หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ผลการประชุมกับหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา 16 มิ.ย.2557

เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)

- ระบบควบคุมภายใน 2557

- แนวทางการจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในประจำปี 2557

ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด


ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 


ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 144/2557ผลการประชุมกับหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา 16 มิ.ย.2557
ศึกษาธิการ - เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2557 นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.)  นายวัชรินทร์ จำปี ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ   นายวรัท พฤกษากุลนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการภาค 13   นายสนิท แย้มเกษร ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  และนายชาญ ตันติธรรมถาวร ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมแถลงผลการประชุมกับคณะทำงานฝ่ายสังคมจิตวิทยา เมื่อบ่ายวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

 ภาพ สถาพร ถาวรสุข
  • งบประมาณก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารสถานศึกษาใน จ.เชียงราย ที่ประสบเหตุแผ่นดินไหว
ปลัด ศธ.กล่าวว่า ศธ.ได้ของบกลางต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 332 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารสถานศึกษา 5 สังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ซึ่งมีการนำเสนอต่อที่ประชุม คสช.และให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว
ที่ประชุมขอให้ ศธ.พิจารณางบประมาณที่มีอยู่ เพื่อนำมาใช้ในภาวะจำเป็นเร่งด่วน หากงบประมาณไม่เพียงพอ ขอให้แจ้งสำนักงบประมาณต่อไป
  • องทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
ปลัด ศธ.กล่าวว่า ศธ.ได้เสนอขอเพิ่มจำนวนผู้กู้รายใหม่เป็นจำนวน 204,000 คน ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน กยศ.แล้ว จากนี้จะมีการติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงาน โดยเฉพาะผู้ที่กู้ยืมไปแล้ว จะผ่อนชำระคืนได้อย่างไร
ในการนี้ หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยาได้มอบแนวทางนโยบายว่า "ทำอย่างไรจึงจะกู้ได้ยาก ชำระคืนได้ง่าย" กล่าวคือ ผู้ที่จะมีสิทธิ์กู้เงิน ควรเป็นผู้ที่มีความจำเป็นต้องกู้และเดือดร้อนจริง รายได้ของครอบครัวต้องไม่เกิน 2 แสนบาทต่อปี และสาขาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ควรเป็นสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของประเทศ ดังนั้นจะต้องมีระบบคัดกรองเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความต้องการและมีความจำเป็นต้องกู้ ต้องมีช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้สะดวกมากขึ้น เช่น จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ธนาคาร หรือไปรษณีย์ เป็นต้น รวมทั้งจะต้องมีการติดตามผู้กู้ให้ชำระหนี้เป็นระยะ ทำให้เป็นระบบที่รัดกุมและรอบคอบมากขึ้น หากดำเนินการได้ตามนี้แล้ว กองทุน กยศ.จะกลายเป็นกองทุนที่หมุนเวียนได้ ไม่ต้องขอรับงบประมาณเพิ่ม
คณะกรรมการกองทุน กยศ. ได้รายงานถึงมาตรการที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้งบประมาณ 3,610 ล้านบาท และได้หารือกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในปีการศึกษา 2557 จะใช้วิธีบริหารจัดการเงินกองทุนที่มีอยู่เพื่อให้กับผู้กู้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้สถานศึกษาในสังกัด สพฐ.เปิดภาคเรียนแล้ว จึงจะเร่งดำเนินการให้นักเรียนลงทะเบียนในระบบ e-Studentloan  ทันที สำหรับสถานศึกษาสังกัด สกอ.ซึ่งจะเปิดภาคเรียนในเดือนสิงหาคมนี้ ก็จะมีการนำงบประมาณของ สกอ. มาบริหารในส่วนของ สพฐ.ก่อน

  • การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและการประชาสัมพันธ์การอาชีวศึกษา
ปลัด ศธ.กล่าวว่า หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยาได้มอบแนวทางที่ได้รับจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ว่า การอาชีวศึกษาเป็นการผลิตกำลังคนระดับกลางที่ประเทศต้องการ แต่ปัจจุบันไม่สามารถผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศและสถานประกอบการได้ จึงต้องช่วยกันเร่งสร้างภาพลักษณ์ ประชาสัมพันธ์ และพัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษา เพื่อดึงดูดให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาต่ออาชีวศึกษาให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดกว้างสำหรับกลุ่มเป้าหมายอื่นด้วย เช่น ผู้ที่อยู่ในสถานประกอบการหรือผู้ที่ทำงานแล้ว
นอกจากนี้ ต้องการให้มีการจัดการศึกษาแบบทวิภาคี การส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย การทำให้ผู้ที่จบการศึกษาจากอาชีวศึกษาได้รับค่าตอบแทนมากขึ้นเมื่อมีผลงานดี มีทักษะสมรรถนะมากขึ้น ก็ควรให้เพิ่มค่าตอบแทนพิเศษทบไปอีก
เรื่องสำคัญที่ต้องกำชับและกวดขัน คือ เรื่องการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา ซึ่งได้ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) ดำเนินการในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้น

  • โครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน
 ประเด็นนี้ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมแถลงสรุปผลการวิจัยการใช้แท็บเล็ตของนักเรียนและครูในสถานศึกษา ดังนี้
นายชาญ ตันติธรรมถาวร ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สกศ. กล่าวว่า สกศ.ดำเนินการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานจัดการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล โดยการส่งแบบสอบถามให้แก่ 5 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ปกครอง ประเด็นเรื่องการใช้แท็บเล็ตของนักเรียน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ชอบการใช้แท็บเล็ต เนื่องจากใช้งานง่ายและสะดวก
ปัญหาที่เกิดจากการใช้แท็บเล็ต ทั้ง 5 กลุ่มเป้าหมายพบว่า การใช้แท็บเล็ตทำให้เด็กขาดการปฏิสัมพันธ์ การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง มีโลกส่วนตัวมากขึ้น และหากนักเรียนเข้าถึงสื่อที่ไม่เหมาะสมก็จะเกิดผลกระทบต่อตัวเองและต่อสังคม ส่วนปัญหาเรื่องความล่าช้าในการจัดส่งแท็บเล็ต การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง เจ้าหน้าที่ ICT ที่จะต้องดูแลเครื่อง เป็นปัญหาในเชิงบริหารจัดการเท่านั้น
แต่สิ่งที่นักเรียนได้จากการใช้แท็บเล็ตคือ สามารถเรียนรู้ได้เร็ว มีพฤติกรรมการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป มีความขยัน ตั้งใจเรียนมากขึ้น มีความสนใจในเนื้อหาที่อยู่ในแท็บเล็ต สำหรับเนื้อหาที่อยู่ในแท็บเล็ต ผู้ให้ความเห็นส่วนใหญ่ต้องการให้มีเนื้อหาสาระมากขึ้น และสอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย
 นายวรัท พฤกษากุลนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 กล่าวถึงผลการวิจัยเรื่องการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการแท็บเล็ตของสำนักงานศึกษาธิการภาค ที่ได้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2556 โดยได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างจากสถานศึกษา จำนวน 4,789 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ พบว่ามีข้อดีในเรื่องของการจัดการ นักเรียนได้รับแท็บเล็ตครบตามกำหนด สถานศึกษามีการบริหารจัดการลงทะเบียนเครื่องครบตามจำนวน ในเรื่องการประชาสัมพันธ์นั้น สถานศึกษาได้แจ้งในที่ประชุมผู้ปกครอง และประชาสัมพันธ์ให้แก่ชุมชน
เรื่องของกระบวนการ หลักสูตร และการเรียนการสอน ทางสถานศึกษากำหนดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ต จัดทำแผนการเรียนการสอน และใช้แท็บเล็ตเป็นสื่อการสอนในห้องเรียนด้วย ในส่วนของเนื้อหา พบว่ามีความพอใจในเนื้อหาสาระวิชาสังคมศึกษา วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาไทย ตามลำดับ
จากการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพในสถานศึกษา ครูและนักเรียนส่วนใหญ่มีความสนใจในการเรียนการสอนมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 97 แต่นักเรียนชั้น ป.1 มีปัญหาเรื่องการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่าครูไม่มีเครื่องแท็บเล็ตในการสอน บางครั้งต้องใช้เครื่องของนักเรียน งบประมาณในการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษามีจำกัด และการส่งมอบแท็บเล็ตบางส่วนล่าช้า ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การเก็บรักษาแท็บเล็ตที่ทางสถานศึกษามีความกังวลใจ และความกังวลใจของผู้ปกครองบางส่วนที่ไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับแท็บเล็ตเมื่อถูกถาม ทั้งนี้ ต้องการให้เพิ่มลูกเล่นและกราฟิกให้ดูดีขึ้น
มีข้อเสนอแนะ คือ ต้องการให้จัดส่งแท็บเล็ตให้ทันก่อนเปิดภาคเรียน การพัฒนาเนื้อหาสาระโดยให้ครูมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของการใช้แท็บเล็ตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้เพียงพอ
 - นายวัชรินทร์ จำปี ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสถานศึกษา พบว่าสถานศึกษาระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในถิ่นห่างไกล มีความพร้อมไม่เท่ากับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา นักเรียนชั้น ป.1 อายุน้อยเกินไปที่จะใช้แท็บเล็ต การเก็บรักษาเครื่องมีปัญหา จำนวนครูด้าน ICT มีน้อยมาก แท็บเล็ตมีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ ทำให้ไม่สามารถใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน โครงสร้างพื้นฐานของสถานศึกษาในถิ่นห่างไกลที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ประสิทธิภาพของแท็บเล็ตจึงใช้ได้ไม่เต็มศักยภาพ
นอกจากนี้ สถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงไม่มีไฟฟ้า การชาร์จแท็บเล็ตทำได้ไม่เต็มที่ ทำให้ใช้งานได้ไม่เสถียร ซึ่งสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงประสบปัญหามากที่สุด สำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะมีโครงสร้างพื้นฐาน ครูและนักเรียนที่มีความพร้อม หากมีการจัดทำห้องเรียนในรูปแบบห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ก็จะเป็นแนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น
- นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวถึงการนำเสนอผลการประชุมคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้แท็บเล็ตให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ต่อฝ่ายสังคมจิตวิทยาว่า ที่ประชุมเห็นสมควรให้ใช้งบประมาณปี 2556 เพื่อจัดซื้อแท็บเล็ตสำหรับโซน 4 ให้ครบถ้วน และในปี 2557 สามารถเปลี่ยนแปลงงบประมาณไปใช้ในการอื่นตามที่ได้หารือกัน
 อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมฝ่ายสังคมจิตวิทยาสรุปให้ยกเลิกโครงการแท็บเล็ต ซึ่งเป็นเพียงมติของฝ่ายสังคมจิตวิทยาเท่านั้น โดยจะต้องมีการนำเสนอต่อคณะทำงานชุดใหญ่ของ คสช.เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งฝ่ายสังคมจิตวิทยาเห็นว่าการให้นักเรียนได้รับแท็บเล็ตครบทุกคนใช้เวลานาน และใช้งบประมาณมาก การที่แท็บเล็ตมีคุณภาพต่ำ ซ่อมยาก ทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการใช้งาน หน้าจอเล็กอาจทำให้นักเรียนสายตาเสีย หรือนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ที่สำคัญ แท็บเล็ตควรจะเป็นเพียงอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน โดยมีครูเป็นผู้ที่สอน
จึงนำมาสู่การเสนอให้เปลี่ยนแปลงการจัดซื้อแท็บเล็ตสำหรับโซน 4 เพื่อนำไปใช้ในการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะการนำ ICT มาใช้เพื่อการศึกษา ในที่นี้ได้เสนอเบื้องต้นให้จัดทำห้องเรียนที่นักเรียนสามารถใช้ร่วมกันในลักษณะของ Smart Classroom ห้องสื่อ ICT หรือห้องอุปกรณ์การเรียนการสอนด้านICT เพื่อพัฒนาการศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนทุกระดับชั้น โดยการจัดทำห้องเรียน Smart Classroom มี 3 เรื่องที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป คือ 1) การจัดหา Hardware วัสดุอุปกรณ์ และเครือข่ายให้ครบถ้วน 2) ต้องมีเนื้อหาสาระและแอพพลิเคชั่นสำหรับนักเรียนทุกระดับชั้น และสร้างระบบที่เชื่อมโยงเครือข่ายกับ สพฐ. รวมถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) การพัฒนาครู ที่ผ่านมาระบบการพัฒนาครูไม่ดีเท่าที่ควร จึงต้องพัฒนาให้ครูสามารถสอนและแก้ปัญหาได้
หากจะดำเนินการตามที่กล่าว ต้องเสนอขอสำนักงบประมาณเพื่อเปลี่ยนแปลงชื่อโครงการของงบประมาณ 1,100 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณในการจัดซื้อแท็บเล็ตสำหรับโซน 4 และขอกันเงินเหลื่อมปี เนื่องจากงบประมาณปี 2556 ใช้มาแล้ว 1 ปี และได้มีการกันเงินงบประมาณปี 2557 มาแล้วเกือบ 1 ปี ในส่วนของปี 2557 จะมีงบประมาณ 5,800 ล้านบาท ก็ให้ทำสื่อการศึกษา
ทั้งนี้ ต้องมีการจัดประชุมโดยปลัด ศธ.เป็นประธาน และเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันกำหนดรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อนำเสนอต่อฝ่ายสังคมจิตวิทยา และ คสช. ในการเปลี่ยนแปลงงบประมาณเช่นเดียวกับการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 2556
 นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวเพิ่มเติมถึงการรายงานผลการวิจัยการใช้แท็บเล็ตของหน่วยงานต่างๆ ต่อที่ประชุมฝ่ายสังคมจิตวิทยาว่า หากพิจารณาถึงผู้เรียนเป็นสำคัญและวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะดำเนินการอย่างไร ทำในรูปแบบใดก็ตาม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการศึกษามีความสำคัญและมีความจำเป็นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ หรือโลกยุคดิจิตอล จึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการสื่อสาร การเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถใช้ ICT เป็นสื่อหรือกลไกในการพัฒนาได้
ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า การดำเนินการเรื่องการใช้ ICT เพื่อการศึกษา จะต้องมองอย่างเป็นระบบ มีการเตรียมการ เตรียมความพร้อมอย่างเป็นขั้นตอน และมีการวางแผนโดยคำนึงถึงการใช้งบประมาณที่มีอยู่ มุ่งเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ การดำเนินการสามารถทำได้ได้หลายรูปแบบ แต่ต้องคำนึงถึงสถานภาพของสถานศึกษาของประเทศ เนื่องจากมีความหลากหลายและความพร้อมต่างกัน ครูผู้สอนก็มีความหลากหลาย จำนวนครูเกินกว่าร้อยละ 50 มีอายุมากกว่า 50 ปี ดังนั้นการนำ ICT มาใช้ จึงต้องคำนึงถึงสถานภาพ สถานการณ์ปัจจุบัน โอกาสในการพัฒนา ปัญหา และอุปสรรคด้วย
ทั้งนี้ งบประมาณด้านการศึกษาของประเทศต้องนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ ศธ.ได้รับงบประมาณมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ จำนวนผู้เรียนทุกระดับการศึกษาประมาณ 13 ล้านคน แต่มีจำนวนครูเพียง 6.9 แสนคน ทำอย่างไรจึงจะมุ่งเน้นที่ผู้เรียนเป็นหลัก วิธีการนำICT มาใช้จึงมีความหลากหลาย ขอให้เป็นไปตามความพร้อม และมีความเห็นสอดคล้องกันให้มีการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 2556 ที่คงเหลือและงบประมาณปี 2557 เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้ ICT ให้มีความหลากหลายและเหมาะสมกับสภาพการณ์ดังกล่าว
 ในส่วนของงบประมาณปี 2556 ที่มีอยู่ 1,100 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณในการจัดซื้อแท็บเล็ตสำหรับโซน 4 จะมีการพิจาณาตามแนวทางที่รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว โดยจะดำเนินการในลักษณะการวิจัยนำร่องการใช้ ICT เพื่อการศึกษาในโซน 4 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นแห่งแรก เพื่อดูความพร้อม ศักยภาพ โครงสร้างพื้นฐานของสถานศึกษาแต่ละแห่ง และต้องคำนึงถึงงบประมาณที่มีอยู่
การดำเนินการนำร่องดังกล่าว มีจุดประสงค์หลักเพื่อ 1) ส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อการศึกษา 2) เปิดโอกาสนักเรียนทุกระดับชั้นได้ใช้ ICT เพื่อการศึกษา และ 3) เป็นการเตรียมความพร้อมอย่างรอบด้าน เช่น เนื้อหาและห้องเรียนที่เหมาะกับการเรียนการสอน ครูต้องมีความพร้อมในการสอนโดยใช้สื่อ ICT หรือแท็บเล็ต จากนี้จะมีการหารือเพื่อหาวิธีให้นักเรียนมีโอกาสได้รับประโยชน์อย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงได้ขอความร่วมมือจากกระทรวง ICT และจะจัดให้มีการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อกำหนดการดำเนินการให้เหมาะสมกับงบประมาณปี 2557
ปลัด ศธ.กล่าวด้วยว่า ได้นำเสนอเรื่อง 1 จังหวัด 1 ห้องเรียนอัจฉริยะ (1 Province 1 Smart Classroom) ต่อที่ประชุมฝ่ายสังคมจิตวิทยา ซึ่งอาจจะกำหนดตัวชี้วัดสำหรับห้องเรียน Smart Classroom จำนวน 10 ตัวชี้วัด เช่น จำนวนครู ICT จำนวนห้องเรียน Smart Classroomจำนวนการทำ e-Content มีการประเมินผลโดยการใช้ e-Evaluate ด้วยหรือไม่ เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องมีการกำหนดเกณฑ์ การเชิญสถานศึกษาที่มีความพร้อม มาสมัครเพื่อเป็นสถานศึกษาต้นแบบในการจัดห้องเรียน Smart Classroom โดย สพฐ.หรือหน่วยงานต้นสังกัดต้องให้การสนับสนุน และมีการจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดูแล กลั่นกรองสื่อ ICT เพื่อการศึกษาด้วย.


ที่มา เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ


อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

สมัคร  ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม