอาศัย เป็นที่รักของประชาชนของคนทั้งโลก เพราะฉะนั้นคนไทยต้องรักกัน สามัคคีกัน และเข้าใจกัน เผื่อแผ่แบ่งปันกันให้ได้ ขอขอบคุณอีกครั้ง สวัสดีครับ

โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา) 
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkruthailand.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

  (  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม