หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟีเล กุญแจไขจุดกำเนิดระบบสุริยจักรวาล สกัดดาวหางล้างโลก

เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)

-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557 
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว 
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)

ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด

 ติวสอบ บน ยูทูป

  (  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 


   คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557-2558 

ฟีเล กุญแจไขจุดกำเนิดระบบสุริยจักรวาล สกัดดาวหางล้างโลก


อีกก้าวย่างสำคัญของมวลมนุษยชาติ สำหรับการไขปริศนาการกำเนิดระบบสุริยจักรวาล ภายหลังองค์กรอวกาศสหภาพยุโรป หรือ Esa ประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศ ฟีเล ลงจอดบนพื้นผิวดาวหาง 67 พี อย่างนุ่มนวล ซึ่งใช้เวลาในการจอดนานกว่า 7 ชั่วโมง เพื่อวิเคราะห์การโคจรของดาวหาง ต่อการพุ่งเข้าชนโลกในอนาคต รวมถึงการคิดกรรมวิธีในการเบี่ยงเบนดาวหางให้วิ่งออกจากวงโคจรโลก อีกทั้งเพื่อทำการสำรวจพื้นผิว โดยการเก็บเศษดิน ฝุ่นผง และแก๊สส่งกลับมาทำการวิจัยการไขเกิดระบบสุริยจักรวาลและศึกษาความคงทนของดาวหาง เปรียบเทียบกับโลกมนุษย์ 
อะไรคือดาวหาง 67 พี 
ดาวหาง 67 พี ถือเป็นกุญแจดอกสำคัญของต้นกำเนิดและความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ ถูกค้นพบโดยเซอร์ยูมอฟ เจราซีเมนโก ชาวรัสเซีย เมื่อปี 1969 ซึ่งมีแร่ธาตุและวัตถุเหมือนกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ รวมถึงโลกของเรา ซึ่งประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซออกซิเจน และก๊าซไนโตรเจน ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากหลักวิทยาศาสตร์ ดาวหาง 67 พี ดวงนี้มีพื้นผิวที่หนาวเย็น เป็นเสมือนน้ำแข็งเกาะอยู่บนชั้นภายนอก ซึ่งเป็นดาวหางที่เกิดจากดาวพฤหัสบดี ซึ่งจะใช้เวลาโคจรรอบระบบสุริยะเพียงแค่ 6-9 ปี
อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
กุญแจสำคัญไขความลับ ต้นกำเนิดระบบสุริยจักรวาล
ศ.ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของไทย และเป็นผู้มีส่วนร่วมในการออกแบบระบบลงจอดยานสำรวจดาวอังคาร เปิดเผยกับ ทีมเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ว่า การนำยานอวกาศ ฟีเล ลงจอดบนดาวหาง 67 พี เป็นเรื่องที่ชาวโลกต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกของวงการวิทยาศาสตร์และฟิสิกส์ ที่สามารถนำยานอวกาศลงจอดที่ดาวหางได้ เนื่องจากดาวหางมีสภาพผิวขรุขระ และขนาดเล็ก รวมทั้งเคลื่อนที่เร็วกว่าดาวเคราะห์ ทำให้การลงจอดถือเป็นเรื่องที่ยากมาก 
ศ.ดร.อาจอง กล่าวเพิ่มว่า ความสำคัญของดาวหาง 67 พี คือมีจุดกำเนิดพร้อมกับระบบสุริยจักรวาล และมีแร่ธาตุ วัตถุเดียวกันกับดาวเคราะห์และโลกมนุษย์ ดังนั้นการที่องค์กรอวกาศสหภาพยุโรป สามารถนำยานอวกาศ ลงไปสำรวจได้ถึงพื้นผิวดาวหางนั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ไม่ใช่เรื่องที่น่าตื่นเต้น เพราะน่าจะเป็นเพียงการทดสอบเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อแสดงศักยภาพความเจริญก้าวหน้าเท่านั้นเอง
ชัยวัฒน์ คุประตกุล
หาคำตอบไฉนโลกเปลี่ยนแปลง
ขณะที่ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล นักวิทยาศาสตร์และนักเขียนหนังสือแนววิทยาศาสตร์ชื่อดังของประเทศไทย เปิดเผยกับ ทีมเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ว่า ดาวหาง 67 พี เป็นกุญแจดอกสำคัญในการไขความลับปริศนาต้นกำเนิดของระบบสุริยะ อีกทั้งดาวหางดวงนี้ยังมีสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเปรียบเทียบกับโลกในปัจจุบัน ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งที่เกิดจากวัตถุและแร่ธาตุชนิดเดียวกัน นอกจากนี้ดาวหางดังกล่าวถูกสะสมด้วยความหนาของน้ำแข็ง และการจับตัวของฝุ่นละอองจนตกผนึกรวมกันเป็นก้อนใหญ่ ซึ่งมีขนาดศูนย์กลางกว่า 6 กิโลเมตร และใช้ระยะเวลาในการโคจรรอบระบบสุริยะเพียง 6-9 ปี ซึ่งตอนนี้ดาวหาง 67 พี ยังอยู่ห่างจากโลกและดวงอาทิตย์ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งจะเข้าใกล้โลกมากยิ่งขึ้น
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ดาวหาง 67 พี เป็นดาวหางที่มีแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นน้ำชนิดเดียวกันกับบนโลก เพราะฉะนั้นการส่งยานไฟลี ไปลงจอดบนดาวหางนั้น เกิดจากความสำเร็จขั้นสูงสุดขององค์กรอวกาศสหภาพยุโรป และเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์โลกที่สามารถนำยานอวกาศลงจอดบนดาวหางได้ เนื่องจากมีความยากตรงที่ ดาวหางมีขนาดเล็ก และมีผิวขรุขระ และมีพื้นเป็นหิน ซึ่งต้องใช้ความคิดกับระยะเวลาที่มีไม่มากในการนำยานอวกาศลงจอด
ดาวหาง 67 พี เป็นดาวหางที่โคจรด้วยแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดี ซึ่งมีปริมาณน้ำแข็งมากกว่าดาวเนปจูน
โดยปัญหาใหญ่ของการลงจอดบนดาวหาง 67 พี เกิดจากสภาพพื้นผิวที่แข็ง และวิ่งด้วยเร็วกว่า 18 กิโลเมตร ต่อ 1 วินาที ทำให้ยานอวกาศได้แต่วิ่งตามเป็นทางคู่ขนาน จนกระทั่งได้จังหวะการลงจอดจึงใช้ฐานเพื่อยึดพื้น แต่บนดาวหางมีแรงโน้มถ่วงน้อย ทำให้ถูกเหวี่ยงออกจากพื้นที่ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์และฟิสิกส์หลายราย ถึงกลับหน้าเครียดและระดมสมอง จนสุดท้ายนักวิทยาศาสตร์ต้องลุ้นเพราะใช้เครื่องมือเป็นเสมือนเหล็กแหลมเจาะเข้าที่พื้นผิวของดาวหาง ด้วยความลึกกว่า 20 เซนติเมตร ซึ่งสามารถผ่านพ้นอุปสรรคไปด้วยดี แต่เกิดปัญหาตามมาอีกระลอก เนื่องจากพื้นที่ลงจอดเป็นพื้นที่ไม่โดนแสงอาทิตย์และมีเงาบัง ทำให้ต้องกังวลถึงเรื่องการใช้งาน ซึ่งยานอวกาศจะสามารถใช้งานได้เพียง 7-8 เดือน
ทั้งนี้ องค์กรอวกาศสหภาพยุโรป มีเป้าหมายตั้งแต่ปี 2003 โดยการที่จะนำยาน โรเซตตา และยานไฟลี ติดตามไปด้วย เพื่อสำรวจดาวหาง 46 พี หรือ Wirpanen ซึ่งจะใช้ระยะกว่า 9 ปี ในการส่งยานไปถึงดาวหางดวงนี้ แต่เกิดติดปัญหาทางเทคนิคจากตัวยานอวกาศ และระบบการทำงาน จึงเบี่ยงเป้าหมายมาที่ ดาวหาง 67 พีแทน โดยยานอวกาศถูกปล่อยเมื่อปี 2004 โดยใช้ระยะเวลาในการสำรวจดาวอังคาร ดวงจันทร์ และดาวหาง 67 พี ตลอดระยะกว่า 10 ปี โดยมีการนำกลับมายังพื้นโลกเพื่อเติมเชื้อเพลิงพลังงาน และส่งกลับไปห้วงอวกาศอยู่หลายรอบ
นักวิทยาศาสตร์ กำหนดแผนที่ลงจอดของยานอวกาศ ฟีเล เพื่อความแม่นยำ โดยการถ่ายภาพจริงจากยานอวกาศ
ทรัพยากรใกล้หมด ถึงเวลาหาจากนอกโลก
วัตถุประสงค์อีกข้อ ของการส่งยานอวกาศขึ้นไปสำรวจดาวเคราะห์และดาวหาง นั้น ก็เพื่อไปนำแร่ธาตุต่างๆ กลับเข้ามายังโลก เนื่องจากปริมาณทรัพยากรในโลกมีปริมาณที่ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องหาทรัพยากรเข้ามาทดแทน ซึ่งประเทศที่มีการทำโครงการดังกล่าวมี สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ขณะที่ประเทศจีน อินเดีย และสหภาพยุโรปต่างเร่งดำเนินการเพื่อหวังกอบโกยแร่ธาตุจากห้วงอวกาศทั้งสิ้น การนำยานอวกาศลงจอดบนดาวหาง 67 พี เพื่อศึกษาค้นคว้าความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ และความคงทนในรูปของทรัพยากร เพื่อนำพัฒนาสิ่งผิดพลาดบนโลกมนุษย์ 
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า ชื่อของยานอวกาศ โรเซตตา เกิดจากสถานที่โบราณในอียิปต์ ซึ่งพบเป็นศิลาจารึกภาษากรีกโบราณ และภาษาอียิปต์รวมอยู่ด้วย จึงเป็นที่มาของการศึกษาเรื่องราวและภาษาจากศิลาจารึก ขณะที่ยาน ไฟเล เกิดจากชื่อหมู่เกาะในแม่น้ำไนน์ ซึ่งพบเป็นศิลาจารึกภาษาโบราณ และเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ในการสำรวจดาวหาง 67 พี ครั้งนี้เกิดจากการร่วมมือจากหลายประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งเดิมทีสหภาพยุโรปยังไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในเรื่องของการออกสำรวจอวกาศและดาวเคราะห์
ภาพจำลองการโคจรของดาวหาง 67 พี ในระบบสุริยจักรวาล
อีก 100 ปีข้างหน้า ดาวหาง 67 พี อาจโหม่งโลก
เป้าหมายการทำงานของ อีซา Esa องค์กรอวกาศสหภาพยุโรป เพื่อศึกษาวิจัยต้นกำเนิดของระบบสุริยะ และการสำรวจว่าสาเหตุใดที่ทำให้ดาวหาง 67 พี ไม่เกิดความเสื่อมโทรมเหมือนกับโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ซึ่งนอกจากการสำรวจพื้นผิวและสาเหตุการอยู่รอดและคงทนต่อสภาพแวดล้อมของดาวหางแล้ว ยังพบว่าได้มีการสำรวจการโคจรของดาวหาง 67 พี ต่อกรณีดาวหางและดาวเคราะห์จะพุ่งเข้าชนโลก ที่มักมีข่าวเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งด้วย ซึ่งกรณีของดาวหาง 67 พี นั้น มีความเป็นไปได้ว่า ในอีก 100 ปี ข้างหน้าอาจจะโคจรเข้าโหม่งโลกได้
รู้ไหม ดาวหางเคยพุ่งชนโลกจริง 
ทั้งนี้ สำหรับโลกของเรา เคยเกิดดาวหางพุ่งเข้าชนโลกเมื่อ 100 ปี ที่ผ่านมา ด้วยขนาดของลูกมีจุดศูนย์กลางกว่า 10 กิโลเมตร พุ่งเข้าชนโลกที่ประเทศเม็กซิโก สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างกว่า 200 กิโลเมตร แต่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ แต่หลังจากนั้นมาก็ไม่เคยเกิดเหตุการณ์ดาวหางหรือดาวเคราะห์ขนาดใหญ่พุ่งเข้าชนโลกอีกเลย 
เฉลยสารพัดวิธีสกัดดาวหางพุ่งชนโลก
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวเพิ่มว่า ปัจจุบันมีการคิดค้นเทคโนโลยี ผสมผสานไปกับการทำวิจัยในห้วงอวกาศในเรื่องของการมีสิ่งผิดปกติจะพุ่งเข้าชนโลก โดยมีวิธีใช้การยิงระเบิดนิวเคลียร์ สารเคมี กระจกเรืองแสงยักษ์ และการยิงเลเซอร์ ซึ่งทุกขั้นในการทำจะศึกษาและวิจัยลักษณะของดาวหางและดาวเคราะห์ที่จะเข้ามาใกล้โลก เพื่อความแม่นยำในการใช้เครื่องมือ แต่วิธีที่น่าสนใจที่สุดก็คือ วิธีการนำเอากระจกขนาดใหญ่ยักษ์ เข้ามาทำการสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ไปยังดาวหางหรือดาวเคราะห์ เพื่อให้เกิดการเผาไหม้และติดไฟ เป็นเสมือนการเร่งความเร็วและสามารถทำให้เบี่ยงเบนทิศทางได้ โดยวิธีการจะนำชิ้นที่มีคุณสมบัติเดียวกับกระจกขึ้นไปกับยานอวกาศและนำไปกางเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์ในห้วงอวกาศ 

ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา) 
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkruthailand.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม