หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิตภาพ


ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล


ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"  โดย ติวสอบดอทคอม

คลิ๊ก )  สมัครติวสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 56-57 (10 จุด) ที่


ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 398/2556 รมว.ศธ.นำอภิปราย "การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิตภาพ"
 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้นำการอภิปรายในบทความที่ 3 การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิตภาพ (Human Capital Development for Better Productivity) ในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2556 “โมเดลใหม่ในการพัฒนา สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยการเพิ่มผลิตภาพ” (New Development Model : Towards Quality Growth Based on Productivity Improvementเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556ที่ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ บี ชั้น 22 โดยมี รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานการอภิปราย และ ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งนายศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)เป็นผู้นำเสนอการอภิปรายในบทความที่ 3
 
 
บันทึกการบรรยายโดยละเอียดแบบคำต่อคำ
ซึ่ง รมว.ศธ.ได้กล่าวในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา
และแนวทางดำเนินการในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา
"อ.ปกป้อง (ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ให้ข้อมูลเป็นประโยชน์และก็ให้กำลังใจกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มากมาย ถ้าส่วนตัวการเอาสถิติว่า 15 ปี รัฐมนตรี 16 คน เฉลี่ยก็เกือบปีก็นับว่าให้กำลังใจ พวกผมใช้สถิติว่าใน 30 ปีมานี้เฉลี่ย 6 เดือน และผมเป็นมาแล้ว 4 เดือนครึ่ง ซึ่งเหลือเวลาน้อยมาก พอใช้สถิติแบบ อ.ปกป้อง ผมอาจจะอยู่ได้ยาวขึ้นอีกหน่อย เพื่อที่จะทำเรื่องที่ต้องการจะตั้งหลักวางระบบเพื่อที่จะเดินหน้าต่อไป
ที่ อ.ปกป้องได้ให้ความเห็นมาและใช้คำพูดหลายตอนว่า เป็นข้อเสนอของทีดีอาร์ไอ ถ้าพูดสั้นๆ ก็ยินดีรับหลายเรื่องสอดคล้องกันมากและก็พูดสั้นๆ แค่นี้เกือบจะจบแล้ว เพราะหลายเรื่องก็สอดคล้องกัน แต่ว่าถ้าจะมีประเด็นที่ขอให้ไปคิดต่อ น่าจะต่างกันได้อยู่บ้างก็คือ เรื่องความสมดุลระหว่างการตัดสินใจจากส่วนกลางกับการให้อำนาจในการตัดสินใจกับโรงเรียน ว่าตรงไหนจะเหมาะสมกันแน่กับความสมดุลอยู่ส่วนไหน คงจะได้กล่าวต่อไปว่าทำไมผมถึงยกประเด็นนี้ ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญที่สุด แต่บังเอิญว่านอกนั้นจะคล้ายๆ กัน
โดยที่ทาง ศธ.ในช่วง 4 เดือนมานี้ ไม่ได้หยิบเอาข้อเสนอผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอศึกษาอย่างเป็นระบบ อาจจะเป็นเพราะว่าที่ปรึกษาบางท่านที่ร่วมงานกันอยู่ คงศึกษาผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอไปแล้วก็เสนอไปโดยไม่ได้เอามากางถึงว่าทีดีอาร์ไอว่ายังไง หลายเรื่องสอดคล้องกันมาก คือ ผมก็จะพูดในแบบผม เพื่อจะให้ข้อมูลหรือให้ความเห็น โดยที่ใช้ภาษาแบบผมเองเหมือนกัน อาจจะทำให้เห็นว่าสอดคล้องกันหรือตรงกันมากในคนละแบบเพราะคิดกันมาจากคนละทาง
  
เรื่องหนึ่งที่ อ.ปกป้องพูดตอนแรกเรื่องที่ว่าจะจัดการศึกษาเพื่ออะไร ให้ความสนใจความเป็นมนุษย์ ให้ความสนใจในเรื่องพัฒนาศักยภาพ คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล หรือว่าการศึกษาเป็นจุดหมายไม่ใช่วิธีการ ตรงนี้ก็อาจจะเป็นปรัชญาหน่อยๆ ผมคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรถึงขั้นขัดกัน การศึกษาในช่วงหลังก็เน้นเรื่องประเทศกำลังต้องแข่งขันประเทศต้องร่วมมือและแข่งขันอยู่ในศูนย์รวม ต้องพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ เพราะฉะนั้นต้องพัฒนากำลังคน แต่ว่าที่คิดว่าไม่ขัดกันเราก็พูดด้วยว่า การศึกษาต้องส่งผลการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพคนให้เต็มศักยภาพและการศึกษาเพื่อให้คนมีสมบูรณ์ก็น่าจะสอดคล้องกัน แต่ว่าเราจะเน้นมากหน่อยเรื่องการพัฒนาคนเพื่อให้ไปพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ
ในเรื่องนี้การจัดการศึกษาที่ผ่านมา จุดหนึ่งที่พบว่าขาดไป คือ การกำหนดตัวชี้วัด กำหนดเป้าหมาย และให้ทั้งองค์การรู้ว่ามีเป้าหมายจะเดินไปไหน ในช่วงนี้ ศธ.ได้กำหนดตัวชี้วัดบางตัวขึ้นก็เป็นเป้าหมาย เช่น อันดับของประเทศไทยในปีซ่าจะต้องสูงขึ้น มหาวิทยาลัยในไทยจะต้องติดอันดับโลกมากขึ้น การส่งเสริมให้คนมีโอกาสในการศึกษาอย่างที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และเรื่องสัดส่วนอาชีวะต่อสายสามัญเป็น 50 : 50 ซึ่งตรงกันกับที่ อ.ปกป้องพูดว่า มันไม่ใช่ทางออกในตัวมันเอง การตั้งตัวเลขแบบนี้มันจะต้องหมายถึงอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อที่จะไปถึงจุดนั้น แต่พอถึงจุดนั้นได้ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดียวและก็หมายความว่าเราก็กำลังวางแผนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนของเราได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ซึ่งผมจะได้กล่าวต่อไปว่าทำยังไง
ยกตัวอย่างเรื่อง PISA เราบอกว่าอันดับจะต้องสูงขึ้น ในต้นเดือนธันวานี้ก็จะมีการประกาศผลการจัดอันดับ ได้ข่าวว่าของประเทศไทยอาจจะดีขึ้นเล็กน้อย เขาต้องรักษาจรรยาบรรณไม่ให้ข้อมูลอะไรมากกว่านี้ แล้วเราก็จะช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่าคราวต่อไปในปี 2558 ประเทศไทยจะตั้งเป้าว่าให้อันดับสูงขึ้นเป็นสักเท่าไร โดยมีคณะกรรมการประชุมระดมความคิดว่า PISA คืออะไร PISA จะเป็นประโยชน์ยังไง เอามาใช้เพื่ออะไร จะผลักดันด้วยวิธีการและกลไกอะไรบ้าง ก็หวังว่าการผลักดันหรือผลัก PISA จะทำให้ ครู รักเรียน ผู้ปกครองส่วนหนึ่ง เพราะว่าเค้าวัดเฉพาะอายุ 15 ได้มีการผลักตัวกัน ทั้งในเรื่องหลักสูตรการสอน วิธีสอน เพื่อให้เด็กคิดเป็นวิเคราะห์เป็น
คนเขียนออกแบบ PISA แรกๆ เค้าบอกว่าเริ่มอ่าน เริ่มคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ที่ออกข้อสอบเค้าถอดออกมาคือคำว่า “Think” คำว่า “คิด” ก็คือให้เด็กคิดเป็น ปีนี้ถ้าเราทำ PISA ไม่ได้หวังว่าให้เห่อกันเหมือนกับไปแข่งกีฬานานาชาติ แต่ว่าเอาการเลื่อนระดับมาทำให้คนเข้าใจว่า PISA คืออะไร และบางประเทศที่ใช้คือเข้าไปจัดการดูแลเหมือนรณรงค์ให้ท่านปรับตัว เค้าใช้ PISA เพื่อที่จะทำให้ครูอาจารย์ หรือทั้งระบบการศึกษา รู้ว่าการเรียนการสอนมีจุดอ่อนยังไง ครูก็รู้ว่านักเรียนของตัวเองมีจุดอ่อนยังไง จะต้องปรับหลักสูตร ปรับแบบเรียนวิธีสอนยังไง โดยให้เด็กทำข้อสอบได้โดยไม่ใช้วิธีติวเหมือนการติวเด็กเข้ามหาวิทยาลัย โดยไปคิดเทคนิคว่าข้อสอบนี้ควรจะตอบยังไง ข้อสอบเป็นอย่างนี้ที่ทำไม่ได้เพราะไม่ได้เรียนอะไร ควรจะเรียนอะไร และจะฝึกให้คิดเป็นวิเคราะห์เป็นได้ยังไง ซึ่งผมคิดว่าถ้าจะทำเรื่องนี้จริงจังก็จะส่งผลกระทบสะเทือนต่อการเรียนในหลายๆ ชั้น ไม่ใช่เด็กเรียนคณิตศาสตร์ นี่เป็นตัวอย่างอย่างหนึ่งในการตั้งเป้าหมายขึ้นมาและก็พยายามให้ไปสู่จุดนั้น เพื่อจะทำให้เกิดทั้งระบบพอจะรู้ว่าจะทำอะไร
  
การปฏิรูปการศึกษาต้องเน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนนี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าผมอยากจะพูดประเด็นที่สำคัญที่กระทรวงศึกษาเสนออยู่ ก็คือ เราคิดว่าถ้าจะปฏิรูปการศึกษาต้องปฏิรูประบบการเรียนรู้ในด้านสำคัญๆ ทั้งระบบอย่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน อันนี้หมายความว่าไง จะต้องพูดในหลักสูตรการเรียนการสอน ทดสอบ ประเมินผล ต้องปฏิรูปและต้องปฏิรูปแบบเชื่อมโยง และจะเชื่อมโยงกันยังไง เรามีหลักสูตรและกำลังจะปรับกันใหม่ แนวการคิดในการปรับหลักสูตร เหตุผลในการปรับหลักสูตร จะต้องคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ไม่ใช่เน้นเนื้อหา จะต้องมีทักษะ
ปัญหาการปรับหลักสูตรของประเทศไทยที่เป็นมาตลอด จะปรับทีหนึ่งเหมือนเชิญมาทอดกฐิน เชิญมาลงแขกดำนา แต่ว่าโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งก็ดีตรงระดมผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญก็ขาดการวิจัยพัฒนาที่เป็นพื้นฐาน เพราะไม่มีองค์กรที่ทำเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเรื่องนี้ผมเคยเสนอเมื่อ 8 ปีที่แล้ว แล้วก็ยังไม่ทันได้ทำอะไร พ้นหน้าที่ก่อน คราวนี้ก็เสนออีกก็ไม่แน่ใจว่าจะทำทันไหม ควรจัดตั้งสถาบันวิจัยพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนขึ้นมาเพื่อให้มีองค์ความรู้ในการวิจัยพัฒนา
พอมีหลักสูตรมันก็มีเรื่องการเรียนการสอน ซึ่งจะต้องสอนให้คิดเป็นวิเคราะห์เป็น สอนให้เด็กได้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สอนให้มีความรู้วิชาต่างๆ อย่างเหมาะสมซึ่งวิชาต่างๆ รู้แค่ไหนกับหลักสูตร แล้วก็สอนให้เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับโลกที่เทคโนโลยีทางการศึกษาได้ก้าวหน้าไป ข้อมูลข่าวสารมีอย่างไม่จำกัด การเรียนการสอนแบบนี้ก็รวบรวมองค์ความรู้มาเผยแพร่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเราได้ทำจัดนิทรรศการใหญ่ๆ ไป 2 ครั้ง จะจัดอีกครั้งหนึ่งนี้
การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเราค้นพบว่า หมายถึงตั้งแต่ต้นที่เสนอนโยบายทดสอบวัดผลมีปัญหา มีปัญหาคือ เราจัดการศึกษากันมาตั้งแต่ปี 2521 ตั้งแต่เรามาใช้เกรด ใช้หน่วยกิต ในชั้นประถม-มัธยม เราจัดการศึกษากันโดยให้โรงเรียนและครูเป็นผู้ทดสอบวัดผลนี่คือรายละเอียดที่พูดถึงส่วนกลางและส่วนโรงเรียนใครจะมีอำนาจอย่างไร หน้าที่อย่างไรกันแน่ อาจจะต้องคิดเหมือนกันว่า เราจัดการศึกษาโดยให้นักเรียนและครูเป็นผู้ทดสอบวัดผลมาประมาณ 20 กว่าปี โดยไม่มีการทดสอบกลาง และมีการทดสอบแบบ O-Net ขึ้นมา เมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้วใน 20 กว่าปีนั้น เป็นการเรียนโดยประเทศนี้ทั้งประเทศไม่รู้จักว่าการศึกษาเป็นอย่างไร ไม่มีองค์ความรู้ว่าผลการเรียนการสอนเป็นอย่างไร เพราะใช้ครูทดสอบวัดผลภายตีความจำกัดของสังคมของความกดดันต่างๆ ผู้ปกครองก็ไม่อยากให้ปรับเป็นตก ผู้อำนวยการก็ไม่อยากให้เด็กมีเกรด 0 เยอะๆ ในโรงเรียน ผู้อำนวยการเขตก็ไม่อยากให้โรงเรียนไหนมีผลการเรียนอ่อน เรียนมาทั้งปีอ่านหนังสือไม่ออก ซ่อม 2 วันผ่าน
  
 
ในเวลานี้เราเสนอว่ามีการสอบวัดผลกลางให้มากขึ้นเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นในปีหน้า จะเป็นจาก 20 80 จะเป็น 30 70 และปีถัดไปในปี 2558 จะเป็น 50 : 50 เพื่อให้รู้ว่าประเทศเราจัดการศึกษาอยู่เป็นไง และโรงเรียนต่างๆ ก็จะรู้วิธี หรือที่ไม่รู้ว่าจัดการศึกษาอยู่เป็นไง ครูก็จะรู้มากขึ้น ไม่ว่าอยู่ภายใต้ความสำคัญอย่างนี้ เพราะถ้ามีตัวอย่างที่ชัดเจน ยกตัวอย่าง ภาษาไทยมี National Test (NT) ป.3 ในหลักสูตรมันก็มี ทั้งก็รู้ว่าคะแนนภาษาไทยไม่ค่อยดี ผมก็พบว่าครูบางคนรับนักเรียน ม.1 เข้ามา 300 คน อ่านหนังสือไม่ออก 10 คน อ่านหนังสือแบบไม่ออกทีละประโยคจะต้องมีครูไปช่วยอ่านทีละประโยค 100 กว่าคน ก็เลยให้สแกนทั่วประเทศ ป.3  ป.6 พบว่าอ่านหนังสือไม่ออกเป็น 10,000 คนและถึงขั้นอ่านถึงขั้นต้องปรับปรุงอย่างมาก 200,000 กว่าคน เฉพาะ ป.3ป.6 ไม่นับชั้นอื่น
คำถามว่าเด็กเหล่านี้ผ่านกันมาได้ยังไง ผ่านมาถึง ป.6 โดยอ่านหนังสือไม่ได้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง วิชาอื่นก็สันนิษฐานว่าไม่รู้เรื่องเหมือนกัน ฉะนั้นก็คือการทดสอบวัดผลกลางต้องมีขึ้นมา แต่ว่าเราจะมาเน้นเรื่องแบบนี้ก็ไม่ได้ เราต้องมาเน้นเรื่องอบรมครู พัฒนาครู พัฒนาระบบผลิตครู ก็ต้องทำ เรื่องอดีตการสอน ภาษาไทยยกตัวอย่างได้ดีมากเลย ง่าย ทำให้เห็นการสอนภาษาไทย 10 กว่าปี 20 กว่าปีมานี้ ครูจำนวนมากให้เน้นให้เด็กอ่านหนังสือเป็นคำ ไม่สะกด สะกดไม่เป็น
นักการศึกษายุคหนึ่งเค้าเชื่อว่า เด็กมีความสามารถในการจำ เขาก็สอนให้จำ เด็กก็สะกดไม่เป็น ก็อ่านหนังสือไม่ออก หลักสูตรของเราบอกว่ามี 8 กลุ่มสาระสำหรับเด็ก ป.1  ป.3 เวลาเรียนภาษาไทยก็นิดเดียว เด็กก็อ่านไม่ออกการสอนก็มีปัญหาด้วย การสอนภาษาไทยให้คิดก็มีการสอนเป็นส่วนใหญ่ การประเมินผล การประเมินผลภายในอย่างเดียวก็เป็นการให้โรงเรียนทดสอบกันเอง ปรัชญาที่คิดกันมาคือโรงเรียนควรทดสอบวัดผลเองไม่มีการทดสอบส่วนกลาง หลายๆ ประเทศที่การศึกษาประสบความสำเร็จก็มีการทดสอบกลาง ถามไปเถอะ ม.1 แล้วยังอ่านหนังสือไม่ออกเยอะแยะไปหมดเลย
  
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
การประเมินตัวแรกคือ การประเมินคิดวิเคราะห์ของนักเรียน เราพบว่านักเรียนไทยอ่อนเรื่องคิดวิเคราะห์ตลอดในการประเมิน แต่ได้พบการสื่อสารแลกเปลี่ยนกันว่าครูจะสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ทำอย่างไร สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาฯ (สมศ.ก็ไม่รีบมาเสนอ เหมือนกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติฯ (สทศ.) ว่า ข้อสอบนี้ตรงหลักสูตรแล้ว ดูจากตัวชี้วัดแล้วออกข้อสอบแบบนี้ โรงเรียนก็บอกว่าออกข้อสอบไม่ครบ ท่านที่สนใจคิดวิเคราะห์ก็บอกว่า การทดสอบทดสอบจะมากกว่าที่ใช้คิดวิเคราะห์ พอมาประเมิน การประเมินไม่ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนเท่าที่ควร เค้ามีกติกาว่า ถ้าโรงเรียนมีเด็ก 0 เยอะๆ จะไม่ผ่าน สทศ.วิธีแก้ในระบบแบบนี้ การทดสอบวัดผลไม่ได้มาตรฐาน วิธีแก้แทนที่จะให้ 0 ก็ให้ 1 2 3 ก็ผ่าน สทศ.ได้ การประเมินจึงไม่ส่งผลให้เกิดการพัฒนา
ฉะนั้นต้องทำอันนี้ให้เกิดขึ้น ที่บอกว่าทั้งระบบต้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน สุดท้ายแล้วจะไปแสดงออกยังไง ตรงไหน ก็ต้องไปแสดงออกที่ห้องเรียน ห้องเรียนก็เปลี่ยนแปลง การเรียนการสอนก็เปลี่ยนแปลง แต่ว่าทั้งหมดนี้ 3-4 อย่างต้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อให้เป็นการผูกเรือกัน..."

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.


คลิ๊ก )  สมัครติวสอบครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 56-57 (10 จุด) ที่



... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "

ผอ.นิกร  เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม